ประวัติรูปปั้นนางเงือก แลนด์มาร์คสำคัญคู่หาดสมิหลามากว่า 52 ปี!

เปิดเผยถึงประวัติรูปปั้นนางเงือก แลนด์มาร์คสำคัญคู่หาดสมิหลามากว่า 52 ปี จ.สงขลา

จากกรณีเมื่อคืนวันที่ 26 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุระทึกคนร้ายลอบวางระเบิด ที่บริเวณ หาดสมิหลา สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียง กลางเมือง สงขลา ส่งผลให้รูปปั้นนางเงือกสัญลักษณ์ประจำหาดได้รับความเสียหายบริเวณหางของรูปปั้นนั้นขาด

 

 

โดยคนร้ายลอบวางระเบิดรูปปั้นนางเงือก และรูปปั้นหนูกับแมว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญบริเวณชายหาดสมิหลา จ.สงขลา

 

รูปปั้นนางเงือก

 

หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ EOD ได้นำกำลังเข้าตรวจสอบ และประกาศขอให้ชาวสงขลาเพิ่มความระมัดระวังในเขตชุมนุม ตลาด ห้างสรรพสินค้า พบวัตถุต้องสงสัย โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ โดยเหตุระเบิดเกิดขึ้น2ครั้ง และยังสามารถเก็บกู้ระเบิดได้อีก3ลูก รวมทั้งหมดถูกวางระเบิดไว้5ลูกด้วยกัน

 

วัตถุต้องสงสัยรูปปั้นนางเงือก

 

จากการตรวจสอบคาดว่าผู้ก่อความไม่สงบได้นำวัตถุระเบิดแสวงเครื่องวางไว้บริเวณรูปปั้น ผลของแรงระเบิดทำให้เกิดขนาดหลุมกว้างประมาณ 50 ซม.(ระเบิดลูกที่ 1) หลังจากนั้นจึงได้ทำการนิรภัยวัตถุระเบิดแสวงเครื่องลูกที่ 2 บริเวณใต้รูปปั้น พบวัตถุพยานในที่เกิดเหตุ ดังนี้
1.ชุดควบคุมการจุดระเบิด เป็นนาฬิกาข้อมือยี่ห้อ คาสิโอ 1 ชุด
2.ภาชนะบรรจุดินระเบิดหลัก เป็นกล่องเหล็กกว้าง 4 นิ้ว ยาว 5 นิ้ว หนา 2 นิ้ว
3.ชิ้นส่วนสายไฟ
4.ปลั๊กไฟตัวผู้ 
5.แบตเตอรี่ ขนาด AA จำนวน 3 ก้อน
6.ฝากล่องพลาสติก(ใส่ชุดควบคุมการจุดระเบิด)

 

วัตถุต้องสงสัย

 

วัตถุต้องสงสัย 1

 

วัตถุต้องสงสัย 2

 

กระทั่งล่าสุดวันที่ 27 ธ.ค. 2561 มีรายงานเพิ่มเติมว่าหลังตรวจสอบลักษณะของระเบิดพบว่าวงจรระเบิดคล้ายระเบิดที่ใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

 

วัตถุต้องสงสัย 3

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบจิตใจคนสงขลาเป็นอย่างมาก เนื่องจากรูปปั้นนางเงือกนี้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ประจำหาด เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ทำให้หาดสมิหลากลายเป็นที่รู้จักและนักท่องเที่ยวหลายคนที่มาเที่ยวก็มาเพื่อชื่นชมและถ่ายรูปคู่กับรูปปั้นนี้ เรียกได้ว่าใครที่มาแล้วไม่ได้ถ่ายรูปคู่กับนางเงือกถือว่ามาไม่ถึงหาดสมิหลา

และตำนานเรื่องเล่าของรูปปั้นนางเงือกนี้ถูกเล่าขานส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยมีความเป็นมาดังนี้

#ประวัติความเป็นมา รูปปั้นนางเงือก

ย้อนไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 ณ แหลมสมิหลา สงขลา ม.จ.ทองคำเปลว ทองใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธี 1 เมษยน 2509 - 1 เมษยน 2561ครบรอบ 52 ปีที่เงือกทองยังคงสวยสง่าคู่เมืองสงขลา สัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของเมือง 2 ทะเล

นักปกครองหนุ่มวัย 40 ปี ผู้มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล"นายชาญ กาญจนาคพันธุ์" ปลัดจังหวัดสงขลา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสงขลาด้วย เป็นผู้ริเริ่มในการสร้าง สัญญัลักษณ์ทางวัตถุของเมืองสงขลา 
ให้ผู้คนได้รู้จัก นอกเหนือสัญญลักษณ์ทางธรรมชาติ"เกาะหนู เกาะแมว"

 

รูปปั้นนางเงือก หาดสมิหลา

 

โดยในวัยเด็กปลัดชาญ มักได้ยินคุณพ่อ"ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)"(นักคิด นักค้นคว้า และนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของ ยุครัตนโกสินทร์) เล่านิยายปรัมปราเกี่ยวกับนางเงือก ไว้ว่า" ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผม บนชายหาดด้วยหวีทองคำ

วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย"

ด้วยเรื่องที่พ่อเล่าให้ฟังตั้งแต่เด็ก จึงเป็นที่มาที่จะสร้างรูปปั้นนางเงือก ในท่าที่กำลังหวีผม เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองสงขลา ใช้งบประมาณของเทศบาล 60,000 บาทในการสร้าง โดยให้ศิลปินนักปั้นชั้นครูเมืองหนึ่งของเมืองไทยในสมัยนั้น"อาจารย์จิตร บัวบุศย์" อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง (ผู้ที่มีผลงาน การปั้นพานรัฐธรรมนูญ บนอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ.2483) เป็นผู้ออกแบบ หล่อและปั้นรูปนางเงือก

ด้วยสถานที่มีธรรมชาติสวยงาม บริเวณแหลมสมิหลา รูปปั้นนางเงือกนั่งแปรงผมยาวสลวยอยู่บนโขดหินธรรมชาติ ได้อย่างเหมาะเจาะพอดีกับทุกสิ่งทุกอย่างในบริบทนั้น บนหาดสวย ริมทะเลงาม มีเกาะหนู เกาะแมว เป็นฉากหลัง

เพราะฉะนั้นผู้ที่มาเยือนเมืองสงขลา ต้องไม่พลาดที่จะมาถ่ายรูปคู่กับนางเงือกทองสงขลา แห่งนี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-คนร้ายวางระเบิดรูปปั้นนางเงือก-รูปปั้นหนูกับแมวที่หาดสมิหลา รวมทั้งหมด5ลูก !

-เพจดังเผยประวัติความเป็นมา "รูปปั้นนางเงือก" หาดแหลมสมิหลา

 

ขอบคุณ ข่าวสาร ชายแดนใต้