ไขข้อข้องใจ ชัดแล้ว ทำไมเดือน "กุมภาพันธ์" บางปี ถึงมี 29 วัน

เปิดความรู้ และตำนาน ไขข้อสงสัย ทำไมเดือน "กุมภาพันธ์" ถึงมี 28-29 วัน และทำไมต้อง 4 ปี ถึงจะมี 29 วันเพียงครั้งเดียว

"กุมภาพันธ์" หลายคนคงจะสงสัยวัน ทำไมบางปี จะมี 29 วัน เหตุผลที่ในทุกๆ 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ก็เพราะว่าใน 1 ปีโลกใช้เวลาหมุนรอบดวงอาทิตย์ทั้งหมด 365.25 วัน เลยทำให้ทุก 4 ปี ต้องมีวันเพิ่มมาอีก 1 วัน

เริ่มต้นปฏิทิน เดือนแรกคือมีนาคม
ย้อนไปยุคโบราณเชื่อกันว่า ชนชาติแรกที่คิดค้นการนับวันแบบปฏิทินขึ้นมาคือ ชาวบาบิโลเนียน เป็นการนับโดยอาศัยดวงจันทร์และดวงดาว มีอาณาจักรอื่นๆ ยอมรับปฏิทินนี้และนำไปใช้ต่อและมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีหลายแหล่งข้อมูลที่เล่าเรื่องการพัฒนาปฏิทิน แต่ไม่เป็นที่แน่ชัดในช่วงนั้น ที่แน่ๆ แบบทุกแหล่งข้อมูลกล่าวตรงกันก็คือ เดือนแรกของปีในปฏิทินโบราณคือ เดือนมีนาคม ไม่ใช่เดือนมกราคม

พอถึงสมัย จูเลียส ซีซาร์ ปกครองโรมัน ประมาณ 46 ปีก่อนคริสตกาล เป็นยุคที่เริ่มให้ใช้ "ปฏิทินจูเลียน" (Julian calendar) โดยนับเดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกเหมือนเดิม ทดลองใช้ปฏิทินเดือนมีนาคมเป็นเดือนที่ 1 ไล่ไปจนถึงเดือนธันวาคมเป็นเดือนที่ 10 แต่จำนวนวันและเดือนก็ยังไม่ลงตัวสักที จูเลียส ซีซาร์ ก็เลยปรับปฏิทินให้มี 365 วัน โดยเพิ่มไปอีก 2 เดือน คือเดือน มกราคม และ กุมภาพันธ์ และยังปรับวันให้แต่ละเดือนมี 30 และ 31 วัน สลับกันไป

ทำไมเดือนกุมภาพันธ์ถึงเหลือ 28-29 วัน
ตามตำนานเล่าว่า พอถึงยุคของ ออกัสตุส ซีซาร์ บุตรบุญธรรมของ จูเลียส ซีซาร์ ขึ้นปกครองต่อ ก็ได้ทำการปรับปฏิทินจูเลียนขึ้นอีกครั้ง ออกัสตุส ซีซาร์ อยากมีชื่อเดือนเป็นของตัวเองแบบบิดาบ้าง (ชื่อเดือนของ จูเลียส ซีซาร์ คือ July) เลยเปลี่ยนเดือนต่อจากบิดา เป็น August ตามชื่อตัวเอง ละเดือนนั้นเดิมทีมี 30 วัน ซึ่งเป็นเลขคู่ ถือว่าไม่มงคล(ในสมัยนั้น) ก็เลยไปดึงวันจากเดือนสุดท้ายอย่างกุมภาพันธ์มาแปะเดือนสิงหาคมให้เป็น 31 วันแทน

สรุปคือในช่วงการปกครองของ ออกัสตุส ซีซาร์ ก็ยังคงใช้ปฏิทินจูเลียน แต่มีปรับนิดหน่อย จากเดิมมี 6 เดือนที่มี 31 วัน และ 6 เดือนที่มี 30 วัน แต่ออกัสตุสไปดึง 1 วันจากเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายมา ทำให้จากเดิมมี 30 วันเหลือ 29 วัน ส่วนเดือนสิงหาคมก็มี 31 วัน กลายเป็นว่าใน 12 เดือน จะมีเดือนที่มี 31 วัน ทั้งหมด 7 เดือน มีเดือนที่มี 30 วัน ทั้งหมด 4 เดือน และเดือนที่มี 29 วัน 1 เดือน ก็คือเดือนกุมภาพันธ์

พอพัฒนาปฏิทินไปเรื่อยๆ ก็ค้นพบว่าเวลาที่โลกใช้หมุนรอบดวงอาทิตย์มันเป็นเศษชั่วโมง แบบไม่เต็มวัน สุดท้ายก็มีการปรับวันในเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยความที่เป็นเดือนสุดท้ายจะปรับเปลี่ยนอะไรก็ง่ายกว่า เลยกลายเป็นเดือนที่มีทั้ง 28 และ 29 วัน และต่อมาได้มีการปรับเดือนแรก จากเดิมเป็นเดือนมีนาคม มาเป็นเดือนมกราคม ตั้งวันที่ 1 มกราคมเป็นวันเริ่มต้นใหม่ของปี เดือนกุมภาพันธ์เลยกลายเป็นเดือนที่ 2 แทน

หลักการนับว่าปีไหนเดือนกุมภาพันธ์มี 28 หรือ 29 วัน
จากการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์พบว่า โลกใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง คือ 1 วัน และใช้เวลาในการหมุนรอบดวงอาทิตย์คือ 365 วัน 5 ชั่วโมง 49 นาที 16 วินาที เพื่อความง่ายในการจัดการวัน ก็จะนับเป็น  365 วัน กับอีก 6 ชั่วโมง คิดเป็น 1 ใน 4 ของวัน เพราะฉะนั้นในทุกๆ 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์เลยมี 29 วันค่ะ

ปฏิทินที่สากลที่เราใช้ปัจจุบัน จะแบ่งปีออกเป็น 2 แบบ คือ ปีปกติสุรทิน (Common Year) เป็นปีที่มี 365 วัน ก็คือปีที่มีเดือนกุมภาพันธ์ 28 วัน ส่วนอีกแบบคือ ปีอธิกสุรทิน (Leap Year) เป็นปีที่มี 366 วัน ก็คือปีที่มีเดือนกุมภาพันธ์ 29 วัน ถ้าอยากรู้ว่าปีไหนเกือนกุมภามี 29 วัน ก็นำคริสต์ศักราชมาหารด้วย 4 ได้เลยค่ะ เช่น ปีนี้ปี ค.ศ.2020 นำมาหาร 4 ได้ 505 เป็นเลขลงตัวพอดี แสดงว่าปีนี้เดือนกุมภามี 29 วัน

แต่ก็มีข้อยกเว้น ด้วยความที่เศษของวันไม่เต็ม 6 ชั่วโมง จึงมีการกำหนดให้ปีที่หาร 100 ลงตัวเป็นปีปกติสุรทิน คือมี 365 วัน เพื่อความสมดุลของช่วงเวลาที่โลกใช้หมุนรอบด้วยอาทิตย์ แต่ถ้าเป็นปีที่หาร 400 ลงด้วย จะเป็นปีอธิกสุรทินที่มี 366 วัน ค่ะ สรุปเงื่อนไขก็คือ

1.ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ไม่ลงตัว เป็นปีปกติสุรทิน มี 365 วัน
2.ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัว เป็นปีอธิกสุรทิน มี 366 วัน
3.ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 100 ลงตัว (เช่น ค.ศ.1900) เป็นปีปกติสุรทิน มี 365 วัน
4.ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 400 ลงตัว (เช่น ค.ศ.2000) เป็นปีอธิกสุรทิน มี 366 วัน

ไขข้อข้อใจ ชัดแล้ว ทำไมเดือน กุมภาพันธ์ บางปี ถึงมี 29 วัน

ขอบคุรข้อมูลจาก dek-d