บั้งไฟพญานาค กับความเชื่อ เชื่อมโยงพระพุทธศาสนา ได้อย่างไร?

บั้งไฟพญานาค กับความเชื่อ เชื่อมโยงพระพุทธศาสนา ได้อย่างไร?

จากปรากฎการณ์ของพญานาคที่ปรากฎตามหน้าสื่อต่างๆอย่างถี่ยิบ และมักจะเกิดขึ้นในช่วงใกล้กับวันออกพรรษา ซึ่งสอดคล้องกันระหว่างปรากฏการณ์
“บั้งไฟพญานาค “กับความเชื่อซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับทางพุทธศาสนาที่ว่า…

ในกาลนั้น พระพุทธเจ้า ได้เสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระมารดา ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และทรงประทับอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนครบ 1 พรรษา (3 เดือน) จึงทรงเสด็จกลับมายังเทวโลก
 (เมืองมนุษย์)ในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับวันออกพรรษา
ครั้น เมื่อได้เวลาเสด็จกลับ พระพุทธเจ้า ก็ทรงเสด็จมาประทับยืนที่ฐานศีรษะบันไดแก้ว ซึ่งเหล่าเทพยดาได้เนรมิตรขึ้น เพื่อถวายแด่ พระพุทธเจ้า ใช้เยื้องย่างลีลาเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่ามกลางเหล่าเทพพรหมบริษัทแวดวงห้อมล้อมเป็นบริวาร

พระพุทธองค์ จึงได้แสดงพุทธานุภาพ กระทำ“โลกวิวรรณปาฏิหาริย์”
เปิดโลก โดยทรงทอดพระเนตรไปในทิศต่างๆทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องหน้าเบื้องหลังรวมทั้งหมด ๑๐ ทิศด้วยกันด้วยพุทธานุภาพแห่ง พระพุทธองค์ทันใดนั้นเอง…สิ่งที่อาศัยอยู่ทั่วทุกสารทิศ ในจักรวาล(โลกทั้งสาม) ต่างก็สามารถมองทะลุผ่านแลเห็นซึ่งกันและกันเป็นครั้งแรก โดยเทวดาบนสวรรค์ได้มองเห็นมนุษย์ เห็นยมโลก (เห็นนรก) และ มนุษย์ก็สามารถมองเห็นเหล่าเทวดามองเห็นสัตว์นรก แม้แต่สัตว์นรกก็เช่นเดียวกันสามารถมองเห็นมนุษย์ตลอดกระทั่งเทวดาบนสวรรค์ โดยไร้สิ่งใดปิดกั้นระหว่างโลกทั้งสาม และกาลนั้น พระพุทธองค์ ก็ได้ทรงเมตตาแสดงพระธรรมเทศนา ประทานโปรดแก่โลกทั้งสาม คือ โลกสวรรค์,เทวโลก,และ ยมโลก อีกด้วย

บั้งไฟพญานาค กับความเชื่อ เชื่อมโยงพระพุทธศาสนา ได้อย่างไร?

ในส่วนของมนุษย์โลก เราก็จะมีพิธีการทำบุญตักบาตร นำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบไหว้บูชาพระ เมื่อความนี้รู้ถึงเหล่า พญานาค ที่อาศัยอยู่ในเมืองบาดาลเข้า พญานาค จึงได้พากันจัดทำ “บั้งไฟพญานาค” ขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อจุดถวายการต้อนรับแด่ พระพุทธเจ้า ในการที่ พระองค์เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ และถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองของเหล่า พญานาค ด้วยเช่นกัน และประเพณีนี้ก็ได้กลายมาเป็นประเพณีที่เหล่าชาวพุทธนั้นสืบสานต่อๆกันมาจวบกระทั่งปัจจุบัน

บั้งไฟพญานาค กับความเชื่อ เชื่อมโยงพระพุทธศาสนา ได้อย่างไร?

ในคืน”วันออกพรรษา” ของทุกๆปี หรือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ณ ลำน้ำโขงตรงจุดบริเวณรอยเชื่อมต่อระหว่าง”จังหวัดหนองคาย“กับ”เมืองเวียงจันทน์” โดยเฉพาะที่ อ.โพนพิสัย มักจะเกิดปรากฏการณ์อันน่าพิศวง ซึ่งก็เป็นปรากฎการณ์ที่เราทุกคนล้วนมีความคุ้นเคยและต่างก็รู้จักกันดีในนาม…“บั้งไฟพญานาค”

ซึ่ง บั้งไฟพญานาค นั้นจะมีรูปลักษณะเป็นลูกไฟประหลาด หากปรากฎขึ้นที่กลางแม่น้ำโขงจะมีลักษณะพุ่งเอนเข้าหาฝั่ง แต่ถ้าหากว่าเกิดขึ้นอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง บั้งไฟพญานาค จะมีลักษณะพุ่งเอนออกไปยังบริเวณจุดกลางแม่น้ำโขงในลักษณะเป็นลูกไฟตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดใหญ่โตเท่ากับไข่เป็ดไข่ห่านหรือผลส้ม มีลักษณะเป็นสีแดงอมชมพูกึ่งสีบานเย็น ดูคล้ายๆสีแดงทับทิม ซึ่งไร้กลิ่นควัน ไร้เขม่า ไร้เปลว ไร้เสียง พวยพุ่งขึ้นมาจากใต้ลำน้ำโขงแล้วดับหายไปในอากาศ ซึ่งลูกไฟประหลาดเหล่านี้จะพุ่งสูงขึ้นจากผิวน้ำประมาณระดับ 50-150 เมตร ปรากฎให้เห็นแค่เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ 5-10 วินาทีเท่านั้น

บั้งไฟพญานาค กับความเชื่อ เชื่อมโยงพระพุทธศาสนา ได้อย่างไร?
 แล้วจะค่อยๆดับหายวับไปในอากาศ ทั้งๆที่ยังคงมีสภาพเป็นลูกไฟดวงโตอยู่โดยไม่ได้หรี่เล็กลงและไม่มีลักษณะวกกลับโค้งตกลงมาเหมือนกับดอกไม้ไฟทั่วไป ลูกไฟประหลาด หรือ “บั้งไฟพญานาค”จะเริ่มมีปรากฎให้เห็นตั้งแต่ช่วงเวลาหัวค่ำไปจนถึงกลางดึก ซึ่งก็เป็นปรากฎการณ์อันพิศวงและเป็นอะไรที่น่าอัศจรรย์อย่างมากเลยทีเดียว
ตราบจนทุกวันนี้ บั้งไฟพญานาค ก็ยังคงเป็นปริศนาที่มืดบอดสนิท ซึ่งยังคงไม่มีผู้ใดที่สามารถล่วงรู้ทราบความเป็นมาของปรากฎการณ์อันพิศวงที่เกิดขึ้นนี้อย่างแน่ชัด คาดว่าน่าจะเป็นโจทย์ปัญหาซึ่งมีความยากมากรอคอยให้มนุษย์ผู้มีความขี้สงสัยใคร่รู้ทั้งหลายมาพิสูจน์และช่วยกันขบคิดไขโจทย์ปัญหาปริศนาอันลี้ลับนี้กันต่อไปว่า..บั้งไฟพญานาค ที่พวกเราเห็นกันนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? บางคนก็เชื่อว่าเป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ของเหล่า พญานาค ที่อาศัยอยู่ใต้ลำน้ำโขง หรือ เมืองบาดาล บ้างก็ว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ,ส่วนบางพวกบางกลุ่มก็สรุปกันว่าจริงๆแล้ว”บั้งไฟพญานาค”น่ะเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์นั้นแหละ!!
แต่ไม่ว่าบั้งไฟพญานาคนั้นจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แต่ก็ยังมีอยู่สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสีสัน ซึ่งเกี่ยวโยงกับเรื่องนี้ ก็คือ เรื่องราวของเมืองพญานาคใต้ลำน้ำโขงช่วงเขต จ.หนองคายและเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งไปสอดรับกับเรื่องราวของพญานาคในทางพุทธศาสนา ที่มีบันทึกไว้ว่า…

...แต่เดิมทีเหล่าบรรดา พญานาค ที่อาศัยอยู่ในเมืองบาดาลนั่นมีนิสัยที่ดุร้ายมาก ครั้นเมื่อ พระพุทธเจ้า เสด็จมาโปรดสัตว์ที่เมืองบาดาล กาลนั้นเหล่าพญานาคในเมืองบาดาลได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ พระพุทธเจ้า ทรงเมตตาแสดง (พระธรรมเทศนา)โปรดแก่เหล่าบรรดา พญานาค ที่อาศัยอยู่ในเมืองบาดาล แล้วพญานาคต่างก็บังเกิดความเลื่อมใสศัทธาในพุทธศาสนา และหลักการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก นับแต่นั้นเป็นต้นมา เหล่าบรรดา พญานาค ต่างก็เลิกนิสัยดุร้าย พากันหันหน้าเข้าสู่ทางธรรมฝึกการปฏิบัติสมาธิครองศีล ให้ทาน และมุ่งมั่นทำตามกฏระเบียบวินัย ซึ่งพระพุทธเจ้า ได้ทรงมีพระบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด 

บั้งไฟพญานาค กับความเชื่อ เชื่อมโยงพระพุทธศาสนา ได้อย่างไร?

ด้วยเพราะเหล่าบรรดา พญานาค นั้นต่างก็มีใจมุ่งมาดปรารถนาที่จะออกบวชเพื่อแสวงหาความสงบสุขอันแท้จริง ดั่งเช่น พระพุทธเจ้า จึงมีความต้องการที่จะหลุดพ้นจากภพภูมิแห่งตน แต่ก็ยังติดตรงที่ พญานาค นั้นไม่ใช่มนุษย์  มีสถานะภาพรูปลักษณ์ที่เป็นสัตว์ ซึ่งมีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา จึงไม่สามารถบวชครองตนเป็นสมณเพศอยู่ภายใต้”ร่มกาสาวพัสตร์”เช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซึ่งกฏวินัยข้อห้ามข้อนี้เองที่ได้สร้างบาดแผลความเจ็บปวดรวดร้าวใจให้แก่บรรดา พญานาค อย่างแสนสาหัส…

บั้งไฟพญานาค กับความเชื่อ เชื่อมโยงพระพุทธศาสนา ได้อย่างไร?
ซึ่งได้มีบทความกล่าวว่า ครั้นเมื่อ พระพุทธเจ้า ได้ทราบความทั้งหมดจาก พญานาค ตนนั้นแล้ว พระองค์จึงประทานพุทธโอวาท แก่พญานาคดังนี้….
 “พวกเจ้าเป็นนาค มีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา ไปเถิดเจ้านาค จงไปรักษาอุโบสถศีลในวันที่ 14 วันที่ 15 และวันที่8 แห่งปักษ์นั้นแหล่ะ (14 ค่ำ 15 ค่ำ 8 ค่ำ) การรักษาอุโบสถศีลนี้มีบุญมาก ด้วยวิธีนี้เจ้าจักหลุดพ้นจากการกำเนิดในภพภูมินาค จักทำให้เจ้าได้อัตภาพกำเนิดเป็นมนุษย์เร็วพลัน”

ซึ่ง“ในคัมภีร์มหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก”[ มีเขียนระบุเอาไว้แค่นี้ส่วนที่เหลือนั้นน่าเป็นการเล่าเสริมขึ้นมา] ก่อนที่ พญานาค จะทูลลาพระพุทธเจ้ากลับไปยังภพภูมิของตน พญานาค ได้ทูลขอพรกับ พระพุทธเจ้า เอาไว้ว่า..”ในเมื่อตนนั้นเป็นเพียงสัตว์ ไม่สามารถที่จะบรรลุธรรมได้ดั่งเช่นมนุษย์ ฉะนั้น ตนขอฝาก ชื่อ (คำว่านาค)ของตนไว้ให้นำไปใช้เป็นชื่อนามเรียกขานก่อนมนุษย์ผู้นั้นจะเข้าบวชเป็นภิกษุใหม่ในพุทธศาสนา เพื่ออาศัยให้ผู้ที่จะเข้าพิธีบวชเป็นภิกษุใหม่นั้นอุทิศผลบุญกุศลมาให้แก่ตนซึ่งไม่สามารถบวชได้ [เพราะเหตุนี้ก่อนผู้ที่บวชจะบวชเข้าเป็นภิกษุใหม่จึงถูกเรียกขานนามว่า “นาค” สืบมา]
และเนื่องจากสาเหตุที่ว่าพวกตนนั้นเป็นเพียงสัตว์ พญานาคจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ ขอให้พวกตนได้เป็นผู้ปกครองทำหน้าที่ในการคุ้มครองปกป้องดูแลพุทธศาสนาคอยช่วยสืบสานและสืบทอด หลักธรรม แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ดำรงอยู่ยาวนานจวบกระทั่งครบ5,000ปี….


***พุทธมามกะ แปลว่า ผู้ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นของเรา หมายถึงผู้ประกาศตนว่าขอนับถือ พระพุทธเจ้า เป็น สรณะ หรือผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนานั่นเอง****

   
ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ

และขอบคุณแหล่งสาระความรู้ข้อมูลด้านประวัติความเป็นของพญานาค (บางส่วน!!)จากอินเตอร์เน็ต ค่ะ

เรียบเรียงโดย:โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์