สหภาพการทางพิเศษฯ โต้เดือด BEM อ้างเคอร์ฟิว งัดสัญญาบีบชดเชย รายได้ทางด่วนหดหาย

สหภาพฯการทางพิเศษเดือดปุด สวนเดือด BEM ฉวยโอกาสอ้างข้อสัญญา เรียกร้องให้กทพ.พิจารณาแนวทางชดเชย อ้างมาตรการเคอร์ฟิว ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 กระทบปริมาณการใช้ทางด่วน ทั้งๆครม.เพิ่งยอมอนุมัติขยายอายุสัมปทานทางด่วน

สหภาพฯการทางพิเศษเดือดปุด  สวนเดือด  BEM    ฉวยโอกาสอ้างข้อสัญญา   เรียกร้องให้กทพ.พิจารณาแนวทางชดเชย  อ้างมาตรการเคอร์ฟิว ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19  กระทบปริมาณการใช้ทางด่วน  ทั้งๆ ครม.เพิ่งยอมอนุมัติขยายอายุสัมปทานทางด่วน 

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (สร.กทพ.)  ออกแถลงการณ์  กรณีบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้มีหนังสือลงวันที่ 16 เมษายน 2563 ถึงการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพือให้พิจารณาว่าแนวทางการชดเชยผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไว้รัส โควิด -19 


สร.กทพ.เห็นว่าการที่รัฐบาลประกาศ มาตรการควบคุมโรคระบาดติดต่ออันตรายร้ายแรงโรคไวรัสโควิด-19 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด -19 ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เพื่อไม่ให้ระบาดไปสู่ประชาชนในวงกว้าง อันจะทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้ยาก จะส่งผลกระทบต่อชีวิตอนามัยของสาธารณชนเป็นอันมาก  ซึ่งมาตรการดังกล่าว เป็นการกำหนดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน   ดังนั้นในเหตุการณ์ดังกล่าวจึงไม่ขัดกับสัญญาและเป็นเหตุให้การทางพิเศษฯต้องชดเชยให้บริษัทแต่อย่างใด

สหภาพการทางพิเศษฯ โต้เดือด BEM อ้างเคอร์ฟิว งัดสัญญาบีบชดเชย รายได้ทางด่วนหดหาย
 

ก่อนหน้านั้น  นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM  ได้ทำหนังสือถึง ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563  ระบุเรื่อง การแจ้งผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  พร้อมอ้างถึง สัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563  รวมถึงนำส่ง ปริมาณจราจรและรายได้ค่าผ่านทาง ทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัช ของเดือนกุมภาพันธ์ และ เดือนมีนาคม 2563 แสดงใจความสำคัญ เพื่อขอความอนุเคราะห์จากกทพ. เพื่อพิจารณาแนวทางการชดเชยผลกระทบของบริษัท

 

สหภาพการทางพิเศษฯ โต้เดือด BEM อ้างเคอร์ฟิว งัดสัญญาบีบชดเชย รายได้ทางด่วนหดหาย


ขณะที่รายละเอียดของหนังสือ นำส่ง  นายดำเกิง ปานขำ รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)  ระบุว่า  เนื่องจากปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โดวิด-19) อย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ส่งผลให้รัฐบาลออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมีคำสั่งห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็น ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา  และมีคำสั่งปิดสถานที่บางประเภทเป็นการชั่วคราวและคำสั่งห้ามทำกิจกรรมในสถานที่แออัด ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.2563 ที่ผ่านมา

 

บริษัทฯ ตระหนักถึงความจำเป็นของภาครัฐ และความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ติลงโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เกิดขึ้นประกอบกับมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล ทำให้ปริมาณจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัช ลดลงต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น บริษัทฯจึงขอเรียนให้ กทพ.ทราบถึงผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยและเหตุการณ์ที่เป็นข้อยกเว้นที่เกิดขึ้น


“ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามสัญญา ข้อ 18.1 และ 18.2  บริษัทฯจะเรียนให้ กทพ. ทราบถึงรายละเอียดผลกระทบเมื่อสถานการณ์คลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ และด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ จึงเรียนขอความอนุเคราะห์ กทพ. เพื่อพิจารณาแนวทางการชดเชยผลกระทบของบริษัทฯต่อไป ด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง” 


ขณะเดียวกัน ทางบมจ. BEM ยังอ้างถึงข้อมูลจำนวนรถใช้ทางด่วน  ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่ามีปริมาณลดลง 25.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หรือ เหลือ 950,000 คันต่อวัน และไตรมาสแรกคาดว่าจะมีปริมาณรถใช้ทางด่วนลดลง 11.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และลดลง 8.8% เมื่อเทียบระหว่างไตรมาส โดยจะเหลือรถใช้บริการทางพิเศษเฉลี่ย 1.12 ล้านคันต่อวัน


จากการตรวจสอบเพิ่มเติม กับเอกสารสัญญาที่ บมจ.BEM นำมากล่าวอ้างประกอบ   เป็นรายละเอียดสัญญาโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) ระหว่างกทพ.และบีอีเอ็ม และสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ฉบับแก้ไข) ระหว่าง กทพ. และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด 


ตามรายละเอียดข้อ 18  เรื่องเหตุสุดวิสัยและเหตุการณ์ที่เป็นข้อยกเว้น   ในข้อ 18.1 นิยามเหตุสุดวิสัย  หรือเหตุซึ่งมีผลกระทบในทางเสียหายอย่างรุนแรงต่อผลประโยชน์ของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่าย  โดยคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบในทางเสียหายนั้น ได้ใช้ความพยายามจะป้องกันผลเสียหายนั้นแล้วอย่างเต็มที่ 

สหภาพการทางพิเศษฯ โต้เดือด BEM อ้างเคอร์ฟิว งัดสัญญาบีบชดเชย รายได้ทางด่วนหดหาย

 

อาทิ 18.1 (ก)  ความผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศไทย  และ   18.1 (ค) การกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการ การเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราภาษีศุลกากร อากร ภาษี กฎหมายหรือระเบียบ ของ กทพ. รัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจงใจให้มีผลกระทบโดยตรงต่อสัญญานี้ หรือกระทบต่อรายได้ผ่านทางที่เอกชนจะได้ตามสัญญา

สหภาพการทางพิเศษฯ โต้เดือด BEM อ้างเคอร์ฟิว งัดสัญญาบีบชดเชย รายได้ทางด่วนหดหาย

และ ข้อ 18.2 ระบุว่า  ในระหว่างดำเนินงาน  เมื่อคู่สัญญาสัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ประสบเหตุตามข้อ 18.1  คู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องดำเนินการตามสัญญาข้อ 18.2 คือ ให้คู่สัญญาฝ่ายนั้น แจ้งเหตุให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบภายใน 15 วัน นับแต่โอกาสแรกที่อาจแจ้งให้ทราบได้ หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนด คู่สัญญาที่ประสบเหตุจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามข้อ 18.3 และข้อ 18.4 ในภายหลังไม่ได้

สหภาพการทางพิเศษฯ โต้เดือด BEM อ้างเคอร์ฟิว งัดสัญญาบีบชดเชย รายได้ทางด่วนหดหาย

ในขณะที่สัญญาข้อ 18.3 มีการระบุว่า กรณีที่คู่สัญญาได้รับผลกระทบด้านการเงินอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย หรือเหตุการณ์ที่เป็นข้อยกเว้น ให้บริษัทเอกชนคู่สัญญาที่ประสบผลกระทบอย่างร้ายแรงด้านการเงินอันมีสาเหตุมาจากเหตุสุดวิสัย และ/หรือเหตุการณ์ที่เป็นข้อยกเว้นนั้น มีสิทธิที่จะได้รับการชดเชยโดยวิธีหนึ่งวิธีใด 3 วิธี คือ

1.โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ปรับเพิ่มอัตราค่าผ่านทาง

2.ขยายระยะเวลาของสัญญา

หรือ3.ชดเชยด้วยวิธีการอื่นใดตามที่คู่สัญญาจะได้ตกลงกัน

 

สหภาพการทางพิเศษฯ โต้เดือด BEM อ้างเคอร์ฟิว งัดสัญญาบีบชดเชย รายได้ทางด่วนหดหาย


ประเด็นสำคัญคือ    ก่อนหน้านั้นไม่นาน    คณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติเมื่อวันที่ 18  กุมภาพันธ์ 2563    เห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม   เสนอการต่อสัญญาทางด่วนเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่าง กทพ. และ BEM เพื่อระงับข้อพิพาทคดีทางด่วนที่มีมูลค่าที่ 58,873 ล้านบาท ได้แก่ การแก้ไขสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ทางพิเศษศรีรัช รวมถึงส่วนดี) และการแก้ไขสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ทางพิเศษอุดรรัถยา)

 

โดยการอนุม้ติให้ต่ออายุสัญญาสัมปทานทางด่วนระหว่าง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นระยะเวลา 15 ปี 8 เดือน