เปิดคลิปหนูน้อยกินชาไข่มุก แต่ไข่มุกดันติดหลอด พยายามดูดสุดแรงพุ่งลงคอยังไม่ทันได้เคี้ยว

ชาวเน็ตกระหน่ำแชร์คลิปสาวน้อยกินชาไข่มุก ไข่มุกติดที่หลอดสาวน้อยดูดสุดพลังพุ่งลงคอทำตาเหลือกสุดฮาแถมบ่นว่ายังไม่ทันได้เคี้ยวเลย คลิปวีดิโอนี้ถูกแชร์ส่งต่อไปมากกว่า 5 หมื่นครั้งและมียอดเข้าชมกว่า 2 ล้านวิว!

 

หนูน้อยกินชาไข่มุก ไข่มุกติดหลอดดูดสุดแรงพุ่งลงคอยังไม่ทันได้เคี้ยว (คลิป)

 

ผู้โพสต์คลิปนี้คือคุณแม่ของน้องใช้ชื่อเฟซบุ๊ก Phatcharaporn Charoenying โพสต์คลิปลูกสาวที่พยายามจะกินไข่มุกที่ติดอยู่ที่หลอด หนูน้อยดูดสุดแรงจนตาโต จู่ๆไข่มุกก็พุ่งลงคอไป แถมบ่นอีกว่าเข้าคอไปแล้ว ยังไม่ทันได้เคี้ยวเลยสักนิด

 

หนูน้อยกินชาไข่มุก ไข่มุกติดหลอดดูดสุดแรงพุ่งลงคอยังไม่ทันได้เคี้ยว (คลิป)

 

หนูน้อยกินชาไข่มุก ไข่มุกติดหลอดดูดสุดแรงพุ่งลงคอยังไม่ทันได้เคี้ยว (คลิป)

 

แต่ถึงแม้ว่าหลายๆคนจะรู้สึกตลกคลิปวีดีโอนี้ก็มีคนที่มองว่าเหตุการณ์นี้ถือเป็นเหตุการณ์อันตรายมากๆเพราะถ้าไข่มุกพุ่งเข้าไปติดหลอดลมจนหายใจไม่ออกอาจทำให้เสียชีวิตได้ ทางที่ดีผู้ปกครองที่ได้ดูควรเตือนบุตรหลานถึงอันตรายนี้ด้วย

 

หนูน้อยกินชาไข่มุก ไข่มุกติดหลอดดูดสุดแรงพุ่งลงคอยังไม่ทันได้เคี้ยว (คลิป)

 

หนูน้อยกินชาไข่มุก ไข่มุกติดหลอดดูดสุดแรงพุ่งลงคอยังไม่ทันได้เคี้ยว (คลิป)

 

หนูน้อยกินชาไข่มุก ไข่มุกติดหลอดดูดสุดแรงพุ่งลงคอยังไม่ทันได้เคี้ยว (คลิป)

 

สำหรับชาไข่มุกนั้นถือเป็นเครื่องดื่มที่หลายๆคนชื่นชอบอย่างมาก และตัวไข่มุกนั้นแท้จริงทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง

 

หนูน้อยกินชาไข่มุก ไข่มุกติดหลอดดูดสุดแรงพุ่งลงคอยังไม่ทันได้เคี้ยว (คลิป)

 

และชานมไข่มุกเป็นเครื่องดื่มสัญชาติไต้หวัน กำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 1989 เรียกอีกชื่อว่า Boba Milk Tea ซึ่งคำว่า Boba ผันมาจากคำว่า Bubble ซึ่งในภาษาจีนแปลว่า ขนาดใหญ่ เคี้ยวหนึบ ปัจจุบัน เครื่องดื่มคลายร้อนชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชาเย็น กาแฟเย็น น้ำผลไม้ปั่น ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ชานมไข่มุกก็เป็นเครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งที่กลายเป็นกระแสนิยมที่มาแรงในขณะนี้ โดยเห็นได้จากจำนวนร้านค้าชานมไข่มุกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จะมีสักกี่คนที่รู้คุณค่าทางโภชนาการของเครื่องดื่มที่กำลังมาแรงในขณะนี้

การศึกษามากมายที่ระบุถึงประโยชน์ของการดื่มน้ำชาเพื่อสุขภาพ เช่น สามารถช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในหลอดเลือด และการมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง ซึ่งประโยชน์ต่าง ๆ เหล่านี้ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของชาและความเข้มข้นในการบริโภค แต่การบริโภคชาเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน คือ การดื่มชาในปริมาณที่มากเกินไปอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น ท้องผูก นอนไม่หลับ เป็นต้น

แต่ชานมไข่มุก 1 แก้ว มิได้มีเพียงแต่น้ำชาเท่านั้น แต่ยังมีน้ำเชื่อม ครีมเทียม และไข่มุกเพิ่มขึ้นมา ข้อมูลทางโภชนาการระบุว่า ชานมไข่มุก 1 แก้ว ให้พลังงาน 240-360 กิโลแคลอรี (คาร์โบไฮเดรต 45-62 กรัม, ไขมัน 0-14 กรัม, โปรตีน 0.4-2 กรัม) ความแตกต่างของพลังงานและสารอาหารขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำเชื่อมและครีมเทียมที่ใส่ลงไป

โดยไข่มุกที่อยู่ในชานมไข่มุกนั้น ผลิตมาจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งจัดอยู่ในอาหารหมวดเดียวกับแป้งและน้ำตาล โดยไข่มุก 30 กรัม ให้พลังงาน 100 กิโลแคลอรี ซึ่งพลังงานที่ได้จากการดื่มชานมไข่มุกใกล้เคียงกับการรับประทานก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ 1 ชาม ที่ให้พลังงาน 326 กิโลแคลอรี (คาร์โบไฮเดรต 41 กรัม, ไขมัน 8 กรัม, โปรตีน 21 กรัม) หรือเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลที่ได้รับจากชานมไข่มุกจะเท่ากับข้าว 3-4 ทัพพี

มีการศึกษาวิจัยพบว่า การดื่มชาคู่กับนมหรือน้ำตาลจะลดคุณสมบัติของชาในการต้านอนุมูลอิสระ ยิ่งไปกว่านั้น น้ำตาลที่ใส่ในน้ำชายังถือเป็นสิ่งที่ให้พลังงานสูญเปล่า หมายถึงสิ่งที่ให้พลังงานที่มาจากคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวโดยไม่มีสารอาหารอย่างอื่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งมีการศึกษาระบุว่า การดื่มน้ำตาลในปริมาณมาก ๆ อย่างต่อเนื่อง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือดเหมือนกับการดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มประเภทชาเขียวพร้อมดื่มที่มีวางจำหน่ายทั่วไป 

นอกจากนี้ครีมเทียมที่ใส่ลงในชานม ไขมันส่วนใหญ่จะผลิตจากไขมันปาล์มซึ่งมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง โดยเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า การบริโภคกรดไขมันอิ่มตัวเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ดังนั้นการบริโภคชานมไข่มุกเป็นประจำอาจนำไปสู่การเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งการดื่มชานมไข่มุกที่เหมาะสมคือ การดื่มโดยคำนึงถึงพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดยการทดแทนการดื่มชานมไข่มุกกับการลดการบริโภคอาหารในกลุ่มข้าว แป้ง หรือการลดปริมาณน้ำตาลที่ใส่ในชานมไข่มุกที่คุณสั่ง และหลีกเลี่ยงการใส่ครีมเทียมลงไปในชานมไข่มุกที่คุณสั่ง เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถลดอันตรายที่มาจากชานมไข่มุกได้

 

ขอบคุณ Phatcharaporn Charoenying และ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล