- 28 มี.ค. 2568
เมียนมาผวา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 เขย่ารอบศตวรรษ ทั้งสะพาน-อาคารถล่ม ล่าสุด รัฐประกาศภาวะฉุกเฉิน รุนแรงสุดใน 100 ปี
เกิด แผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ขนาด 8.2 ใน เมียนมา เมื่อเวลาประมาณ 13:21 น. วันนี้ (28 มี.ค.) ซึ่งถือเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปีของประเทศ และรุนแรงที่สุดในโลกรอบตั้งแต่ปี 2566 แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ไกลถึงเวียดนามและทำให้ตึกถล่มอย่างน้อย 1 แห่งในกรุงเทพฯ แม้ USGS จะรายงานขนาด 7.7 แต่กรมอุตุนิยมวิทยาไทยยืนยันที่ 8.2 ความลึก 10 กม. ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ แรงสั่นสะเทือนยังตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อก 6.4
สะพานเอวาในมัณฑะเลย์พังถล่ม
ทางเพจ World Forum ข่าวสารต่างประเทศ ได้โพสต์ระบุว่า : ศูนย์กลางแผ่นดินไหว รอยพื้นดินแตกร้าว แยกออก เป็นร่องลึกขนาดใหญ่ในเมืองมิตตา เขตมัณฑะเลย์ หลังจากเกิดแผ่นดินไหว รุนแรงขนาด 7.7 ลึก 10 กม. เวลา 13.20 น. 28/3/2025
/မန္တလေး News
พบภาพวัดในมัณฑะเลย์พังถล่มอีกแห่ง
มัณฑะเลย์ เมียนมา
*โพส 2
ภาพความเสียหายอย่างหนัก/ รออัปเดต
*****จากเหตุ
พม่า : แผ่นดินไหวรุนแรง ใกล้เมือง มัณฑะเลย์
ขนาด 7.7 ลึก 10 กม. เวลา 13.20 น.
วันที่ 28/3/2025 และขนาด 6.4 ลึก 10 กม. เวลา 13.32 น.
*มีการปรับความรุนแรง จาก 7.7 เป็น 8.2
แรงสั่นไหว รับรู้ถึงกรุงเทพมหานคร ไทย 🇹🇭ซึ่งอยู่ห่างจากจุดแผ่นดินไหว 1,036 กม.โดยประมาณ และหลายภูมิภาคของไทย รับรู้ถึงแรงสั่นไหว
ขอบคุณภาพ
ရေစကြို သတင်းပေါင်းစုံ မီဒီယာ และโซเชียลพม่า
เนปิดอว์เสียหาย: เพดานร่วง ถนนร้าว
สำนักข่าวเมียนมา Mizzima รายงานอ้างแหล่งข่าวจาก AFP ว่า แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวส่งผลให้ชิ้นส่วนเพดานของอาคารหลายแห่งในกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของเมียนมา พังถล่มลงมา นอกจากนี้ ยังมีรายงานความเสียหายของถนนในเมืองหลวงอีกด้วย
ทีมข่าว AFP ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเนปิดอว์ขณะเกิดเหตุการณ์ ได้สัมผัสถึงแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง อาคารเริ่มสั่นไหว เพดานร่วงหล่น และผนังเกิดรอยร้าว เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในเครื่องแบบต่างพากันวิ่งหนีออกไปด้านนอก บางคนอยู่ในอาการตกใจ ตัวสั่น และร้องไห้ ขณะที่บางคนรีบหยิบโทรศัพท์เพื่อติดต่อหาคนที่รัก
วัดในตองอูถล่ม: เสียชีวิต 6 ราย เด็กติดใต้ซากโรงเรียน
Eleven Media Group รายงานโดยอ้างข้อมูลจากมูลนิธิ Save The Trees ว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้วัด Wailuwun ในเมืองตองอูพังถล่มลงมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กไร้บ้านถึง 5 ราย นอกจากนี้ ยังมีรายงานที่น่ากังวลว่ามีเด็กอีกกว่า 20 คน อาจติดอยู่ใต้ซากอาคารเรียนที่พังถล่มลงมาในเมืองเดียวกัน
เมียนมาเป็นพื้นที่ที่เผชิญกับแผ่นดินไหวค่อนข้างบ่อย โดยข้อมูลจาก USGS ระบุว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.0 หรือมากกว่าถึง 6 ครั้ง ในช่วงปี 1930 ถึง 1956 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นใกล้กับ "รอยเลื่อนสะกาย" (Sagaing Fault) รอยเลื่อนมีพลังที่พาดผ่านใจกลางประเทศจากเหนือจรดใต้
นอกจากนี้ ในปี 2016 ยังเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ที่เมืองพุกาม อดีตเมืองหลวงทางตอนกลางของเมียนมา คร่าชีวิตผู้คนไป 3 ราย และสร้างความเสียหายต่อเจดีย์และกำแพงวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่แข็งแรงและการวางผังเมืองที่ไม่เป็นระบบ ทำให้พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นของเมียนมามีความเสี่ยงสูงต่อภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวและภัยอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น ระบบสาธารณสุขของเมียนมาก็ยังอยู่ในภาวะตึงตัว โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ซึ่งอาจส่งผลต่อการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้
รัฐบาลเมียนมาประกาศภาวะฉุกเฉินและให้คำมั่นว่าจะเร่งสอบสวนและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลและความเสียหายภายในเมียนมายังมีจำกัด เนื่องจากการควบคุมข้อมูลอย่างเข้มงวดหลังรัฐประหารปี 2564 และข้อจำกัดในการเข้าถึงพื้นที่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : World Forum ข่าวสารต่างประเทศ , สำนักข่าวเมียนมา Mizzima , กรุงเทพธุรกิจ