สื่อนอกตีข่าว "ไทย" พบ "โรคอหิวาต์แอฟริกาหมู" ในโรงเชือดนครปฐม

เรียกว่าสื่อนอกถึงขั้นตีข่าว "ประเทศไทย" พบ "โรคอหิวาต์แอฟริกาหมู" ในโรงเชือดนครปฐม ท่ามกลางกระแสพยายามปิดข่าว

รอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 11 ม.ค. ว่า ทั้งนี้ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าเจ้าหน้าที่ไทยได้เริ่มต้นการสอบสวนหลังจากก่อนหน้ามีความสงสัยไปทั่วว่าโรคอหิวาต์แอฟริกาหมู (African swine fever : ASF) นั้นทำให้หมูเสียชีวิตไปแล้วท่ามกลางข่าวลือว่ามีความพยายามปิดข่าว

โดยก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ไทยพยายามออกมาอ้างว่าสาเหตุที่ทำให้หมูตายเกิดมาจากโรคอื่นคือ โรคอาร์อาร์เอส (PRRS) (porcine reproductive and respiratory syndrome ) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร ทําให้แม่สุกรแท้ง ลูกตายแรกคลอดสูง

ทั้งนี้ พบว่ามี 1 ตัวอย่างจากทั้งหมด 309 ตัวอย่างที่ถูกเก็บรวบรวมได้จากสุกรใน 10 ฟาร์ม และการเก็บตัวอย่างที่โรงฆ่าสัตว์ 2 แห่งในกลุ่มจังหวัดที่มีการเลี้ยงหมู อ้างอิงจาก อธิบดีกรมปศุสัตว์ สรวิศ ธานีโต (Sorravis Thaneto) โดยเขากล่าวอีกว่า ทางการไม่ได้ปิดบังและทำตามกระบวนการทุกขั้นตอน และหากว่ามีการพบจะต้องมีการประกาศให้ทราบเนื่องจากเป็นไปตามขั้นตอน
สื่อนอกตีข่าว "ไทย" พบ "โรคอหิวาต์แอฟริกาหมู" ในโรงเชือดนครปฐม

เราพบ 1 ตัวอย่างที่ถูกตรวจพบว่ามีผลเป็นบวกสำหรับโรคอหิวาต์แอฟริกาหมูรอยเตอร์รายงานว่าอธิบดีกรมปศุสัตว์ สรวิศ กล่าวในงานแถลงข่าววันอังคาร ที่ 11 และเขาประกาศที่จะตามหาต้นตอของโรค

รอยเตอร์ชี้ว่า การยืนยันครั้งแรกในวันอังคาร ที่ 11 เกิดขึ้นหลังเจ้าหน้าที่ไทยในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาปฏิเสธถึงการระบาดระดับท้องถิ่นที่ได้ระบาดไปทั่วทั้งยุโรปและเอเชียเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา และทำให้มีสุกรจำนวนหลายแสนตัวเสียชีวิต

ทั้งนี้ เมื่อไม่กี่วันมานี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แถลงว่า ในเดือนที่ผ่านมาห้องแล็บวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยค้นพบโรคอหิวาต์แอฟริกาหมูในหมูที่ตายแล้วซึ่งถือเป็นรายงานครั้งแรกในไทย
 

ด้าน อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่จะประกาศเขตโรคระบาดภายในรัศมี 5 กิโลเมตรจากที่ตัวอย่างถูกพบ จำกัดการเคลื่อนที่ของสุกร และพิจารณาการฆ่าสุกรที่คาดว่าอาจติดเชื้อ รวมไปถึงจ่ายเงินเยียวยาให้ฟาร์มหมูที่ได้รับผลกระทบ

สื่อนอกตีข่าว "ไทย" พบ "โรคอหิวาต์แอฟริกาหมู" ในโรงเชือดนครปฐม

นอกจากนี้ ไทยจะทำการแจ้งต่อองค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organisation for Animal Health (OIE) ต่อไปสำหรับการค้นพบโรคอหิวาต์แอฟริกาหมูอย่างเป็นทางการในไทย

ทั้งนี้ ในวันอังคาร ที่ 11 คณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้อนุมัติงบเยียวยา 574 ล้านบาท หรือ 17.15 ล้านดอลลาร์ให้กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงหมูรายย่อยใน 56 จังหวัดที่มีการสั่งฆ่าหมูเพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาหมู และโรคอื่นๆ ในปีที่ผ่านมา

แต่ทว่าเกษตรกรเกือบ 5,000 รายยังคงไม่ได้รับการเยียวยาสำหรับหมูที่ถูกสั่งกำจัดไประหว่างมีนาคม-ตุลาคมปีที่แล้ว อ้างอิงจากโฆษกรัฐบาล

สื่อนอกตีข่าว "ไทย" พบ "โรคอหิวาต์แอฟริกาหมู" ในโรงเชือดนครปฐม

ขอบคุณข้อมูล : รอยเตอร์