- 11 มิ.ย. 2568
“อุ๊ หฤทัย” สวนกลับ “ปิยบุตร” อย่างดุเดือด! ย้ำ "รักชาติไม่ใช่คลั่งชาติ" เราควรตั้งคำถามอย่างจริงจังว่า ใครกันแน่ที่ทำตัวเป็นประโยชน์กับสังคมไทย?
"อุ๊ หฤทัย ม่วงบุญศรี" อดีตนักร้องดัง ได้ออกมาแสดงความเห็น สวน "ปิยบุตร แสงกนกกุล" ระบุผ่านเฟซบุ๊ก หฤทัย ม่วงบุญศรี เผยว่า
“รักชาติ ไม่ใช่คลั่งชาติ – เสาหลักของไทยคือร่มเงาที่ประชาชนร่วมกันสร้าง”
ในโลกนี้ไม่มีระบอบใดที่สมบูรณ์แบบ แต่ละประเทศมีรูปแบบเฉพาะของตนเองซึ่งเติบโตขึ้นมาจากประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เช่น จีนมีประชาธิปไตยแบบจีน บรูไนมีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อเมริกามีประชาธิปไตยแบบสหรัฐ ทุกประเทศมีปัญหาเฉพาะตัว แต่สิ่งสำคัญคือ “จิตวิญญาณของชาติ” ซึ่งไม่ใช่เรื่องของกฎหมายหรือโครงสร้าง แต่คือการร่วมกันรักษา “สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าเรายังเป็นครอบครัวเดียวกัน”
ดังนั้น การรักชาติไม่ใช่การกีดกันชาติอื่น ไม่ใช่ความเกลียดชัง แต่มันคือการรู้คุณบ้านเกิด รู้คุณคนรุ่นก่อน และพยายามทำสิ่งที่ดีที่สุดให้คนรุ่นถัดไป หากใครเห็นต่างย่อมมีสิทธิที่จะเสนอความคิดใหม่ แต่อย่าพยายามทำลายเสาหลักที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังยึดมั่น เพราะนั่นไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่มันคือการลบหลู่ความเชื่อของคนส่วนใหญ่
โดยการจงใจปั่นหัวเยาวชนให้เกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างสิทธิเสรีภาพในแบบที่ผิดเพี้ยนจากหลักความเป็นจริงทางกฎหมาย
มีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่หลงเชื่ออาจารย์คนนี้ นำพาตนเองเข้าไปสู่เส้นทางแห่งการกระทำผิดกฎหมายอย่างน่าเวทนา หลายคนต้องติดคุก สูญเสียโอกาสทางการศึกษา อนาคตพังทลายโดยที่พวกเขาเอง ยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่า “สิทธิเสรีภาพ” ที่แท้จริงนั้นมีขอบเขตอยู่ตรงไหน
ในข้อเท็จจริง สิทธิเสรีภาพไม่ใช่ใบเบิกทางให้คุณสามารถละเมิดสิทธิผู้อื่นได้ ทุกคนบนผืนแผ่นดินนี้ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่างได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันทั้งสิ้น หากคุณใช้เสรีภาพของคุณไปก้าวล่วง ดูหมิ่น รังแก หรือยุยงปลุกปั่นให้สังคมแตกแยก นั่นไม่ใช่ “เสรีภาพ” แต่คือ “ความรับผิด” ที่จะต้องตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การกระทำของอาจารย์ท่านนี้ที่ พยายามเสนอแนวความคิด อ้างว่าเป็นวิชาการ(ล่ม)ชักนำเด็กๆให้หลงไปในเส้นทางของความก้าวร้าว สุดท้ายเด็กๆจะสร้างความเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันหลักของชาติ โดยการใช้ถ้อยคำรุนแรง บิดเบือนประวัติศาสตร์ และสั่นคลอนหลักยึดเหนี่ยวของคนไทยนั้น ไม่เพียงแค่ทำลายสังคม แต่ยังทำลายชีวิตของเยาวชนไปด้วย
เราควรตั้งคำถามอย่างจริงจังว่า ใครกันแน่ที่ทำตัวเป็นประโยชน์กับสังคมไทย?
บรรพบุรุษอพยพหนีความเท่าเทียมมาทำไม? จะมาเรียกร้องอะไรที่นี่ พ่อแม่บรรพบุรุษมาประเทศไทยทำไม?
หฤทัย ม่วงบุญศรี
9 มิถุนายน พ.ศ.2568