ฮือฮาสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ค้นพบในประเทศไทยล่าสุดถึง 4ชนิด

ทำความรู้จัก4สัตว์ชนิดใหม่ของโลก หลังจากประเทศไทยค้ประกาศค้นพบในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา


   สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)   องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  ร่วมแถลงข่าวการประเทศไทยค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก  ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช  จังหวัดนครราชสีมา    

ฮือฮาสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ค้นพบในประเทศไทยล่าสุดถึง 4ชนิด

    สำหรับสัตว์ชนิดใหม่ของโลกที่ประเทศไทยค้นพบ ได้แก่  “มดชุติมา   แตนเบียนปิยะ  แตนเบียนสะแกราช  และ โคพีพอด”ข้อบ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่  โดยสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช  เป็นหน่วยงานกำกับดูแล  มีพื้นที่ 78.08 ตารางกิโลเมตร  และมีนโยบายและแนวทางการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในการเป็นห้องปฏิบัติการศึกษาวิจัยทางด้านธรรมชาติของป่าไม้  ตลอดจนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ฮือฮาสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ค้นพบในประเทศไทยล่าสุดถึง 4ชนิด

  โดยเน้นการศึกษาเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมถ่ายทอดความรู้ในการอยู่ร่วมกันของธรรมชาติ การพึ่งพาอาศัย ได้ประโยชน์ร่วมกัน ความสมดุลของธรรมชาติ และวิถีชีวิตตามธรรมชาติของคนในท้องถิ่น  

ฮือฮาสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ค้นพบในประเทศไทยล่าสุดถึง 4ชนิด


รู้จัก  "มดชุติมา"  

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepisiota chutimae Jaitrong, Waengsothorn et Buddhakala, 2022 

ค้นพบโดย ดร.วียะวัฒน์ ใจตรง นักวิจัย จาก อพวช. และ ผศ.ดร.นพรัตน์ พุทธกาล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บริเวณยอดไม้สูงประมาณ 25-30 เมตร ในป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ดำเนินงานภายใต้โครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของมดบนเรือนยอดไม้บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ฮือฮาสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ค้นพบในประเทศไทยล่าสุดถึง 4ชนิด
สำหรับชื่อ "มดชุติมา" นั้น ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ ศ.(วิจัย)ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ในฐานะเป็นหน่วยงานดูแลพื้นที่และสนับสนุนงานวิจัยทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างแข็งขัน 


"แตนเบียนปิยะ" และ "แตนเบียนสะแกราช" 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Physaraia sakaeratensis Chansri, Quicke & Butcher, 2022 

ค้นพบโดย รศ.ดร.บัณฑิกา อารีย์กุล บุทเชอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณป่าดิบแล้งของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ด้วยกันกับ ดักเต็นท์ หรือ Malaise Trap 

ฮือฮาสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ค้นพบในประเทศไทยล่าสุดถึง 4ชนิด

ลักษณะเด่นที่แตกต่างจากแตนเบียนสกุล Physaraia ชนิดอื่น คือ หนามคู่ที่ส่วนท้องของลำตัวมีสีดำ ในขณะที่ชนิดอื่นหนามบริเวณนี้จะเป็นสีเดียวกับลำตัว โดยบริเวณปลายของส่วนท้องที่มีหนามคาดว่าจะช่วยในการวางไข่ของแตนเบียนเพศเมีย

 

ทั้งนี้ แตนเบียนเป็นแมลงในอันดับ Hymenoptera เช่นเดียวกันกับ ผึ้ง ต่อ และแตนชนิดอื่น ๆ อวัยวะวางไข่ของแตนเบียนเพศเมียไม่ได้มีไว้สำหรับต่อย แต่มีไว้ใช้วางไข่ในแมลงให้อาศัย (host) เมื่อแตนเบียนเพศเมียวางไข่แล้ว ตัวหนอนของแตนเบียนจะกัดกินแมลงให้อาศัยเป็นอาหาร ก่อนจะเจริญเป็นดักแด้และแตนเบียนตัวเต็มวัยต่อไป 

ฮือฮาสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ค้นพบในประเทศไทยล่าสุดถึง 4ชนิด

รู้จักโคพีพอด(Copepods)

มีชื่อวิทยาศาสตร์  Metacyclops sakaeratensis Athibai,Wongkamhaeng & Boonyanusith, 2022

ค้นพบโดย ผศ.ดร.ชายฉัตร บุญญานุสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้รับการสนับสนุนจากสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชและศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์ ค้นพบบริเวณถ้ำงูจงอาง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชเป็นพื้นลำธารที่เป็นลานหิน มีแอ่งน้ำนิ่งสลับกับน้ำไหล 

 

ลักษณะเด่น 

1.ปลายของขาว่ายน้ำคู่ที่ 4 มี spine 1 อัน 
2. ด้านข้างของ caudal ramus มีหนาม
3. ปล้องสืบพันธุ์มีร่องตามขวางทางด้านหลัง 

ทั้งนี้ ชนิดใหม่ของโลกจากสะแกราช มีลักษณะคล้ายกับเครือญาติจากกัมพูชา แต่ชนิดจากกัมพูชาไม่มีลักษณะในข้อ 3. คือ ร่องตามขวางทางด้านหลังของปล้องสืบพันธุ์

ฮือฮาสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ค้นพบในประเทศไทยล่าสุดถึง 4ชนิด

สำหรับโคพีพอด เป็นหนึ่งในแพลงก์ตอนสัตว์ ที่มีความสำคัญในระบบนิเวศแหล่งน้ำ มีความหลากหลายของสายพันธุ์สูง มีลักษณะคล้ายคลึงและอยู่ในตระกูลเดียวกับ กุ้ง ไรน้ำ สามารถพบโคพีพอดในแหล่งน้ำทั่วไปของประเทศไทย ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม พบได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน