สิ้น "ดร.แถมสุข นุ่มนนท์" เจ้าของผลงาน เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

สิ้น "ดร.แถมสุข นุ่มนนท์" นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง เจ้าของผลงาน เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และหนังสือดังอีกจำนวนมาก

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ส.ศิวรักษ์ โพสต์ไว้อาลัยการเสียชีวิตของ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ นักประวัติศาสตร์เจ้าของผลงานชื่อดังอย่าง หนังสือเรื่อง เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่ง ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ เสียชีวิตแล้วในปี 2565 

ส.ศิวรักษ์ โพสต์ถึง "ดร.แถมสุข นุ่มนนท์" ว่า

 

สิ้น "ดร.แถมสุข นุ่มนนท์" เจ้าของผลงาน เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

 

แด่ แถมสุข นุ่มนนท์ ( 21 มิถุนายน 2478 - 1 กุมภาพันธ์ 2565)

แถมสุข นุ่มนนท์ เป็นลูกสาวของ ร.ต.ถัด รัตนพันธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะ ร.ศ. 130 กับนางแส (สกุลเดิม ณ พัทลุง) 

เธอเรียนจบจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยลอนดอน  กลับมาทำงานเป็นอาจารย์สอนประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยถึง 3 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และศิลปากร ตามลำดับ

แถมสุขเป็นนักประวัติศาสตร์คนสำคัญของไทย งานเขียนของเธออาจจะมีไม่มาก แต่ทุกชิ้นมีความปราณีต เชื่อถือได้  และทราบมาว่า ในช่วงที่ผ่านมา เธอปรับปรุงหนังสือถึง 2 เล่ม เตรียมพิมพ์เผยแพร่อีกครั้ง คือ "ยังเติร์กรุ่นแรก : กบฏ ร.ศ. 130" และ "ละครการเมือง : 24 มิถุนายน 2475"

เธอได้สมรสกับสุรัตน์ นุ่มนนท์ ซึ่งก็เป็นนักวิชาการคล้ายๆ กัน  สุรัตน์เป็นอาจารย์ในทางวิชาสื่อสารมวลชน จนได้เป็นคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ส่วนแถมสุขก็เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งยังเป็นครูที่ลูกศิษย์รัก เป็นนักวิชาการที่เขียนหนังสือเป็นที่เชื่อถือได้

น่าเสียดายที่เธอมาจากไปก่อน แต่การที่เธอจากไปอย่างกะทันหันนี้ เธอก็ไม่ทรมาน เชื่อว่าเธอย่อมไปสู่สุคติ และคงได้ไปพบสุรัตน์สมความมุ่งหมาย

ส.ศิวรักษ์
1-2-65

 

สิ้น "ดร.แถมสุข นุ่มนนท์" เจ้าของผลงาน เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

 

 

โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ แถมสุข นุ่มนนท์ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักประวัติศาสตร์ชาวไทย ผู้ซึ่งมีผลงานจากหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เช่น เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ,ขบวนการ ร.ศ. 130 , ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองและละครการเมือง : 24 มิถุนายน 2475

 

สิ้น "ดร.แถมสุข นุ่มนนท์" เจ้าของผลงาน เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

 

ขอบคุณ Sulak Sivaraksa