ประเพณีบวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่มีการแชร์กันอย่างมากมายในโลกโซเชียลขณะนี้ สำหรับกรณีเมื่อเพจเฟซบุ๊ก "พระประแดงที่รัก"

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่มีการแชร์กันอย่างมากมายในโลกโซเชียลขณะนี้ สำหรับกรณีเมื่อเพจเฟซบุ๊ก "พระประแดงที่รัก" ได้โพสต์ภาพ พิธีบวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง พร้อมบรรยายข้อความว่า..พิธีอุปสมบท ครูไผ่ รวีวัฒน์ รุ่งเรืองรอง ในแบบฉบับไทย-มอญ ปากลัด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ณ พัทธสีมาวัดทรงธรรมวรวิหาร ๑๗ ๑๘ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ (ภาพส่วนหนึ่งจากจำนวนภาพที่ถ่ายไว้)

 

ประเพณีบวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง

 

ขณะที่ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก "โบราณนานมา" ยังได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า...บวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง ความหมายการแต่งหญิงของนาคมอญพระประแดง ชุมชนมอญพระประแดงมีธรรมเนียมการแต่ง "นาค" ต่างจากชุมชนมอญทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด ผู้ที่ไม่คุ้นเคยจึงมักเกิดคำถามว่า เหตุใดนาคมอญต้อง “แต่งหญิง” นุ่งผ้าม่วงห่มสไบ เขียนหน้าทาปาก แต่หากพินิจพิเคราะห์ให้ดีจะเห็นว่า ลักษณะการนุ่งผ้าไม่ต่างจาก "สบง" และการห่มสไบก็ไม่ต่างจาก "อังสะ"

 

ประเพณีบวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง

 

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ (พระพุทธเจ้า) เสด็จออกผนวชยังฉลองพระองค์หน่อกษัตริย์ ทรงเครื่องมงกุฎ ประดับเพชรนิลจินดา มีเทวดาแปลงเป็นม้ากัณฐกะ พาเหาะออกทางหน้าต่างพระราชวัง มอญจึงจับเอาคตินี้มาปรับใช้ เมื่อปุถุชนยังครองเพศฆราวาสแม้จะมีทรัพย์สินศฤงคารมากมายเพียงใด แต่เมื่อจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ก็จำต้องสละสิ่งเหล่านั้นไปสู่เพศอันบริสุทธิ์

 

ประเพณีบวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง

 

นาคมอญจึงงามราวรูปกษัตริย์ แต่เหตุที่นาคกระเดียดไปทางผู้หญิง ด้วยญาติผู้หญิงแต่งให้ ข้าวของเครื่องใช้ก็ใช้ของผู้หญิง ซึ่งงานบวชนี้ คนมอญโดยเฉพาะผู้หญิงจะเรียกว่า “งานส่งนาคเข้าโบสถ์” ด้วยผู้หญิงทำได้เพียงเท่านั้น ไม่อาจก้าวล่วงพ้นธรณีประตูโบสถ์ร่วมพิธีอย่างผู้ชายได้ จึงเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่ญาติฝ่ายหญิงจะได้จับต้องเนื้อตัวนาคซึ่งเป็นผู้ชาย เป็นการร่วมบุญตามประสาที่ยังมีช่องว่างในการเข้าถึงแก่นพระพุทธศาสนาเมื่อในอดีต

 

ประเพณีบวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง

 

สำหรับมอญพระประแดง การแต่งกายออกจะกระเดียดไปทางผู้หญิงมากกว่า ผ้านุ่งจะเป็นผ้าม่วงหรือผ้ายกดอกปักเลื่อมอย่างดี นุ่งแบบจีบหน้านาง มีชายพก ส่วนผ้าห่มนิยมใช้สไบจีบของผู้หญิงและห่มแบบผู้หญิง ดูรวมๆ แล้วจึงเหมือนชุดไทยจักรี เกิดจากหน้าที่การแต่งกายนาคล้วนเป็นของผู้หญิง ข้าวของผ้านุ่งผ้าห่มเครื่องประดับถนิมพิมพาภรณ์จึงเป็นแบบผู้หญิงดังกล่าวแล้ว ประกอบกับความงามของพระพุทธรูปตามพุทธลักษณะก็จงใจจะให้มีความงามละม้ายผู้หญิง พักตร์อิ่ม คิ้วโก่ง อกผาย เอวกิ่ว แขนขาเรียว ดังนั้นความงามของพระพุทธรูปจึงทับซ้อนกับ “นาค” ที่มีความงามกึ่งผู้หญิง

 

ขณะที่ชาวมอญพระประแดงบางคนให้คำอธิบายแบบใหม่ว่า เป็นเพราะผู้หญิงไม่สามารถอุปสมบทและเข้าโบสถ์ได้ โดยเฉพาะโบสถ์ของวัดมอญนั้นห้ามผู้หญิงเข้าอย่างเด็ดขาด ปัจจุบันวัดมอญในเมืองไทยยังคงธรรมเนียมปฏิบัตินี้ไว้เป็นเพียงบางวัด ขณะที่วัดมอญในเมืองมอญ ประเทศเมียนมาร์ทุกวัดยังคงห้ามผู้หญิงเข้าอย่างเด็ดขาด ซึ่งความเป็นจริงแล้วทั้งผู้หญิงและผู้ชายก็แทบไม่มีธุระอะไรที่จะต้องเข้าโบสถ์ เพราะเป็นเรื่องของสงฆ์ล้วนๆ สิ่งที่ฆราวาสต้องการคือการคือวิหาร ที่ต้องไหว้พระสวดมนต์ทุกวันที่มีโอกาส

 

ประเพณีบวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง

 

ประเพณีบวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง

 

ประเพณีบวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง

 

ประเพณีบวชนาคแบบชาวมอญพระประแดง

 

ขอบคุณ : พระประแดงที่รัก โบราณนานมา