กรมอนามัยเตือน จุดเสี่ยงสะสมเชื้อโรค แก้วเก็บความเย็น

เนื่องด้วยสมัยนี้หลายมีนโยบายการลดเลิกร้อนที่สดการใช้พลาสติก ซึ่งก็มีหลายคนให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเฉพราะเวลาที่ซื้อน้ำหลายคนนิยมการใช้แก้วน้ำเก็บความเย็นที่เป็นที่นิยมในการใส่น้ำที่ซื้อ เนื่องจากมีหลายร้านที่มีโปรโมชั่นเรื่องของการนำแก้วไปเองจะได้ส่วนลดราคา และแก้วที่เรานำไปใช้มักเป็นแก้วเก็บความเย็น ที่สามารถเก็บความเย็นได้นานกว่าแก้วพลาสติกที่ทางให้ กว่าหลาย ชั่วโมง

เนื่องด้วยสมัยนี้หลายมีนโยบายการลดเลิกร้อนที่สดการใช้พลาสติก ซึ่งก็มีหลายคนให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเฉพราะเวลาที่ซื้อน้ำหลายคนนิยมการใช้แก้วน้ำเก็บความเย็นที่เป็นที่นิยมในการใส่น้ำที่ซื้อ เนื่องจากมีหลายร้านที่มีโปรโมชั่นเรื่องของการนำแก้วไปเองจะได้ส่วนลดราคา และแก้วที่เรานำไปใช้มักเป็นแก้วเก็บความเย็น ที่สามารถเก็บความเย็นได้นานกว่าแก้วพลาสติกที่ทางให้ กว่าหลาย ชั่วโมง

 

กรมอนามัยเตือน จุดเสี่ยงสะสมเชื้อโรค แก้วเก็บความเย็น

ด้านกรมอนามัยได้แนะนำว่า ประชาชนที่ชอบใช้แก้วเก็บความเย็น ต้องล้างทำความสะอาดแก้วทั้งภายในขอบยางฝาแก้วและร่องขอบยางด้านในซึ่งเป็นจุดเสี่ยงที่จะมีสิ่งสกปรกอุดตันเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค

กรมอนามัยเตือน จุดเสี่ยงสะสมเชื้อโรค แก้วเก็บความเย็น

นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า แก้วเก็บความเย็น เป็นหนึ่งทางเลือกเพื่อลดการใช้พลาสติกไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งแก้วประเภทนี้สามารถเก็บความเย็นได้นานกว่า 12 ชั่วโมง และทำจากสเตนเลส (stainless steel) เกรดครัว (Kitchen Grade) จึงทนต่อการเจาะและเป็นสนิม ฉนวนสุญญากาศแบบติดผนังสองชั้น ข้างในมีช่องว่างเล็กๆ เป็นสูญญากาศ ทำให้สามารถรักษาความเย็นและความร้อนข้างในไว้ได้อย่างยาวนาน สามารถเข้าเครื่องล้างภาชนะได้ มีหลากหลายขนาด แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดเป็นทรงแก้วน้ำ (TUMBLER) ขนาด 30 ออนซ์ มีฝาปิดแก้วน้ำ แผ่นแม่เหล็กปิด-เปิด (Mag Slider) และขอบยางฝาแก้วด้านใน ที่ช่วยป้องกันการรั่วไหลหรือกันน้ำซึมออกด้านนอก และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันอุณหภูมิจากภายนอกแก้ว ทำให้สามารถรักษาสภาพเครื่องดื่มเย็นหรือเครื่องดื่มร้อนได้อย่างยาวนาน

กรมอนามัยเตือน จุดเสี่ยงสะสมเชื้อโรค แก้วเก็บความเย็น

“การล้างทำความสะอาดแก้วเก็บความเย็น ควรล้างให้สะอาดทุกซอกทุกมุม เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมเชื้อโรคแบบถาวร โดยเฉพาะการทำความสะอาดจุดเสี่ยงที่มีสิ่งสกปรกอุดตันเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ขอบยางฝาแก้ว และร่องขอบยางด้านใน โดยเปิดแก้วและฝาแก้วแยกจากกัน ดึงขอบยางฝาแก้วออกเช็ดคราบสกปรกขอบยางฝาแก้วและร่องฝาแก้ว ทำความสะอาด ตัวแก้ว และฝาแก้ว ทั้งภายในและภายนอกแก้ว ด้วยน้ำยาล้างแก้วหรือน้ำยาล้างจาน และล้างให้สะอาดอีกครั้งด้วยน้ำเปล่า และคว่ำหรือเช็ดให้แห้งและเก็บในที่ที่เหมาะสม จะช่วยป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและเชื้อราที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมาได้” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

กรมอนามัยเตือน จุดเสี่ยงสะสมเชื้อโรค แก้วเก็บความเย็น