คนละครึ่งเฟส 4 คลังจ่อขยายเวลาใช้สิทธิได้นานถึง 3 เดือน

ความคืบหน้า โครงการคนละครึ่งเฟส 4 คลังจ่อขยายเวลาใช้สิทธิได้นาน 3 เดือน พร้อมเลื่อนใช้มาตรการเดินหน้าเร็วขึ้น เป็นวันที่ 21 ก.พ. 65 หวังช่วยบรรเทาค่าครองชีพประชาชน

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 65 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง เปิดเผยความคืบหน้า โครงการคนละครึ่งเฟส 4 ที่จะปรับเวลาการเริ่มโครงการให้เร็วขึ้นนั้น ยังเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในสัปดาห์นี้ไม่ทัน เนื่องจากอยู่ระหว่างสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ พิจารณาเรื่องการใช้เงินก่อน โดยโครงการคนละครึ่ง เฟส 4 ต้องใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก. เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเยียวยาเศรษฐกิจ 5 แสนล้านบาท ซึ่ง สศช. ต้องพิจาณาเห็นชอบก่อน

 

คนละครึ่งเฟส 4 คลังจ่อขยายเวลาใช้สิทธิได้นานถึง 3 เดือน

 

ทั้งนี้ การปรับเวลาโครงการ คนละครึ่งเฟส 4 จากเดิมจะเริ่มวันที่ 1 มี.ค.-30 เม.ย. 2565 ให้เร็วขึ้นเป็นลงทะเบียนยืนยันตัวตนในวันที่ 14 ก.พ. และเริ่มใช้วงเงินได้ 21 ก.พ. 65 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาสินค้าแพง ถือว่าเป็นไม่ได้ช้าเกินไป เนื่องจากต้องมีการขั้นตอนที่เตรียมการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการปฏิบัติมาภายหลัง

ขณะที่ด้าน นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.การคลัง เผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าอาจจะยืดระยะเวลาดำเนินโครงการคนละครึ่งเฟส 4 ไปเป็น 3 เดือน จากเดิมกำหนดไว้ 2 เดือน รวมถึงหารือเกี่ยวกับเงื่อนไขการดำเนินโครงการทั้งหมด ซึ่งอาจจะไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่ในหลักการต้องพิจารณาตามสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยรายละเอียดทั้งหมดยังต้องรอสรุปให้เรียบร้อยก่อน

 

คนละครึ่งเฟส 4 คลังจ่อขยายเวลาใช้สิทธิได้นานถึง 3 เดือน


ส่วนกรณีที่จะมีการใส่วงเงินเข้าไปในโครงการคนละครึ่งเฟส 4 จำนวน 1,000 หรือ 1,500 บาท หรือไม่นั้น มองว่าจะต้องประเมินตามสถานการณ์ หากสถานการณ์โอมิครอนยังอ่อนไหว คลังก็พร้อมจะขยายระยะเวลาของมาตรการ และเพิ่มวงเงินเข้าไปให้อัตโนมัติ โดยช่วงแรกอาจให้ก้อนหนึ่งก่อนหากจำเป็นก็ใส่เงินเพิ่มได้เหมือนครั้งก่อน แต่ถ้าสถานการณ์โอมิครอนคลี่คลายก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มวงเงินหรือขยายระยะเวลา

ทั้งนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะเช่นนี้มาตรการที่จะมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ การช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้ประชาชน ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการผ่านมาตรการคนละครึ่ง ซึ่งมีประชาชนได้ประโยชน์กว่า 28 ล้านคน ช่วยให้การบริโภคของประชาชนโดยเฉพาะในระดับฐานรากดีขึ้น