ยูเนสโก ประกาศให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

วันที่ 19 กันยายน 2566 มีรายงานว่า ยูเนสโก ประกาศให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เผยคำแถลงของ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การแถลงข่าวยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ดังนี้

 

ยูเนสโก ประกาศให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่
 

ยูเนสโก ประกาศให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

 

พี่น้องสื่อมวลชนที่เคารพบัดนี้เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกได้ประกาศให้เมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๔๕ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐ – ๒๕ กันยายน ๒๕๖๖ ณ กรุงริยาร์ด ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม  รวม ๔แห่ง ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย–ศรีสัชนาลัย–กำแพงเพชร  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และล่าสุด เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลกแห่งที่ ๔ นับตั้งแต่การประกาศให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นมรดกโลก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๕

 

ยูเนสโก ประกาศให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

 

ประเทศไทยได้นำเสนอเมืองโบราณศรีเทพบรรจุอยู่ในบัญชีเบื้องต้นมรดกโลก เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๒และได้นำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกต่อยูเนสโก ในเดือนมกราคม ๒๕๖๔ รวมพื้นที่นำเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก จำนวน ๘๖๖.๔๗๑ เฮกตาร์ หรือประมาณ ๕,๔๑๕ไร่ ประกอบด้วยแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ๓ แหล่ง ที่มีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันทางวัฒนธรรม มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และคงความเป็นของแท้ดั้งเดิม ประกอบด้วย

- เมืองโบราณศรีเทพ
- โบราณสถานเขาคลังนอก
- โบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ 

ยูเนสโก ประกาศให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

 

ทั้งนี้ เหตุผลที่ทำให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก เนื่องจากคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลกล่าวคือ เมืองโบราณศรีเทพเป็นเมืองสำคัญสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ - ๑,๔๐๐ ปี แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการสำคัญทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองโบราณศรีเทพ มีรูปแบบผังเมืองที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ภายในเมืองประกอบด้วยศาสนสถานมากกว่า ๑๑๒ แห่ง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมเป็นของตนเองที่เรียกว่า "สกุลช่างศรีเทพ" หลักฐานที่พบจากเมืองโบราณศรีเทพ แสดงถึงความผสมผสานของศาสนาและความเชื่อ ทั้งศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและมหายานที่รับจากประเทศอินเดีย ปรับเปลี่ยนและพัฒนาเป็นรูปแบบเฉพาะ ภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีที่เจริญรุ่งเรืองในภาคกลางของประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว

 

ยูเนสโก ประกาศให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

 

โดยเมืองโบราณศรีเทพ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมภายใต้คุณค่าตามเกณฑ์ของยูเนสโกประกอบด้วย เกณฑ์ข้อที่ ๒ แสดงถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่าของมนุษย์ในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง หรือพื้นที่ในวัฒนธรรมใด ๆ ของโลก ผ่านการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยี การวางแผนผังเมืองหรือการออกแบบภูมิทัศน์

 

ยูเนสโก ประกาศให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

 

เกณฑ์ข้อที่ ๓ เป็นพยานหลักฐานที่ยอดเยี่ยม หรือหาที่เสมอเหมือนไม่ได้ของประเพณี วัฒนธรรม หรือวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่ หรือสูญหายไปแล้ว การที่เมืองโบราณศรีเทพได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนี้ นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน ซึ่งเป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นเกียรติภูมิของประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาชาวโลกสุดท้ายนี้ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดความสำเร็จในครั้งนี้ 

 

ยูเนสโก ประกาศให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

 

ยูเนสโก ประกาศให้ "เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่