หัวใจหลักของการให้ทานที่ดี..ตัองมีองค์ประกอบครบ 3 ประการ”จึงจะได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงสุด..จากความบริสุทธิ์ของทาน!!คืออะไร?(อ่านรายละเอียด)

หัวใจหลักของการให้ทาน คือ มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายสำคัญในการขจัดความเห็นแก่ตัว คลายความตระหนี่ถี่เหนียว และลดความโลภโมโทสันอันเป็น ตัวกิเลส ในจิตใจมนุษย์ให้เบาบางหมดสิ้นไป ส่งผลให้เกิดความผุดผ่องแวววาวสุดสกาวสว่างไสวใสสะอาดบริสุทธิ์ภายในจิตขึ้นมาแทนที่โดยอัตโนมัติ คำว่า ทาน หมายถึง การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ วัตถุที่พึงให้นั่นเองค่ะ

หัวใจหลักของการให้ทานที่ดี..ตัองมีองค์ประกอบครบ 3 ประการ”จึงจะได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงสุด..จากความบริสุทธิ์ของทาน!!คืออะไร?(อ่านรายละเอียด)

คำว่าทานที่แปลว่า การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หมายถึงการให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม มุ่งเพื่อบูชาพระคุณ เช่นที่ให้แก่บิดามารดา ถวายแก่พระสงฆ์ เป็นต้นบ้าง มุ่งเพื่อสงเคราะห์ เช่นที่ให้แก่คนตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนทั่วไปด้วยความเมตตากรุณาสงสารบ้างตามกำลังที่เราพอทำได้ไม่ทำให้ตัวเราเดือดร้อนเป็นทุกข์ใจใดๆภายหลัง

ส่วนคำว่าทานที่แปลว่า วัตถุที่พึงให้ ย่อมาจาก "ทานวัตถุ" หมายถึงสิ่งของสำหรับให้สำหรับเสียสละให้ผู้อื่นได้แก่..1. สิ่งของที่นำถวายพระ 2. สิ่งของที่ควรนำไปให้เพื่อตอบแทนบุญคุณแก่ผู้มีพระคุณ เช่นพ่อแม่ ครู อาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ เรียกว่าไทยทาน บ้าง ไทยธรรม บ้าง

ซึ่งมี 10 อย่าง ทานสูตร ได้แก่…

อาหาร

น้ำ

เครื่องนุ่งห่ม

ยานพาหนะ

มาลัยและดอกไม้

ของหอม (ธูปเทียน)

เครื่องลูบไล้ (สบู่เป็นต้น)

ที่นอน

ที่อยู่อาศัย

ประทีป (ไฟหรือไฟฟ้า)การให้ทานวัตถุ 10 ประการนี้มีผล อานิสงส์ มากเพราะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์อย่างเดียว ไม่มีโทษ ไม่มีพิษภัยแก่ผู้รับ การเลือกของที่จะให้บัณฑิตสรรเสริญ ด้วยจิตใจที่ดีงาม ทานเป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า "ทานมัย" คือบุญที่เกิดจากการให้ เป็นสังคหวัตถุ คือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจกันไว้ได้ และเป็นบ่อเกิดแห่งบารมีที่เรียกว่า ทานบารมี

หัวใจหลักของการให้ทานที่ดี..ตัองมีองค์ประกอบครบ 3 ประการ”จึงจะได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงสุด..จากความบริสุทธิ์ของทาน!!คืออะไร?(อ่านรายละเอียด)

หัวใจหลักของการให้ทานที่ดี..ตัองมีองค์ประกอบครบ 3 ประการ”จึงจะได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงสุด..จากความบริสุทธิ์ของทาน!!คืออะไร?(อ่านรายละเอียด)

หัวใจหลักของการให้ทานที่ดี..ตัองมีองค์ประกอบครบ 3 ประการ”จึงจะได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงสุด..จากความบริสุทธิ์ของทาน!!คืออะไร?(อ่านรายละเอียด)

ประเภทของทาน
 
1. อามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ข้าว(อาหาร)และน้ำเป็นทรัพย์โดยปรมัตถ์ สิ่งอื่นเป็นทรัพย์โดยบัญญัติเพราะเกิดจากการสมมุติของของคนที่ทำให้เกิดความจำเป็น เช่น เสื้อผ้าถ้าใส่กันอาย เงินทองเพชรที่กินไม่ได้และไม่มีประโยชน์ (อามิสแปลว่าวัตถุสิ่งของ)
 
2. ธรรมทาน คือการให้ที่ไม่เป็นวัตถุสิ่งของ ได้แก่ ให้สติ ให้ธรรมะ สอนคุณธรรม ให้กำลังใจ ให้อภัย(อภัยทาน) ให้วิทยาทาน

หัวใจหลักของการให้ทานที่ดี..ตัองมีองค์ประกอบครบ 3 ประการ”จึงจะได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงสุด..จากความบริสุทธิ์ของทาน!!คืออะไร?(อ่านรายละเอียด)  

3. อภัยทาน คือการยกโทษด้วยการไม่พยาบาทจองเวร บัณฑิตกล่าวเป็นทานที่ให้ได้ยากที่สุด โดยเฉพาะการให้อภัยศัตรูหรือผู้ที่ทำร้ายตนอย่างสาหัส
พระบรมศาสดาทรงตรัสถึงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา  คือทานไว้ 4 อย่าง  คือ…

1.ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายกคือผู้ให้  แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคคาหกคือผู้รับกล่าวคือผู้ให้เป็นผู้มีศีลงาม  มีธรรมงาม  ได้ของมาโดยชอบธรรม  เป็นผู้เชื่อกรรมและผลของกรรม แต่ผู้รับเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
2. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคคาหก  แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก  กล่าวคือผู้รับเป็นผู้มีศีลงาม  มีธรรมงาม  แต่ผู้ให้เป็นผู้ทุศีล  มีธรรมลามก  ได้ของมาโดยไม่ชอบธรรม  เป็นผู้ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรม

หัวใจหลักของการให้ทานที่ดี..ตัองมีองค์ประกอบครบ 3 ประการ”จึงจะได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงสุด..จากความบริสุทธิ์ของทาน!!คืออะไร?(อ่านรายละเอียด)

3. ทักษิณาบางอย่างไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และ
ปฏิคคาหก คือทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
4. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและปฏิคคาหก  คือทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นผู้มีศีลงาม  มีธรรมงามทานที่บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่ายอย่างนี้ย่อมมีผลไพบูลย์
อนึ่ง  พระบรมศาสดาตรัสว่า ถ้าทายกคือผู้ให้เป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ได้ของมาโดยชอบธรรม  มีศรัทธาเชื่อกรรมและผลของกรรม  และปฏิคคาหกคือผู้รับ  เป็นผู้มีศีลงาม  มีธรรมงาม  ปราศจากราคะแล้วทานของผู้นั้นเลิศกว่าอามิสทานทั้งหลายได้

อนึ่งใน ทานานิสังสสูตร อัง.ปัญจก.ข้อ 35 พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของทานไว้ 5 อย่างคือ…
อานิสงส์แห่งการให้ทาน 5 ประการ

1.ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของชนหมู่มาก
2. สัปปบุรุษผู้สงบ ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
3.กิตติศัพย์อันงามของผู้ให้ทาน ย่อมขจรทั่วไป
4.ผู้ให้ทาน ย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์
5. ผู้ให้ทาน เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

แล้วทรงสรุปเป็นคาถาว่า

ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก  ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ (คือ  มหาบุรุษ หรือพระโพธิสัตว์)  สัปบุรุษผู้สงบ  ผู้สำรวมอินทรีย์  ประพฤติพรหมจรรย์  ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ  สัปบุรุษเหล่านั้น  ย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์แก่เขา  เขาได้ทราบชัดแล้ว  ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้  ปรินิพพานในโลกนี้ควรอย่างยิ่งที่เราจะสะสมบุญ  มีทานเป็นต้น  ให้งอกงามเพิ่มพูนขึ้นในจิตใจของเรา  เพราะว่าเมื่อไรที่จิตใจของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยบุญ  เมื่อนั้นกิเลสจะไม่มีหลงเหลืออยู่ในจิตใจของเราเลย…

หัวใจหลักของการให้ทานที่ดี..ตัองมีองค์ประกอบครบ 3 ประการ”จึงจะได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงสุด..จากความบริสุทธิ์ของทาน!!คืออะไร?(อ่านรายละเอียด)

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย,
และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย: โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์