- 11 ก.พ. 2568
ระวังไข้หวัดใหญ่ อย่าชะล่าใจ สถานการณ์น่าเป็นห่วง ไข้หวัดใหญ่กลับมาระบาดหนักทั่วประเทศในเดือนเดียวพบผู้ป่วยสะสมแล้ว 75,936 ราย เสียชีวิต 3 ราย
ไข้หวัดใหญ่ระบาด เดือนเดียวป่วย 75,936 ราย ดับ 3 ราย สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ ในประเทศไทย ระวังไข้หวัดใหญ่ อย่าชะล่าใจ สถานการณ์น่าเป็นห่วง ไข้หวัดใหญ่กลับมาระบาดหนักทั่วประเทศในเดือนเดียวพบผู้ป่วยสะสมแล้ว 75,936 ราย เสียชีวิต 3 ราย
ไข้หวัดใหญ่ โรคระบาดประจำถิ่นที่มีมานาน พบได้ทุกกลุ่มอายุ แต่จะพบมากในเด็ก อัตราป่วยตายมักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยปี 2567 มีผู้ป่วยสะสม 668,027 ราย สูงกว่าปี 2566 ประมาณ 1.39 เท่าเสียชีวิต 51 ราย (อายุต่ำสุด 2 เดือน สูงสุด 90 ปี) ตรวจพบสายพันธุ์ A/H1N1 (2009) มากที่สุด
ขณะที่ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรค พบ ไข้หวัดใหญ่ล่าสุด (ตั้งแต่ 1 มกราคม-7 กุมภาพันธ์ 2568)มีผู้ป่วยสะสม 75,936 ราย เสียชีวิต 3 ราย อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.005
สามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ แต่จะพบมากในเด็ก อัตราป่วยตายมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขณะที่พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ในผู้ที่มีโรคประจำตัว 3 กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ 5-9 ปี (14,708 ราย) รองลงมาเป็น 10-14 ปี (10,896) และ 30-39 ปี (10,260)
คำแนะนำเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่
เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีคำแนะนำง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้ค่ะ
- ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม ใช้ผ้าทิชชู่ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม หากไม่มีทิชชู่ให้ใช้ข้อศอกด้านในปิดปากและจมูก จากนั้นทิ้งทิชชู่ที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่มีฝาปิด และล้างมือให้สะอาดทันที หากป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
- ล้างมือบ่อยๆ ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หรือเมื่อสัมผัสสิ่งสกปรก การล้างมือเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือเข้าไปในพื้นที่ที่มีผู้คนแออัด เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ
- หยุดพักเมื่อป่วย หากรู้สึกไม่สบาย แม้จะมีอาการเพียงเล็กน้อย ควรหยุดพักและอยู่บ้าน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น
- ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือหญิงตั้งครรภ์ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข