เช็กลิสต์สิ่งของจำเป็น หากป่วยโควิดต้องเข้า Hospitel ควรพกอะไรไปบ้าง

เช็กลิสต์สิ่งของจำเป็น หากป่วยโควิด-19 ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ควรเตรียมสิ่งใดไปบ้าง

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศไทยตอนนี้ โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมตัวสำหรับใครที่จำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ควรมีการเตรียมสิ่งใดไปบ้าง

 

เช็กลิสต์สิ่งของจำเป็น หากป่วยโควิดต้องเข้า Hospitel ควรพกอะไรไปบ้าง

สิ่งของจำเป็นที่ควรเตรียมไปโรงพยาบาลสนาม และ Hospitel


- เอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน/หนังสือเดินทาง ผลตรวจโควิดแบบ RT-PCR (ถ้ามี) บัตรประกัน หรือเอกสารยืนยันการทำประกันโควิด (ถ้ามี)


- เสื้อผ้า ควรเตรียมไปให้พอดี โดยเฉพาะชุดชั้นใน ควรเตรียมไปให้ครบ 14 วัน (หากอาการไม่รุนแรงอาจได้พักรักษาอยู่แค่ 7-10 วัน แล้วกลับมา Home Isolation ที่บ้าน)


- โทรศัพท์มือถือ พร้อมที่ชาร์จ รวมถึงเบอร์ติดต่อบุคคลสำคัญ


- ยารักษาโรคประจำตัว (ถ้ามี) รวมถึงบัตรนัดที่มีชื่อแพทย์โรงพยาบาลที่รักษาเป็นประจำ


- เงินสดเล็กน้อย, บัตรเอทีเอ็ม, บัตรเดบิต, บัตรเครดิต


- ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ผ้าเช็ดตัว ไดร์เป่าผม แก้วน้ำ ช้อน-ส้อม


- หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ


- อุปกรณ์วัดไข้ วัดออกซิเจนในเลือด หรือเครื่องวัดความดัน (ถ้ามี)


- อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน ฟองน้ำล้างจาน น้ำยาฆ่าเชื้อ


- อุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น ปลั๊กพ่วง หัวต่อปลั๊กสามตา (บางที่เป็นเต้าเสียบแบบ 2 ช่อง ควรเตรียมไปเผื่อ) แบตเตอรี่สำรอง ไฟฉาย


- ของใช้-ของเล่น เอาไว้ช่วยแก้เบื่อ คลายเครียด เช่น โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต หูฟัง หนังสือ เป็นต้น 


- ขนม อาหารสำเร็จรูป กรณีไม่ให้สั่งอาหารข้างนอก


- ถุงผ้าอเนกประสงค์ หรือถุงพลาสติก เพื่อใส่ของที่จำเป็น


- ผ้าเช็ดตัว ไม้แขวนเสื้อ (กรณีรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม)

 

เช็กลิสต์สิ่งของจำเป็น หากป่วยโควิดต้องเข้า Hospitel ควรพกอะไรไปบ้าง

อย่างไรก็ตาม สิ่งของจำเป็นที่เสนอให้ไว้ใช้สำหรับกักตัวรักษาโควิด-19 ของใช้บางชิ้นอาจไม่จำเป็นต้องพกติดตัวไป ควรติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจนก่อน เพื่อความสะดวกในการลำเลียงสัมภาระและป้องกันการสูญหายหากต้องใช้ห้องพักร่วมกับผู้อื่น และสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว คือ บัตรนัดที่ระบุชื่อแพทย์ในโรงพยาบาลที่รักษาเป็นประจำ เนื่องจากหากเกิดกรณีฉุกเฉิน หรือภาวะแทรกซ้อน เมื่อเข้ารับการรักษา แพทย์เจ้าของไข้จะได้ปรึกษาเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม