น่าเป็นห่วง "น้องตุลา" ลูกช้างป่าพลัดหลง ค่าตับสูง ต้องดูแลใกล้ชิด 24 ชม.

คืบหน้าการรักษา "น้องตุลา" ลูกช้างป่าพลัดหลง อาการยังน่าเป็นห่วง ยืนหลับ ไม่ยอมนอน ค่าตับสูง ต้องดูแลใกล้ชิด 24 ชม.

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้โพสต์เล่าความคืบหน้าการรักษา "น้องตุลา" ลูกช้างป่าพลัดหลง ซึ่งมีอาการนอนไม่หลับเพราะเจ็บขา และพอไม่ยอมล้มนอนทำให้ใช้งวงจับที่ไม้ค้ำจนเกิดบาดแผลที่ปาก รวมถึงค่าตับสูง ทำให้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยง 24 ชั่วโมง โดยระบุว่า

 

น่าเป็นห่วง น้องตุลา ลูกช้างป่าพลัดหลง  ค่าตับสูง ต้องดูแลใกล้ชิด 24 ชม.

คืบหน้า...การดูแลรักษา "ตุลา" ลูกช้างป่าพลัดหลง สัตวแพทย์ และพี่เลี้ยง ยังต้องดูแลใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง


ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) ร่วมกับสัตวแพทย์ สัตวบาล จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) และเจ้าหน้าที่จากศูนย์แก้ไขปัญหาช้างป่าฯ ทำการรักษาและอนุบาลดูแลลูกช้างป่า "น้องตุลา" รายงานอาการและการรักษา รวมถึงผลตรวจ เข้ามา ว่า จากการยืนหลับไม่ยอมล้มตัวลงนอนของลูกช้างติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน ทำให้มีอาการเจ็บและอักเสบบริเวณขาหน้าทั้ง 2 ข้าง รวมไปถึงขาหลังขวา การย่างเดินผิดปกติ มีอาการบวมน้ำอักเสบบริเวณไหล่ข้างซ้ายร่วมด้วย มีปัญหาระบบกล้ามเนื้อและกระดูก พบว่ามีภาวะกระดูกบาง (Metabolic Bone Disease) จากการถ่ายภาพเอกซเรย์

 

น่าเป็นห่วง น้องตุลา ลูกช้างป่าพลัดหลง  ค่าตับสูง ต้องดูแลใกล้ชิด 24 ชม.


สำหรับสาเหตุที่ไม่ยอมล้มตัวนอนเนื่องจากเจ็บขา และผลของการไม่ยอมล้มตัวนอนเป็นเวลาหลายวัน ทำให้บริเวณปากมีแผลผลจากการใช้งวงจับคอกไม้เพื่อพยุงน้ำหนักตัว ทำการหุ้มคอกไม้ด้วยผ้าลดการสัมผัสกับไม้โดยตรง ล้างปากและพ่นสเปรย์นาโนรักษาแผลในปาก


เบื้องต้นทำการปูพื้นคอกด้วยแผ่นยางหนา เพื่อลดแรงกดทับจากการยืนเป็นเวลานานในคอกพื้นปูน และทำเลเซอร์บริเวณขาทุกข้างที่มีการอักเสบและเจ็บ หัวไหล่ข้างซ้าย ทำการรักษาด้วยเครื่องแม็กเนติก (Magnetotherapy Vet เครื่องมือแพทย์ที่ทำการรักษาด้วยพลังงานสนามแม่เหล็ก) เพื่อเพิ่มความหนาแน่นตัวของกระดูก ลดบวมช้ำ ลดปวด ลดอักเสบ เร่งกระบวนการงอกของกระดูก ในกรณีที่สัตว์มีวิการกระดูกหัก กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย และใช้ในกรณีกระดูกหัก กระดูกบางได้ทั้งหมดที่มีวิการเกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างของร่างกาย โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องแม็กเนติกจาก คุณกัญจนา ศิลปอาชา

 

น่าเป็นห่วง น้องตุลา ลูกช้างป่าพลัดหลง  ค่าตับสูง ต้องดูแลใกล้ชิด 24 ชม.

สัตวแพทย์ฉีดยาลดปวด ร่วมกับประคบเย็นและร้อนตามจุดต่างๆ ที่บวมและอักเสบ เสริมแคลเซียม วิตามินบีรวมบำรุงปลายประสาท วิตามินซีเพิ่มภูมิคุ้มกัน และยาบำรุงข้อให้กินทุกวัน


โดยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนเข้าประเมินอาการ สุขภาพ เก็บตัวอย่างเลือด และสวอปช่องปากจาก ผศ.สพ.ญ.ดร.สุภาเพ็ญ ศรีพิบูลย์ คณะทำงานสมาคมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย และคลินิกช้างและสัตว์ป่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน น.สพ.ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ นายกสมาคมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย และทีมสัตวแพทย์จากองค์การสวนสัตว์ (สวนสัตว์เปิดเขาเขียว)


ผลการตรวจเฮอร์ปีส์ไวรัสจากตัวอย่างเลือดและสวอปช่องปากให้ผลเป็นลบ ผลตรวจเลือดมีค่าตับสูงกว่าปกติ ค่าแคลเซียมต่ำกว่าปกติ และค่าเอนไซม์กล้ามเนื้อสูงกว่าปกติมาก สำหรับปัสสาวะปกติ ถ่ายอุจจาระเป็นก้อน ทั้งนี้จะได้ทำการรักษา ดูแลใกล้ชิดและเฝ้าระวังอาการตลอด 24 ชั่วโมง

 

น่าเป็นห่วง น้องตุลา ลูกช้างป่าพลัดหลง  ค่าตับสูง ต้องดูแลใกล้ชิด 24 ชม.

 

น่าเป็นห่วง น้องตุลา ลูกช้างป่าพลัดหลง  ค่าตับสูง ต้องดูแลใกล้ชิด 24 ชม.

 

น่าเป็นห่วง น้องตุลา ลูกช้างป่าพลัดหลง  ค่าตับสูง ต้องดูแลใกล้ชิด 24 ชม.

 

ขอบคุณ ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช