ระวัง "เครียดเรื้อรัง"ทำให้สมองล้า คิดช้า อารมณ์พัง แบบไม่รู้ตัว

ระวังอย่าเครียด เพจดังเปิด “ความเครียดเรื้อรัง” ทำลายสมองส่วนคิดวิเคราะห์ ควบคุมอารมณ์ยากขึ้นจริง ไม่ใช่แค่ความรู้สึก

จากกรณีเพจ Eva - อิศวาพร เผยข้อมูลจากมุมมองด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของ "ความเครียดเรื้อรัง" ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อจิตใจ แต่ยังสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างสมองจริง โดยเฉพาะกับสมองส่วนหน้า หรือ Prefrontal Cortex ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการควบคุมอารมณ์ การคิดวิเคราะห์ และความจำระยะสั้น โดยในโพสต์ระบุว่า

ครียดเรื้อรัง ทำลายสมองส่วนตรรกะ ไวต่ออารมณ์ และคิดอะไรยากขึ้น

ถ้าคุณเคยอ่านแนวๆ สมองส่วนตรรกะ ซีกนั้นซีกนี้ ฯลฯ เอาตามประสาทวิทยาจริงๆ ถามว่าอยู่ที่ไหน

ตอบ: สมองส่วนหน้าสุด Prefrontal cortex ค่ะ และเป็นส่วนที่มักจะ “ยับ” เมื่อมี stress เป็นอันดับสอง รองจาก hippocampus

  • ในภาพแสดงวงจรประสาทเชื่อมต่อใน

Layer 3 ลึกในสมอง dorsolateral Prefrontal cortex (dlPFC) ที่ที่ทำหน้าที่หลักเรื่อง

เรียกใช้งานความจำที่ใช้บ่อยมากๆ (working memory) การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม (Abstract thought) การควบคุมอารมณ์และการตอบสนองเชิงสัญชาตญาณ​(Top-down cognitive control)

ระวัง \"เครียดเรื้อรัง\"ทำให้สมองล้า คิดช้า อารมณ์พัง แบบไม่รู้ตัว

  • คนปกติ - ALERT 

การเชื่อมต่อบน-ล่าง ปกติ (ลูกศร สีเขียวเข้ม) ดังนั้นควบคุมอารมณ์ได้ดี นึกอะไรก็ออก คิดวิเคราะห์เยี่ยม

  •  เครียดระดับปานกลางขึ้นไป  

ในเลือดจะมีฮอร์โมน Noradrenaline และ Adrenaline สูงมาก จะกระตุ้นให้ เซลล์ข้างล่าง สะสมสัญญาณแคลเซียม มากเกินไป

ผลคือยับยั้งการสัญญาณเชื่อมต่อ จะเริ่มนึกอะไรไม่ค่อยออก คิดวิเคราห์แนวๆ นามธรรมยากขึ้น
เช่น เรื่องแนวๆ คุณค่า, หลักการต่างๆ ที่สำคัญคือ การยับยั้ง amygdala แย่ลง ใช้อารมณ์และสัญชาตญาณดิบมากขึ้น
 

  •  เครียดเรื้อรัง 


เกิดเหมือนข้อเมื่อกี๊เลย คือ สัญญาณแคลเซียมยิ่งคั่ง

ยับยั้งการเชื่อมต่อ จุดที่อันตรายที่สุดคือ มันจะทำให้สัญญาณที่กระตุ้น การงอกของ จุดเชื่อมต่อ(Synaptogenesis) หายไป
วงจรในสมองส่วนนี้เชื่อมกันน้อยลง อาการต่างๆ จะยิ่งแย่ คิดยาก นึกยาก คุมอารมณ์แย่ และที่สำคัญคืออยู่นานขึ้น เพราะโครงสร้างเซลล์ประสาท มันเปลี่ยนแปลงจริงแบบรูปธรรม

 

 สรุป
- เครียดปานกลางขึ้นไป dlPFC ทำงานลดลง
- เครียดเรื้อรัง dlPFC โครงสร้างเปลี่ยน เชื่อมต่อลดลง
- dlPFC ลดลง ทำให้นึกอะไรยาก คิดวิเคราะห์ยาก ควบคุมอารมณ์ยากขึ้น

วิธีแก้สถานเดียวคือ ต้องฝึกรับมือกับความเครียด และให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูสมอง
 
ขอบคุณข้อมูลจาก Eva - อิศวาพร