สธ.โร่ชี้แจงข่าวลือ พบโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ BA4.5 ในประเทศไทย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงข่าวลือพบโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ BA4.5 ในไทย ตรวจสอบพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข่าวปลอม

เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 65 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงกรณีมีข่าวลือพบโควิด-19 โอมิครอน สายพันธุ์ BA4.5 ในประเทศไทย จากการตรวจสอบพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ

 

สธ.โร่ชี้แจงข่าวลือ พบโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ BA4.5 ในประเทศไทย

 

ก่อนหน้านี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 และการกลายพันธุ์ของเชื้อ ว่า ขณะนี้ ร้อยละ 53.79 ยังคงเป็นเชื้อโอมิครอน BA.2 รองลงมา คือ โอมิครอน BA.4/BA.5 ร้อยละ 45.71 และร้อยละ 0.51 เป็นเชื้อโอมิครอน BA.1

โดยข้อมูลระหว่างวันที่ 18-22 มิ.ย. 2565 สุ่มพบสายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.5 ในประเทศไทย จากการตรวจเบื้องต้น 181 ราย ซึ่งมีการตรวจยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว (WGS) และรายงานเข้าสู่ระบบฐานกลาง GISAID 81 ราย 


ส่วนใหญ่พบผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการสุ่มตัวอย่างมาตรวจมากที่สุด ทำให้จำนวนรวมตั้งแต่ 14 พ.ค. - 22 มิ.ย. พบ BA.4 และ BA.5 ในประเทศไทยแล้ว 214 ราย


ข้อมูลจากผลวิจัยทางห้องปฏิบัติการพบว่า เชื้อ BA.4 และ BA.5 ทำลายปอดและมีอาการปอดอักเสบได้ง่ายขึ้น แต่ข้อมูลทางคลินิกยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ ในหลายประเทศ พบการเพิ่มจำนวนของ BA.5 เพิ่มขึ้น 

 

สธ.โร่ชี้แจงข่าวลือ พบโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ BA4.5 ในประเทศไทย

ส่วนอัตราการแพร่เร็วของสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ข้อมูลที่มีในปัจจุบัน พบชัดเจนว่าสายพันธุ์ดังกล่าวแพร่เร็วกว่าเดิม ประมาณ 1.5 เท่าเมื่อเทียบกับ BA.2 เป็นการพบในห้องปฏิบัติการ โดยพบอีกว่า แอนตี้บอดี้ทำลายเชื้อ BA. 4 และ BA.5 ได้น้อยลง ส่งผลทำให้ยารักษาบางชนิด ที่ต้องตอบสนองกับยาที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันน้อยลงไปด้วยทั้งนี้ คนที่เคยติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์อื่นก่อนหน้านี้ อาจจะติดเชื้อซ้ำสายพันธุ์ BA .4 และ BA.5 ได้ 


แต่หากได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นจะทำให้ร่างกายมีภูมิสู้กับเชื้อได้ดีกว่าคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ดังนั้นการมารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันสูงมากพอยังมีความจำเป็น ช่วยลดความรุนแรงของเชื้อได้ รวมถึงมาตรการการป้องกันตนเองที่เหมาะสม เช่น การสวมหน้ากากในสถานที่แออัด การล้างมือ

 

ขอบคุณ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข