ย้อนรอย ทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯ “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” กลับคืนสู่แดนไทย หลังหายไปนานกว่า 30 ปี (รายละเอียด)

ย้อนกลับไปเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2531 ชาวไทยทั้งประเทศต่างยินดีกับข่าวการได้คืน "ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์" ซึ่งหายไปนานร่วม 28 ปี จากข้อสันนิษฐานคาดว่าทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นนี้ได้ถูกโจรกรรมไปจากปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ประมาณปี พ.ศ. 2503 - 2504 และปรากฏเป็นข่าวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2508 เมื่อกรมศิลปากรพบชิ้นส่วนบางชิ้นของทับหลังฯ ที่ร้านขายของเก่าย่านราชประสงค์จึงได้ยึดคืนมา จากนั้นข่าวทับหลังฯ ก็เงียบหายไป

ย้อนรอย ทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯ “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” กลับคืนสู่แดนไทย หลังหายไปนานกว่า 30 ปี (รายละเอียด)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ขณะดำรงตำแหน่งคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ดร. ไฮแรม วูดเวิร์ด จูเนียร์ (Hiram W.Woodword Jr.) อดีตอาสาสมัครสันติภาพ ที่เคยสอนในมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ไปพบทับหลังนารายณ์บรรทม สินธุ์ชิ้นนี้ ที่สถาบันศิลปะ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Art Institute of Chicago) และทรงมีหนังสือแจ้งอธิบดีกรมศิลปากรอย่างเป็นทางการว่าควรจะขอกลับคืน

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2531 ขณะที่การบูรณะปราสาทหินพนมรุ้งใกล้จะเสร็จเรียบร้อย มีการรื้อฟื้นเรื่องการขอคืนทับหลังขึ้นมาใหม่ ซึ่งครั้งนี้ได้รณรงค์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัด ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในนครชิคาโกรวมทั้งชาวอเมริกันและชาติอื่นๆได้ให้การสนับสนุน

ย้อนรอย ทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯ “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” กลับคืนสู่แดนไทย หลังหายไปนานกว่า 30 ปี (รายละเอียด)

สำหรับจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าของพื้นที่ และมีบทบาทสำคัญในการรณรงค์ครั้งนี้ โดยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531 ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีรองศาสตราจารย์วันชัย วัฒนกุล อธิการวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ เป็นประธาน อาจารย์เทียนชัย ให้ศิริกุล และ ผศ. วิสุทธิ์ ภิญโญวาณิชกะ เป็น เลขาฯ ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้าประชาชน และนักเรียนนักศึกษา กว่า 15,000 คนได้ชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องขอทับหลังคืน โดยทำหนังสือถึงเอกอักคราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นายพร อุดมพงษ์ จากนั้นมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง จากหลายๆฝ่าย

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2531 สถาบันศิลปะ นครชิคาโก ได้ส่งทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ กลับคืนสู่ประเทศไทย ในพระนามของศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ทับหลังจะถึงสนามบินดอนเมืองในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2531 

ย้อนรอย ทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯ “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” กลับคืนสู่แดนไทย หลังหายไปนานกว่า 30 ปี (รายละเอียด)

ย้อนรอย ทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯ “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” กลับคืนสู่แดนไทย หลังหายไปนานกว่า 30 ปี (รายละเอียด)

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2531 พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการรับมอบทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ จาก ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ณ สนามบินดอนเมือง ในวันนั้น ได้มีประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจังหวัดบุรีรัมย์ ไปต้อนรับที่สนามบินอย่างเนืองแน่น กรมศิลปากรได้นำทับหลังไปจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปชื่นชมความงามก่อน ที่ศาลามุขมาตย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จากนั้นจะนำกลับไปประดิษฐานไว้ยังที่เดิม

ย้อนรอย ทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯ “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” กลับคืนสู่แดนไทย หลังหายไปนานกว่า 30 ปี (รายละเอียด)

แต่ไม่น่าเชื่อว่า อีก 10 ปีต่อมา ได้เกิดข้อสงสัยจากทั้งนักวิชาการและประชาชนทั่วไปว่า ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ได้กลับคืนมานั้น น่าจะไม่ใช่ของจริง ซึ่ง รองศาสตราจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องทับหลังชิ้นนี้ว่า มีนักโบราณคดีหลายคน รวมทั้งท่านด้วย ที่ไม่ค่อยมั่นใจกับทับหลังที่ได้มา เพราะทับหลังนั้นจำลองหรือปลอมกันง่าย

จึงได้มีการเรียกร้องให้กรมศิลปากร พิสูจน์ว่าทับหลังชิ้นนี้ว่าเป็นของจริงหรือของปลอม ซึ่งกรมศิลปากรก็ยืนยันว่า “เป็นของจริงแท้อย่างแน่นอน” ได้ทำการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว 

ย้อนรอย ทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯ “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” กลับคืนสู่แดนไทย หลังหายไปนานกว่า 30 ปี (รายละเอียด)

แต่อย่างไรก็ตาม ชาวไทยก็ได้ร่วมแรงร่วมใจสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกัน จนสามารถเรียกร้องทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์กลับคืนมาได้นั้น เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเป็นนิมิตหมายอันดี ในการสร้างแบบอย่างให้แก่อนุชนรุ่งหลังในการดูแลรักษา รักและหวงแหนสมบัติทางวัฒนธรรม ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติมาแต่อดีตเป็นเวลายาวนาน ให้คงอยู่ตลอดไป ส่วนข้อสงสัยต่างๆที่เกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องปกติของการศึกษา ค้นคว้า เป็นเรื่องของการเรียนรู้และการตรวจสอบหาความกระจ่าง เพื่อขจัดความเคลือบแคลงสงสัย ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้ บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า คนไทยมีสิทธิรักและห่วงแหนสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติทุกคนเท่าเทียมกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รศ. วิสุทธิ์ ภิญโญวาณิชกะ