เช็ก 9 อาการป่วยโอไมครอนในเด็ก สัญญาณอันตรายแบบไหน ที่ต้องเฝ้าระวัง

เช็ก 9 อาการป่วยโอไมครอนในเด็ก สัญญาณอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง พบ 15% มีอาการผื่นขึ้นอย่างผิดปกติ อุณหภูมิ-อัตราชีพจรสูงมาก

สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ที่กำลังลุกลามอย่างหนักในหลายประเทศตอนนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กันคือ ความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดของเด็กที่มีมากขึ้น แต่เนื่องจากเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีหลายคน ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน 

 

เช็ก 9 อาการป่วยโอไมครอนในเด็ก สัญญาณอันตรายแบบไหน ที่ต้องเฝ้าระวัง

 

ทั้งนี้ เดอะซัน สื่อของอังกฤษ รายงานว่า เด็กไม่เสี่ยงติดโรคโควิดขั้นรุนแรง แต่หากยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ทำให้ไร้การป้องกันเชื้อไวรัส ซึ่งมีแนวโน้มเป็นพาหะของไวรัสส่งต่อไปยัง ครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง และที่โรงเรียน ขณะที่รายงานก่อนหน้านี้อ้างว่า โอไมครอน อาจแตกต่างกันเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ ซึ่งระบบสาธารณสุขประจำประเทศอังกฤษ (National Health Service: NHS) ระบุอาการหลักของโควิดในเด็กและผู้ใหญ่ ดังนี้

- อุณหภูมิสูง

- การไอต่อเนื่องครั้งใหม่ หมายถึง การไอมากเกิน 1 ชั่วโมง หรือไอ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง

- สูญเสียหรือเปลี่ยนประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นหรือรส

- เมื่อยล้า

- คัดจมูก น้ำมูกไหล

- ปวดหัว

- เจ็บคอ

- เบื่ออาหาร

- ปวดเมื่อยตามร่างกาย

ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญที่ ZOE ได้รวบรวมอาการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ในอังกฤษ มักมีผื่นขึ้นตามร่างกายอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ลมพิษ ผดร้อน และชิลเบลนส์อาการผื่น ซึ่งส่วนใหญ่พบในเด็ก


ด้าน ดร.แองเจลิค โคเอทซี ประธานสมาคมการแพทย์แห่งแอฟริกาใต้ เปิดเผยว่า อาการหลักของโอไมครอน ที่พบในชายหนุ่ม คือ ความเหนื่อยล้า ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนกรณีของเด็กหญิงอายุ 6 ขวบ จะมีอุณหภูมิและอัตราการเต้นของชีพจรสูงมาก

 

เช็ก 9 อาการป่วยโอไมครอนในเด็ก สัญญาณอันตรายแบบไหน ที่ต้องเฝ้าระวัง

 

ด้าน ดร.เดวิด ลอยด์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป โรงพยาบาลแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของลอนดอน เผยว่า เด็กทั้งหมดที่เขาได้รับการรักษานั้น ยืนยันว่าอาการของไวรัสโควิดแตกต่างกับ โอไมครอน ประมาณ 15% ซึ่งมีอาการผื่นขึ้นผิดปกติ มีอาการอ่อนแรง ปวดหัว และเบื่ออาหาร ซึ่งคล้ายกับอาการต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่

ซึ่งทั้งหมดสอดข้องกับข้อมูลในประเทศของ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้ข้อมูลไว้ว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ อัตราป่วยนอนโรงพยาบาลในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปีลงมานั้นอยู่ในระดับพอกันระหว่าง โอไมครอน และเดลตา ซึ่งย้ำเตือนว่า กลุ่มเด็กเล็กนั้นควรได้รับการดูแลป้องกัน เนื่องจากยังไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ในช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้ช่วงวัย 5-11 ปี จะเพิ่งมีวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้ แต่ทั่วโลกคงต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าจะเข้าถึงได้อย่างครอบคลุม


ขณะทางด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า อาการโควิดในเด็ก จะมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ โดยสมัยก่อนเด็กจะมีภาวะ "โรคคาวาซากิ" เป็นโรคที่มีการอักเสบทั้งร่างกาย หัวใจ และเส้นเลือดหัวใจ ทำให้มีลักษณะ เป็นผื่น ลิ้นแดง เป็นตุ่มลิ้นสาก และ ช็อกได้ หรือ มีภาวะเส้นเลือดหัวใจอักเสบอุดตัน ซึ่งหากในผู้ใหญ่ จะไม่ออกอาการที่มีผื่นให้เห็น แต่อวัยวะภายในถูกกระทบคล้ายๆกัน

 

สำหรับอาการที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ แบ่งเป็น 3 ประการ คือ

1. อาการทางระบบทางเดินหายใจ

2. อาการนอกระบบทางเดินหายใจ เช่น ปวดศรีษะ ตัวร้อน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ท้องเสีย และมีอาการทางหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ หรือ ความดันโลหิตตก 

3. มีอาการทั้งสองอย่างปนกัน 

 

ขอบคุณข้อมูล The Sun Chroniclelive