เล่นใหญ่มาก!! รมว.พม.ต้องการดึงสังคมไทย ไม่ให้มีการแบ่งแยก เหมือน สิงคโปร์ ร่วมประชุมประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 19 (คลิป)

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 19 (19th  ASCC Council Meeting) พร้อมเป็นรองประธานการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนปี 2561 โดยมี นางสาวอุษณี กังวารจิตต์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รักษาการแทนรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)      ผู้แทนกระทรวง พม.  และผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมสวิสโซเทล สาธารณรัฐสิงคโปร์

 สำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 19 (19th  ASCC Council Meeting) ในช่วงเช้าเป็นการหารืออย่างไม่เป็นทางการ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในเชิงกลยุทธ์

ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมแห่งการป้องกัน รวมถึงการผลักดันในการนำปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมการป้องกัน เพื่อมุ่งไปสู่สังคมที่มีสันติสุข ไม่แบ่งแยก มีภูมิคุ้มกัน สุขภาพดี และมีความกลมเกลียว โดยประเทศไทยได้เสนอให้มีการดำเนินการในลักษณะหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน (พีพีพี หรือประชารัฐ) ในการส่งเสริมวัฒนธรรม

แห่งการป้องกัน และควรมีการพัฒนาในระดับประเทศเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการบูรณาการวัฒนธรรมแห่งการป้องกันไว้ในนโยบายและแผนงานของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 จากนั้น จึงดำเนินการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 19 อย่างเป็นทางการ    โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อสิงคโปร์สำหรับ          การดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนปี 2561 และมั่นใจว่าภายใต้การนำและแนวทางของสิงคโปร์จะทำให้ภารกิจการขับเคลื่อนแผนงานหลักในปีนี้สามารถบรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งประเทศไทยมีความยินดีที่ได้รับทราบรายงานของประธานการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (SOCA Chair) เกี่ยวกับแผนงานหลักประจำปี 2561 ภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ตลอดจนความก้าวหน้าเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารผลลัพธ์สำคัญที่จะมีการเสนอต่อการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 32 และครั้งที่ 33 ตามลำดับ

การดำเนินงานในอนาคต ประเทศไทยมีความเห็นว่าอาเซียนต้องเป็นประชาคมที่สามารถตอบสนองต่อ         ความต้องการของประชาชนอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยควรให้ความสำคัญ

กับ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) อาเซียนต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและครอบคลุมสำหรับทุกคน ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการของคนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับฐานราก 2) การแปลงข้อตกลงร่วมกันไปสู่ความเป็นจริง โดยการนำตราสารอาเซียนต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติในระดับประเทศ ทั้งนี้ จะต้องได้รับการมี      ส่วนร่วมที่เข้มแข็งจากประชาชนและมีการนำข้อคิดเห็นและข้อกังวลของประชาชนมาประกอบการดำเนินงานด้วย     และ 3) ประเทศไทยมีความเชื่อมั่นว่า ประเด็นและข้อท้าทายร่วมจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กร

เฉพาะสาขาทั้งภายในและภายนอกประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ดังนั้น จึงควรให้มีการพัฒนากลไก

ที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือและการประสานงานระหว่างสาขาและระหว่าง                เสาหลักอาเซียน เพื่อให้สามารถจัดการกับประเด็นและข้อท้าทายร่วมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายใต้อุดมการณ์ดังกล่าว

ทั้งนี้ การประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC Council Meeting) ครั้งต่อไป ที่ประชุมได้กำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 3 ตุลาคม 2561 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้ยืนยันเจตจำนง          ที่แน่วแน่ในการร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีสันติภาพ เสรีภาพ และความเจริญรุ่งเรืองต่อไป