"หมอมานพ" เล่าสาเหตุใหลตาย แม้อายุน้อย พร้อมเผยวิธีป้องกัน

"หมอมานพ" หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เล่าสาเหตุใหลตาย แม้อายุน้อย พร้อมเผยวิธีป้องกัน ใครมีญาติเป็น แนะรีบตรวจทันที

จากกรณีการที่นักแสดงดาวรุ่ง บีม ปภังกร ดาราเสียชีวิตอย่างกะทันหัน หลังจากที่เจ้าตัวนอนหลับไป ทางญาติพยายามปลุกแต่ไม่ตื่น จึงได้นำตัวส่งโรงพยาบาล ทีมแพทย์พยายามกู้ชีพแล้วแต่ไร้ปาฏิหาริย์ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าเป็นภาวะใหลตาย

"หมอมานพ" เล่าสาเหตุใหลตาย แม้อายุน้อย พร้อมเผยวิธีป้องกัน ใครมีญาติเป็น แนะรีบตรวจทันที

ต่อมา นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความรู้ผ่านทวิตเตอร์@manopsi ระบุว่า หลังเห็นข่าว (บีม ปภังกร ) อยากให้เห็นความสำคัญของภาวะ "ใหลตาย" (SUDS) ซึ่งพบบ่อยในคนเอเชีย สาเหตุสำคัญคือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง (Malignant Arrhythmia) ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากโรคพันธุกรรม มีกลายพันธุ์ของยีนหลายชนิด ปัจจุบันวินิจฉัยได้ด้วย Next generation sequencing (NGS)

การชันสูตรหาเหตุการเสียชีวิตปัจจุบันสามารถทำได้โดยการเก็บเลือดไปสกัดดีเอ็นเอ แล้วตรวจ NGS เพื่อหายีนกลายพันธุ์ที่ก่อโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Molecular Autopsy) จะเป็นประโยชน์ในการสรุปเหตุการเสียชีวิต และหาสมาชิกครอบครัวที่อาจมีการกลายพันธุ์ แต่ยังไม่มีอาการเพื่อให้การป้องกัน
"หมอมานพ" เล่าสาเหตุใหลตาย แม้อายุน้อย พร้อมเผยวิธีป้องกัน ใครมีญาติเป็น แนะรีบตรวจทันที

ยีนก่อโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัจจุบันมีกว่า 50 ยีน สามารถตรวจได้ในคราวเดียวด้วย NGS เมื่อพบคนที่มีการกลายพันธุ์แล้ว บางยีนสามารถป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะได้โดยการใช้ยา และทุกชนิดสามารถป้องกันได้โดยการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (AICD )

กรณีการเสียชีวิตของ บีม ปภังกร นั้น การตรวจหายีนกลายพันธุ์ที่ก่อโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะช่วยหาเหตุการเสียชีวิตและค้นหาสมาชิกครอบครัวที่เสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งข้อมูลการศึกษาคนไทยที่ใหลตาย การชันสูตรพลิกศพและตรวจหายีนกลายพันธุ์ที่ก่อโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะพบสาเหตุการเสียชีวิตถึง 81%

"หมอมานพ" เล่าสาเหตุใหลตาย แม้อายุน้อย พร้อมเผยวิธีป้องกัน ใครมีญาติเป็น แนะรีบตรวจทันที

ยีนก่อโรคใหลตายมีหลายยีน แม้บางโรคจะรู้จักกันดีเช่น Brugada Syndrome แต่ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่พบว่าไม่ได้เกิดจากยีนก่อโรคนี้ ยังมียีนก่อโรคอื่นที่พบได้ เช่น กลุ่มอาการระยะคิวทียาว  (Long QT), โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (Cardiomyopathy), ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาผิดปกติ (Arrhythmogenic Right Ventricular Dysplasia) เป็นต้น

นอกจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแล้ว มีโรคพันธุกรรมอื่นที่ก่อให้เกิดหัวใจหยุดเต้นหรือเสียชีวิตเฉียบพลันได้คล้ายใหลตาย เช่น มาร์แฟนซินโดรม (Marfan Syndrome), หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาแตก (Aortic Rupture), ลิ่มเลือดอุดตันในปอดจาก ภาวะเกิดลิ่มเลือดง่ายผิดปกติ Thrombophilia), เส้นเลือดหัวใจอุดตันจาก โรคไขมันในเลือดสูงทางพันธุกรรม (Familial Hypercholesterolemia) ซึ่งการตรวจศพจะบอกได้

"หมอมานพ" เล่าสาเหตุใหลตาย แม้อายุน้อย พร้อมเผยวิธีป้องกัน ใครมีญาติเป็น แนะรีบตรวจทันที

ขอบคุณข้อมูล : @manopsi