ไขข้อสงสัย ดิจิทัลวอลเล็ต 1หมื่น ตัวอยู่ กทม. แต่ทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด

ไขข้อสงสัย ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ตัวอยู่ กทม. แต่ทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด สามารถใช้จ่ายในกรุงเทพฯ ได้ไหม

วันที่ 24 เมษายน 2567 มีรายงานว่า นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท  ผ่าน Digital Wallet จนมีข้อสรุปเป็นหลักการเงื่อนไขของผู้ที่ได้รับสิทธิ 50 ล้านคน ดังนี้

          - อายุ 16 ปีขึ้นไป

          - มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

          - มีรายได้ไม่เกิน 840,000 บาท มีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

          - มีการลงทะเบียนผ่าน Application บน Smartphone

การใช้จ่าย

          - ต้องใช้จ่ายในเขตอำเภอตามทะเบียนบ้านเท่านั้น

          - ใช้ในร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้กำหนดว่า ร้านค้าขนาดเล็กหมายถึงร้านใดบ้าง

          - มีกรอบเวลาการใช้จ่ายเงิน 1 หมื่นบาทภายใน 6 เดือน เพื่อให้จบในโครงการ

ที่มาของเม็ดเงิน 5 แสนล้านบาทในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

          - งบประมาณประจำปี 2567 วงเงิน 1.75 แสนล้านบาท

          - งบประมาณประจำปี 2568 วงเงิน 1.57 แสนล้านบาท

          - งบประมาณจาก ธกส. 1.72 แสนล้านบาท

 


 

เป้าหมายโครงการ

คาดว่าประโยชน์ที่จะได้ในโครงการคือ งบประมาณปี 2568 จะกระตุ้นจีดีพีได้ 1.2-1.8% และผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจจะไม่ได้จบในปีเดียว ยังมีการเติบโตต่อไปอีกในปีที่ 2 และ นี้จะก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนประมาณ 3.2-3.5 รอบ หรือ money multiplier แต่จะก่อให้เกิดตัวทวีคูณทางการคลังจะเกิดขึ้นประมาณ 1.2 - 1.4 เท่าของเม็ดเงิน 5 แสนล้านที่ใส่ไปนั่นหมายถึง 6.5 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นตัวเลข GDP ที่จะโตใน 3 ปี

จำนวนร้านลงทะเบียน

ตอนนี้มีตัวเลขร้านลงทะเบียนเข้าร่วมดิจิทัลวอลเล็ต 1.2 ล้านร้าน