ฝีดาษลิง ติดต่อทางไหนได้บ้าง หากพบเชื้อเป็นผู้ป่วยยืนยัน ต้องกักตัวกี่วัน

กระทรวงสาธารณสุข เผยอาการฝีดาษลิงเป็นอย่างไร สามารถติดต่อทางไหนได้บ้าง หากพบเชื้อเป็นผู้ป่วยยืนยัน ต้องรักษากักตัวกี่วัน

จากกรณี โรคฝีดาษวานร หรือ โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ที่กำลังระบาดอีกครั้งหนึ่งในแถบทวีปยุโรปและแอฟริกา ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก หรือ WHO คาดการณ์ว่าจะพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก ขณะที่ทางด้านประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (EOC) กรณีโรคฝีดาษลิง เพื่อเฝ้าระวังคัดกรองผู้เดินทางจากประเทศที่มีการระบาด เพื่อตรวจจับกลุ่มเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาดในประเทศ

 

ฝีดาษลิง ติดต่อทางไหนได้บ้าง หากพบเชื้อเป็นผู้ป่วยยืนยัน ต้องกักตัวกี่วัน

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้นิยามผู้ป่วยสงสัยฝีดาษวานร จะมี 2 ส่วนหลักๆ คือ อาการแรกมีไข้  ร่วมด้วยเจ็บคอ หรืออาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต โดยต้องร่วมกับอาการทางระบาดวิทยากำหนด 


ส่วนอาการที่สอง คือ มีผื่นตุ่มนูน ผื่นกระจายตามใบหน้า ลำตัว แขนขา แต่ลำตัวจะเล็กน้อย ตรงเอว ไม่มาก ลักษณะจะเป็นผื่นก่อน และตุ่มนูน เปลี่ยนเป็นน้ำใส ปรับเป็นตุ่มหนอง และตกสะเก็ด บวกกับประวัติทางระบาดวิทยา โดยประวัติที่เชื่อมโยงทางระบาดวิทยาภายใน 21 วันที่ผ่านมา ประกอบด้วย 3 ข้อหลักๆ


1. ประวัติเดินทางมาจากหรืออาศัยอยู่ในประเทศที่มีการรายงานการระบาดของโรคฝีดาษวานรภายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันนอกเหนือจากแอฟริกา ยังมีแคนาดา สเปน โปรตุเกส และอังกฤษ ที่มีการระบาดภายในประเทศ 21 วัน


2. ประวัติร่วมกิจกรรมในงานที่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร หรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสคลุกคลีกับผู้เดินทางจากต่างประเทศเป็นประจำ โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยงการระบาดฝีดาษวานร


3. ประวัติสัมผัสใกล้ชิดสัตว์ป่าประเภทสัตว์ฟันแทะ ลิง หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นำเข้าจากทวีแอฟริกา ทั้งนี้ ต้องย้ำว่า ฝีดาษวานร แม้เป็นลิง แต่สัตว์ป่าที่แพร่โรคจะมีสัตว์ฟันแทะชนิดอื่น ทั้งหนู หรือลิง แต่ต้องเป็นสัตว์นำเข้าจากแอฟริกาเป็นหลัก ลิงไทยที่ไม่ได้มีประวัติเชื่อมโยงแอฟริกา หรือสัตว์เลี้ยงตามบ้านจึงไม่เชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ซึ่งทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการตรวจสอบ เฝ้าระวังการนำเข้าสัตว์ป่าจากแอฟริกาอยู่แล้ว

 

ฝีดาษลิง ติดต่อทางไหนได้บ้าง หากพบเชื้อเป็นผู้ป่วยยืนยัน ต้องกักตัวกี่วัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นผู้ป่วยสงสัย ไม่ว่าจะมีไข้ หรือมีผื่น ต้องมีประวัติเชื่อมโยงกับทางระบาดวิทยาภายใน 21 วันอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง 3 ข้อดังกล่าว นี่คือนิยามที่ใช้เฝ้าระวังฝีดาษาวานรตอนนี้


ส่วนนิยามผู้ป่วยเข้าข่ายโรคฝีดาษวานร คือ ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิด โดยสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังผู้ป่วย หรือสัมผัสสิ่งของเสื้อผ้าที่อาจปนเปื้อนของผู้ป่วย, เป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อาศัยอยู่ในห้องเดียวกันกับผู้ป่วย หรือใช้ห้องน้ำหรืออุปกรณ์ในห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วย หรือผู้สัมผัสที่อยู่ภายในห้องหรืออยู่ใกล้ผู้ป่วยฝีดาษวานร ในระยะ 2 เมตร ตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป 

 

ฝีดาษลิง ติดต่อทางไหนได้บ้าง หากพบเชื้อเป็นผู้ป่วยยืนยัน ต้องกักตัวกี่วัน


ทั้งนี้ เมื่อได้รับรายงานว่ามีผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยเข้าข่ายมารักษาในสถานพยาบาลจะตรวจคัดกรองและเก็บตัวอย่างจากแผลหรือลำคอ เพื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR และพิจารณาแยกกัก เพื่อรอเวลาการตรวจหาเชื้อ หากไม่พบเชื้อฝีดาษวานรหรือเป็นโรคอื่นจะจบการแยกกัก แต่หากพบเชื้อหรือเป็น "ผู้ป่วยยืนยัน" จะได้รับการรักษาและแยกกักจนครบ 21 วัน นับจากวันที่เริ่มป่วย


ติดต่อในมนุษย์ได้อย่างไร

ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง หรือ ตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือ จากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด

 

ฝีดาษลิง ติดต่อทางไหนได้บ้าง หากพบเชื้อเป็นผู้ป่วยยืนยัน ต้องกักตัวกี่วัน

 

ขอบคุณข้อมูล prbangkok , กระทรวงสาธารณสุข