ตำนานควายบุญเลิศ ที่"บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์"ขี่เล่นหนัง บางระจัน

ตำนานควายบุญเลิศ ที่"บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์"ขี่เล่นหนัง บางระจัน

เพจเฟซบุ๊ก รูปอดีตและเรื่องราวเก่าๆ ได้โพสต์ข้อความ และเนื้อหาว่า 

#ตำนานควายบุญเลิศ

อย่างน้อยการตายของเจ้าบุญเลิศ สามารถกระตุ้นจิตสำนึกของคนไทยให้เห็นคุณค่าของสัตว์พื้นเมืองไทย และเห็นคุณค่าของควาย ทั้งช่วยให้การทำงานด้านส่งเสริมและอนุรักษ์ควายไทยได้ง่ายขึ้น

ในสมัยโบราณการออกศึกษา นอกจากจะมีมีด หอก ดาบง้าว กริช และธนู เป็นอาวุธของทหารแล้ว ยังต้องอาศัยสัตว์เป็นพาหนะซึ่ง ประกอบด้วย ช้างและม้า ที่ทหารใช้เป็นพาหนะในการทำสงคราม ซึ่งมักจะเรียกอย่างให้เกียรติว่า ช้างศึกและม้าศึก

ในกรณีการทำสงครามที่บ้านบางระจัน เมื่อปี พ.ศ. 2309 ซึ่งมีกลุ่มชาวบ้านผู้รักชาติ ได้รวมพลังกัน ด้านทัพพม่าข้าศึกไว้ เพื่อไม่ให้เข้าจู่โจม ถึงอยุธยาวังหลวง สำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์ ก็จะระดมจัดหาเท่าที่จะจัดหาได้ ส่วนช้างศึกหรือม้าศึกที่จะนำทัพพม่าก็ไม่มี เนื่องจากกลุ่มชาวบ้านส่วนใหญ่ เป็นชาวนาผู้หากินอยู่กับท้องทุ่ง ซึ่งสืบต่อมาจากบรรพบุรุษมาช้านาน และในยามคับขันก็มองเห็นแต่เจ้าทุย ควายไทยที่เป็นเพื่อนยากเท่านั้น ที่ไถนา คราด ลากขน ทำไร่ ทำนา ซึ่งร่วมทุกข์ ร่วมสุขกันมา นายทองเหม็น ผู้กล้าแห่งบางระจัน จึงใช้ควายเป็นพาหนะในการทำศึกสงคราม โดยเขา ได้ขี่ควายตะลุยข้าศึก เพื่อยันทัพไว้ ให้พี่น้องชาวบางระจันส่วนอื่นปลอดภัย ในที่สุดเขาก็ตายพร้อมควาย ซึ่งในเวลาต่อมาพวกเราก็ยกย่องพวกเขาว่า "วีรชนแห่งบางระจัน" ส่วนควายก็ไม่ปรากฏชื่อแต่อย่างใด คนไทยก็สำนึกในบุญคุณว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย จนต่อมาได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของควายอยู่ร่วมกับกลุ่มวีรชนแห่งบางระจันด้วย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ควายไทยที่เป็นพาหนะของนายทองเหม็นในการออกศึก รวมทั้งควายตัวอื่น ๆ ในเหตุการณ์สมควรยกย่องว่าเป็น "ควายศึกแห่งบางระจัน"

ในส่วนของการถ่ายทอดและบันทึกวีรกรรมที่บางระจันมีให้เห็นในแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นละครและภาพยนต์เรื่อง บางระจัน ก็โด่งดังจากการทุ่มทุนสร้างอย่างมหาศาล และจินตนาการเรื่องอิงประวัติศาสตร์ชวนให้ติดตามชม ตลอดจนการทุ่มทุนสร้างการแสดง จึงสามารถคว้ารางวัลภาพยนต์ยอดเยี่ยม ประจำปี 2544 และเป็นข่าวเกรียวกราวมากที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่องราวของ บุญเลิศ ฆ้องทอง ควายเพศผู้อายุกว่า 30 ปี จากท้องทุ่ง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นคือ เขายาวประมาณ 3 เมตร ที่กองถ่ายภาพยนต์เรื่อง บางระจัน นำมาร่วมแสดงเป็น ควายศึก คู่ใจของนายทองเหม็น แต่เมื่อบุญเลิศ ล้มป่วยหลังจากเสร็จสิ้นการถ่ายภาพยนต์ ทำให้ คนทั่วประเทศสนใจมากขึ้น แม้ทีมงานสัตวแพทย์ที่ให้การรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ แต่ชีวิตของควายชรา ผู้สวมบทควายศึก ก็จบลงอย่างเวทนา นับว่าเป็นโศกนาฏกรรมหรือเคราะห์ร้ายของ "บุญเลิศ ฆ้องทอง"

จากการเสียชีวิตของบุญเลิศ นับว่าเป็นเรื่องดีของลูกหลานควาย เนื่องจากทำให้คนทั่วไปสนใจเรื่องควายมากขึ้น ได้รับรู้เรื่อง ราวความกล้าหาญของควาย ได้รับรู้บุญคุณของควายไทย และมีความเมตตา สงสารต่อควายไทย โดยมีการร่วมกันบริจาคและจัดตั้ง "กองทุนอนุรักษ์ควายไทย" ซึ่งอย่างน้อย การตายของบุญเลิศก็สามารถกระตุ้นจิตสำนึกของคนไทยให้เห็นคุณค่าของสัตว์พื้นเมืองไทย และเห็นคุณค่าของควาย ทั้งช่วยให้การทำงานด้านส่งเสริมและอนุรักษ์ควายไทยได้ง่ายขึ้น

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ควายไทย ซึ่งมีอยู่หลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตกระบือและโค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์หลากหลายทางชีวภาพ (ศลช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งทุกหน่วยงานก็มีความตระหนัก ร่วมกันว่าจำนวนกระบือในประเทศไทยลดลงอย่างมากและลดลงอย่างรวดเร็ว หากไม่ร่วมกันอนุรักษ์ควายไทยไว้ อนาคตควายไทยอาจสูญพันธุ์ อย่างแน่นอน

ตำนานควายบุญเลิศ ที่"บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์"ขี่เล่นหนัง บางระจัน

โดยในส่วนของกรมปศุสัตว์ มีเป้าหมายในการชลอการลดจำนวนกระบือ โดยการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงกระบือ ให้มีการกระจายการเลี้ยงมากขึ้น รวมทั้งมีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ให้ตระหนักถึงคุณค่าของกระบือต่อเกษตรกรและต่อประเทศชาติ ทั้งยังจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทยขึ้น ไม่ว่าจะเป็น หมู่บ้านอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทยบ้านปันรัว จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ จากการประกวดหมู่บ้านอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทยในปี 2543 โครงการอนุรักษ์และพัฒนาการเลี้ยง โค-กระบือพื้นเมืองแบบยั่งยืนจังหวัดยโสธร และโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ซึ่งทางกรมฯ ได้ดำเนินการ ให้เกษตรกรที่ยากจนมีกระบือไว้เลี้ยงขยายพันธุ์และใช้งาน โดยดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 รวมทั้งได้มีการจัดงานกระบือแห่งชาติ ซึ่งจัดมาตั้งแต่ปี 2538 โดยจัดงานดังกล่าวติดต่อกันมาทุกปี จนถึงปี 2544 จะจัดเป็นครั้งที่ 7 ณ สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2544 งานในครั้งนี้จัดยิ่งใหญ่มาก เพราะจะมีการประกวดควายไทย 3 รุ่น คือ พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ และควายรุ่นเพศผู้ เพื่อชิงแชมป์ควายแห่งประเทศไทย จากการจัดงานครั้งนี้ ทำให้เกิดแนวร่วมอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์กระบือ และสามารถชะลอ การลดจำนวนของกระบือไว้ ทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจกับผู้เลี้ยงกระบือให้มีความมั่นใจ รวมถึงความมั่นคงจากการพัฒนา และเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระบือ

การจัดงานครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พร้อมด้วยสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้เข้ามาร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ อย่างเต็มที่ และพร้อมกันนี้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ร่วมจัดงานต่างยืนยันว่า ผลพวงจากการตายของบุญเลิศ จะคงไว้ซึ่งลูกหลานและเผ่าพันธุ์ของ กระบือไทย ให้ยั่งยืนคู่แผ่นดินไทยอย่างแน่นอน

#แอดมินจิระเดช

ตำนานควายบุญเลิศ ที่"บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์"ขี่เล่นหนัง บางระจัน

ตำนานควายบุญเลิศ ที่"บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์"ขี่เล่นหนัง บางระจัน

 

ตำนานควายบุญเลิศ ที่"บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์"ขี่เล่นหนัง บางระจัน

>> Hot Sale ลาซาด้า ยกขบวนสินค้า ลดกระหน่ำทุกรายการ สูงสุด 90% <<