"อ.เจษฎ์"ตอบชัดๆ สวอปจมูก บ่อยๆ เป็นอันตรายต่ออายุขัยจริงหรือไม่

"อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความ

"อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ระบุข้อความว่า 

รายการ #ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว EP.46 ตอน "ตรวจโควิด แบบสวอปจมูก อันตรายจริงหรือ ?"

มีการแชร์ข้อความกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ บอกว่า "การ Swab จมูกตรวจโควิด ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ" !? เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง หรือเรื่องมั่ว ครับ ?

"อ.เจษฎ์"ตอบชัดๆ สวอปจมูก บ่อยๆ เป็นอันตรายต่ออายุขัยจริงหรือไม่

เรื่องนี้เป็นเรื่องมั่วนะครับ !! แต่ยังวนเวียนกลับมาแชร์กันกันอยู่เรื่อยๆ ! จริงๆ ก็เคยโพสต์อธิบายไปอย่างละเอียดแล้วหลายครั้ง ว่าแหล่งที่มาของข่าวปลอมที่แชร์กันนี้ไม่น่าเชื่อถืออย่างไรบ้าง มีจุดผิดตรงไหนบ้าง (คลิก)

และถ้าเป็นชุดตรวจ ATK แบบ home use ใช้เองที่บ้านนั้น ยิ่งไม่ต้องกังวลเลย เพราะมันแหย่เข้าจมูกไปแค่นิ้วเดียวเอง ไม่ได้จะไปทำอันตรายอะไรถึงเซลล์หรือเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูกครับ

ลองฟังเพิ่มเติมจาก ที่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งชาติ ตรวจสอบกับ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นะครับ

"อ.เจษฎ์"ตอบชัดๆ สวอปจมูก บ่อยๆ เป็นอันตรายต่ออายุขัยจริงหรือไม่

(คำอธิบายจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม)

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลประเด็นเรื่อง "การสอดไม้ Swab ลึกถึงเพดานจมูก ทำให้เส้นประสาทรับกลิ่นเสียหาย และส่งผลเสียต่อสุขภาพ" .... กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ !!

ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ระบุว่า "การสอดไม้ Swab เข้าไปกว้านลึกถึงเพดานจมูกสามารถสร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อพังผืดที่ห่อหุ้ม Olfactory Nerve ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและอายุขัยของมนุษย์ เนื่องจาก olfactory nerve เป็นปราการด่านหนึ่งในสองของกะโหลกศีรษะซึ่งเชื่อมระหว่างโพรงจมูกกับสมอง ที่ไวรัสและแบคทีเรียสามารถเดินทางข้าม blood-brain barrier เข้าสู่สมองได้ นอกจากนี้ olfactory nerve ยังเป็นเซลล์ชนิดเดียวในกะโหลกศีรษะที่มี stem cells เรียกว่า olfactory ensheathing cells ที่ล้อมรอบเซลล์รับกลิ่น olfactory sensory axons ส่วนที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท neuron ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาทจากเซลล์ร่างกาย พวกมันทำหน้าที่ปกป้อง olfactory nerve และช่วยการสร้างเซลล์ใหม่เมื่อเกิดความบาดเจ็บเสียหาย"

ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวและชี้แจงว่า "การสอดไม้เข้าไปในจมูกมีโอกาสขึ้นไปที่ตำแหน่งของเส้นประสาทรับกลิ่นได้จริง แต่ไม่สร้างความเสียหายต่อเส้นประสาทมากอย่างที่กังวล ปัจจุบัน ก็ยังไม่พบหลักฐานว่าการสวอปทำให้เส้นประสาทรับกลิ่นเสียหายจนสูญเสียการรับกลิ่น "

"อย่างไรก็ตาม การสวอปควรทำให้ถูกวิธีโดยการแหย่เข้าไปตามแนวของพื้นจมูกเพื่อให้เข้าไปยังบริเวณโพรงหลังจมูก ซึ่งมีโอกาสเจอเชื้อโรคได้มาก ซึ่งจะไม่โดนตำแหน่งของเส้นประสาทนี้อยู่แล้ว"

"มีข้อควรระวังที่สำคัญคือในกรณีที่คนไข้เคยได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับฐานสมอง หรือเคยผ่าตัดซ่อมฐานสมองมาก่อน อาจจะไม่มีกระดูกคอยป้องกันเหมือนกับคนที่ยังไม่เคยผ่าตัด ดังนั้นควรให้แพทย์หูคอจมูกหรือแพทย์ที่ชำนาญเป็นผู้ทำการสวอปเอง"

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การสอดไม้เข้าไปในจมูก มีโอกาสขึ้นไปที่ตำแหน่งของเส้นประสาทรับกลิ่นได้จริง แต่ไม่สร้างความเสียหายต่อเส้นประสาทมากอย่างที่กังวล ปัจจุบันก็ยังไม่พบหลักฐานว่าการสวอปทำให้เส้นประสาทรับกลิ่นเสียหายจนสูญเสียการรับกลิ่น