"ดร.สุรสีห์" แจงภาพดาวเทียมมวลน้ำมหาศาลจ่อทะลักเข้า กทม.

"ดร.สุรสีห์" แจงภาพดาวเทียมมวลน้ำมหาศาลจ่อทะลักเข้า กทม. เผยเป็นเพียงแค่น้ำค้างทุ่ง ไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับกระทบจากมวลน้ำดังกล่าวแต่อย่างใด

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ชี้แจงถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์มีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังชี้แจงกรณีมีการเผยแพร่ ภาพถ่ายดาวเทียม ของ GISTDA ว่า มวลน้ำว่าจะไหลงลงสู่ กทม. และปริมณฑลด้วย ดังนี้

"ดร.สุรสีห์" แจงภาพดาวเทียมมวลน้ำมหาศาลจ่อทะลักเข้า กทม.

 

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เผยกรณีมีภาพถ่ายดาวเทียม ของ GISTDA ว่า มวลน้ำจะไหลงลงสู่ กทม. และปริมณฑลนั้น  ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่เป็นมวลน้ำที่เกิดจากฝนตกในพื้นที่ จะค้างทุ่งนาที่เก็บเกี่ยวแล้ว และมวลน้ำที่ท่วมในพื้นที่ลุ่มเป็นส่วนใหญ่ จะไม่ส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำหลากลงมาท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แต่จะทยอยไหลลงสู่แม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำปิง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำดังกล่าวลดระดับต่ำกว่าน้ำในทุ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ กอนช.จะสูบน้ำส่วนนี้ออกให้เหลือไว้เฉพาะเพื่อใช้เตรียมแปลงเพาะปลูกข้าวในฤดูกาลถัดไป ดังนั้นประชาชนไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับกระทบจากมวลน้ำดังกล่าวแต่อย่างใด 

ขณะที่ในโลกออนไลน์ มีการเผยแพร่ ภาพถ่ายดาวเทียม ของ GISTDA ว่า มวลน้ำว่าจะไหลงลงสู่ กทม. และปริมณฑลนั้น  ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่เป็นมวลน้ำที่เกิดจากฝนตกในพื้นที่ จะค้างทุ่งนาที่เก็บเกี่ยวแล้ว และมวลน้ำที่ท่วมในพื้นที่ลุ่มเป็นส่วนใหญ่ จะไม่ส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำหลากลงมาท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แต่จะทยอยไหลลงสู่แม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำปิง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำดังกล่าวลดระดับต่ำกว่าน้ำในทุ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ กอนช.จะสูบน้ำส่วนนี้ออกให้เหลือไว้เฉพาะเพื่อใช้เตรียมแปลงเพาะปลูกข้าวในฤดูกาลถัดไป ดังนั้นประชาชนไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับกระทบจากมวลน้ำดังกล่าวแต่อย่างใด 

"ดร.สุรสีห์" แจงภาพดาวเทียมมวลน้ำมหาศาลจ่อทะลักเข้า กทม.

 

ขณะที่การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยานั้น ทั้ง 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำรวมกันคิดเป็นร้อยละ 79 ของปริมาณการกักเก็บ โดยเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์นั้น ขณะนี้ได้หยุดการระบายและน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนจะกักเก็บไว้ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อน

อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยานั้น กอนช. ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำด้วยการผันน้ำมากกว่า 500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) /วินาที ออกทางฝั่งตะวันออกผ่านคลองชัยนาท-ป่าสัก และฝั่งตะวันตก ผ่านคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน

ล่าสุดมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 65  อยู่ที่ 3,159 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกันน้ำ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ กอนช. กำลังพิจารณาที่จะลดการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาลง เนื่องจากปริมาณน้ำเหนือที่ไหลลงมาเริ่มมีปริมาณที่ลดลง

อย่างไรก็ตามเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น กอนช. ได้ตัดยอดน้ำส่วนหนึ่งเข้าไปเก็บน้ำในทุ่งรับน้ำทั้ง 10 แห่ง ซึ่งขณะนี้มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 96% ของปริมาณการเก็บกัก หรือประมาณ 1,248 ล้าน ลบ.ม. ยังสามารถรับน้ำได้อีกประมาณ 52 ล้าน ลบ.ม.

ส่วนลุ่มน้ำป่าสักขณะนี้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อยู่ที่ 850 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยมีปริมาณน้ำ 1,085 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 113% ของปริมาณการเก็บกัก ขณะที่การระบายออกอยู่ในอัตรา 900  ลบ.ม./วินาที ซึ่ง กอนช. กำลังพิจารณาลดการระบายออกเช่นกัน

ดังนั้น แนวโน้มปริมาณน้ำที่จะไหลลงพื้นที่จังหวัดปทุมธานี  นนทบุรี และกรุงเทพฯ ก็จะมีแนวโน้มลดลงด้วย ซึ่งปัจจุบันน้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำบางไทร  ขณะนี้อยู่ที่ 3,094ลบ.ม./วินาที จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อพื้นที่ในคันกันน้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งคันกั้นน้ำของกรุงเทพฯ มีความสูงประมาณ 2.8-3.0 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ถ้าหากปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำบางไทร ไม่เกิน 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาที น้ำจะไม่ล้นข้ามคันกันน้ำอย่างแน่นอน

 

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainewsonline