ข่าวดี "น้องเดือน" ลูกช้างป่าทับลาน ไม่พบเชื้อโรคเฮอร์ปีร์ไวรัส

อัปเดตข่าวดี "น้องเดือน" ลูกช้างป่าทับลาน ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการโรคเฮอร์ปีร์ไวรัสในช้าง (EEHV) ให้ผลเป็นลบ

อัปเดตข่าวดี : ข่าวดี "น้องเดือน" ลูกช้างป่าทับลาน ไม่พบเชื้อโรคเฮอร์ปีร์ไวรัส เพจเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เผยความคืบหน้า...อาการและการดูแลลูกช้างป่าทับลาน  ผลตรวจห้องปฏิบัติการโรคเฮอร์ปีร์ไวรัสในช้าง (EEHV) ให้ผลเป็นลบ ระบุรายละเอียดดังนี้ 

 

ข่าวดี น้องเดือน ลูกช้างป่าทับลาน ไม่พบเชื้อโรคเฮอร์ปีร์ไวรัส

ข่าวดี น้องเดือน ลูกช้างป่าทับลาน ไม่พบเชื้อโรคเฮอร์ปีร์ไวรัส

 

วันนี้ (20 พ.ย.66) ทีมสัตวแพทย์ รายงานข้อมูลลูกช้างป่า ชื่อเดือน เพศผู้ วัยเด็ก พบเจอบริเวณท้องที่บ้านตลิ่งชัน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2566 ว่า ทีมสัตวแพทย์ สบอ.1 ร่วมกับ ทีมสัตวแพทย์ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ทีมสัตวแพทย์ สบอ.3 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน และฐานปฏิบัติการป้องกันและรักษาป่า (วังมืด) ร่วมกันดูแลรักษาลูกช้างป่า 

 

ข่าวดี น้องเดือน ลูกช้างป่าทับลาน ไม่พบเชื้อโรคเฮอร์ปีร์ไวรัส

 

โดยลูกช้างป่ามีความอยากกินนมปกติ อุจจาระเหลวเป็นสีเหลืองออกเขียว จึงมีการลดปริมาณนมต่อมื้อ สลับกับให้เกลือแร่แบบกิน ปัสสาวะปกติ กิจวัตรประจำวันในการดูแลลูกช้าง มีการพาเดินเล่นช้าๆโดยยังอยู่บนอุปกรณ์ช่วยพยุงอยู่ตลอดเวลาโดยยกสองขาหลังที่เข้าเฝือกเหนือพื้นเล็กน้อย ขาหน้าไม่มีการดึงรั้งสามารถลงน้ำหนักได้เต็ม 2 ฝ่าเท้า ทำความสะอาดลดความชื้นของเฝือก

ข่าวดี น้องเดือน ลูกช้างป่าทับลาน ไม่พบเชื้อโรคเฮอร์ปีร์ไวรัส

 

การเปลี่ยนถุงหุ้มเฝือกเพื่อลดการปนเปื้อนสิ่งสกปรก เช็คระดับรอกให้เหมาะสมทุกครั้งในการยืน พบอาการท้องอืดเป็นบางช่วง ทำการให้ยาฉีดลดปวดลดอักเสบ แคลเซียมสำหรับกิน ผงโปรไบโอติก และทำความสะอาดสะดือ ทำการใช้เครื่องปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetotherapy Vet) ระบบการลดปวด ลดอักเสบ และระบบดูแลกระดูก ควบคู่กับการรักษาทางยา โดยจะทำการใช้เครื่องปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตามโปรแกรมการรักษา ทีมสัตวแพทย์ยังตรวจพบจุดขาวบนลิ้นของลูกช้าง แต่อุณหภูมิร่างกายกลับมาปกติแล้ว ผลทางห้องปฏิบัติการโรคเฮอร์ปีร์ไวรัสในช้าง (EEHV) ให้ผลเป็นลบ

 

ข่าวดี น้องเดือน ลูกช้างป่าทับลาน ไม่พบเชื้อโรคเฮอร์ปีร์ไวรัส

 

ทั้งนี้อาการโดยรวมยังคงเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดโดยสัตวแพทย์ จะมีการประเมินอาการวันต่อวัน 

แพทย์ผู้รายงาน :

สพ.ญ.ชนัญญา กาญจนสาขา นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สอส.สบอ.1 (ปราจีนบุรี) ทำหน้าที่หน.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน  
สพ.ญ.กิติยาภรณ์ เอี่ยมสะอาด นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กจส. สอป. 
สพ.ญ.กนกวรรณ ตรุยานนท์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สอส.สบอ.3 (บ้านโป่ง) 
สพ.ญ.ณฐนน ปานเพ็ชร นายสัตวแพทย์ชำนาญการ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก

 

ขอบคุณ ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช