เปิดภาพ สิ่งมีชีวิตสุดแปลกหายาก ในป่าแก่งกระจาน 9ปีเพิ่งได้เห็น

หาดูยาก ครั้งแรกในรอบ9ปี เปิดภาพ "เห็ดนิ้วมือปีศาจ"หรือ"เห็ดหนวดปลาหมึกเหม็น" งอกทะลุขึ้นจากพื้นดิน ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

ครั้งแรกในรอบ9 ปี "เห็ดนิ้วมือปีศาจ"หรือ"เห็ดหนวดปลาหมึกเหม็น" โผล่ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ถือว่าเป็นเห็ดที่หาเจอไม่ง่าย มีลักษณะ​คล้ายนิ้วมือยักษ์หรือหนวดปลาหมึกมีกลิ่นเหม็น เพื่อล่อแมลงให้มาสัมผัสเป็นตัวช่วยในการกระจายพันธุ์ต่อไป ซึ่งเป็นเห็ดหายากที่ถูกพบในประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี 2559

 

นับว่าเป็นภาพที่น่าแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากกับการพบเห็ด "นิ้วมือปีศาจ" สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายนิ้วสีแดงสดงอกทะลุขึ้นจากพื้นดิน พร้อมส่งกลิ่นเหม็นคล้ายซากเน่า-เนื้อเน่า เพื่อล่อแมลงมาช่วยกระจายสปอร์ 

เปิดภาพ สิ่งมีชีวิตสุดแปลกหายาก ในป่าแก่งกระจาน 9ปีเพิ่งได้เห็น

โดย นายมงคล ไชยภักดี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน รายงานว่า จากข้อมูลจากนักวิจัยจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า เห็ดชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clathrus archeri เป็นเห็ดที่มีลักษณะสุดแปลกตา โดยมีแขนสีแดงชมพูประมาณ 4-7 เส้น งอกออกมาจากฐานรูปทรงไข่ขนาดเล็ก และมีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร

เปิดภาพ สิ่งมีชีวิตสุดแปลกหายาก ในป่าแก่งกระจาน 9ปีเพิ่งได้เห็น

เห็ดชนิดนี้ไม่เพียงมีรูปร่างที่น่าแปลกตา แต่ยังมีกลไกการแพร่พันธุ์ที่น่าสนใจ โดยใช้กลิ่นเหม็นของซากสัตว์เพื่อดึงดูดแมลงมาช่วยกระจายสปอร์ ซึ่งการค้นพบในครั้งแรกเกิดขึ้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี 2559 บริเวณป่าพะเนินทุ่ง ซึ่งเป็นป่าดิบเขาที่มีความชื้นสูง เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อรา

เปิดภาพ สิ่งมีชีวิตสุดแปลกหายาก ในป่าแก่งกระจาน 9ปีเพิ่งได้เห็น

การพบเห็นเห็ดชนิดนี้ค่อนข้างหาชมได้ยาก เนื่องจากเห็ดใช้เวลาส่วนใหญ่เจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน และจะโผล่ขึ้นมาเฉพาะในช่วงขยายพันธุ์เท่านั้น เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ยังเน้นย้ำว่า เห็ดชนิดนี้ไม่ควรรับประทาน แม้จะไม่มีรายงานว่าเป็นพิษร้ายแรง แต่กลิ่นและลักษณะที่น่ารังเกียจทำให้ไม่เหมาะสำหรับการบริโภค

 

เปิดภาพ สิ่งมีชีวิตสุดแปลกหายาก ในป่าแก่งกระจาน 9ปีเพิ่งได้เห็น


ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานยังเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมอุทยานฯ เพื่อสัมผัสกับสวยงามของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งสัตว์ป่าหลากชนิด และอาจมีโอกาสได้พบเห็ดนิ้วปีศาจในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูงอีกด้วย