สื่อนอกแฉ พนง.ในโรงงานไทยที่เย็บเสื้อทีมชาติอังกฤษ ได้ค่าแรงไม่ถึง 43/ชม.

สื่อนอกแฉ พนักงานในโรงงานไทยที่เย็บเสื้อทีมชาติอังกฤษ ได้ค่าแรงไม่ถึง 43/ชม. แต่เอาไปขายตัวละไม่ต่ำกว่า 3,200

สื่อนอกแฉ พนง.ในโรงงานไทยที่เย็บเสื้อทีมชาติอังกฤษ ได้ค่าแรงไม่ถึง 43/ชม. กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันที เมื่อสื่ออังกฤษอย่าง Mirror แฉคนงานในโรงงานไทยที่เย็บเสื้อทีมชาติอังกฤษ 115 ตัว เพื่อใช้ในการสู้ศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ ได้ค่าแรงไม่ถึง 1 ปอนด์ต่อชั่วโมง แต่ราคาขายจริงตัวละไม่ต่ำกว่า 75 ปอนด์ หรือ 3,200 บาท

 

สื่อนอกแฉ คนงานในโรงงานไทยที่เย็บเสื้อทีมชาติอังกฤษ ได้ค่าแรงไม่ถึง 43/ชม. แต่เอาไปขายตัวละไม่ต่ำกว่า 3,200

โดย Mirror ได้ทำรายงานเชิงสืบสวนว่า คนงานในโรงงานผลิตเสื้อฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ ได้ค่าแรงชั่วโมงละไม่ถึง 1 ปอนด์ หรือ 43 บาท สำหรับเสื้อที่้ใช้แข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ จำนวน 115 ตัว ขณะเดียวกันก็พบว่าราคาเสื้อฟุตบอลทีมชาติอังกฤษพุ่งยิ่งกว่าอัตราเงินเฟ้อ 


ซึ่งเมื่อปี 2551 ราคาเสื้อไซซ์ผู้ใหญ่อยู่ที่ 40 - 56 ปอนด์ หรือ ราวๆ 1,700 - 2,400 บาท แต่ปัจจุบันราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 75 ปอนด์ หรือประมาณ 3,200 บาท ส่วนเสื้อไซซ์เด็กราคาตัวละ 59.95 ปอนด์ หรือ 2,500 บาท แต่ถ้าจะเพิ่มชื่อกับหมายเลขต้องเพิ่มอีก 15 ปอนด์ หรือ ราวๆ 640 บาท ทำให้พ่อแม่บางคนต้องระบายความไม่พอใจลงในโซเชียลมีเดีย เพราะแม้กระทั่งเวอร์ชั่น "ทีมชาติหญิง" ก็แพงด้วย


ทั้งนี้ พ่อคนหนึ่งบอกว่า กำลังจะไปซื้อเสื้อฟุตบอลหญิงทีมชาติอังกฤษที่เพิ่งคว้าแชมป์ Euro 2022 ให้ลูกคนโต ก็พบว่าราคาสูงลิ่วถึงตัวละ 60 ปอนด์ หรือ 2,500 บาท ไม่ต่างอะไรกับการถูกปล้นกลางวันแสกๆ อีกคนบอกว่าไม่อยากจะเชื่อเลยจริงๆ ว่า ผู้คนจะยอมจ่ายเงินแพงๆ เพื่อซื้อเสื้อฟุตบอลอังกฤษรุ่นล่าสุด ใครก็ตามที่ซื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เผชิญวิกฤตทางการเงินแบบนี้ ต้องมีเงินมากกว่าสติแน่ๆ

สื่อนอกแฉ คนงานในโรงงานไทยที่เย็บเสื้อทีมชาติอังกฤษ ได้ค่าแรงไม่ถึง 43/ชม. แต่เอาไปขายตัวละไม่ต่ำกว่า 3,200

ในเว็บไซต์ของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (FA) ไม่ได้เปิดเผยว่า เสื้อฟุตบอลทีมชาติผลิตที่ไหน แต่ป้ายข้างในระบุว่า "made for Nike in Thailand" ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป (Garment) ในเยอรมนีระบุว่า ต้นทุนการผลิตเสื้อที่โรงงานแห่งนี้น่าจะอยู่ที่ตัวละ 11 - 12 ปอนด์ (470-512 บาท) โดยเป็นต้นทุนวัสดุประมาณ 7.50 ปอนด์ (320 บาท) อีก 3 ปอนด์ (120 บาท) เป็นค่า "CMT" (ตัดและเย็บ) บวกค่าแรง ที่เหลือเป็นกำไรอีกราว 1.50 ปอนด์ (60 บาท) 


โรงงานที่ผลิตเสื้อฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ ซึ่งถูกตัดเย็บที่โรงงาน  Hi-Tech Apparel ในกรุงเทพฯ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดย Mirror อ้างว่าคนงานหลายคนเปิดเผยว่า เมื่อต้นปีได้ค่าแรงวันละ 331 บาท ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำ แต่พอถึงเดือนตุลาคมค่าแรงได้เพิ่มเป็นวันละ 353 บาท ทางโรงงานปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ โดยยึดความสัมพันธ์กับ FA และบอกให้ไปถามกับ Nike โดยตรง แต่คนงานยืนยันว่าโรงงานแห่งนี้ผลิตเสื้อฟุตบอลทีมชาติอังกฤษให้ FA จริง 


คนงานคนหนึ่งบอกว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตเสื้อแข่งขันให้กับทีมระดับเวิลด์-คลาสส์ อย่างทีมชาติอังกฤษ และบอกด้วยว่าเสื้อทีมชาติอังกฤษถูกผลิต ออกแบบ และตัดเย็บที่นี่มาค่อนข้างนาน ตั้งแต่ก่อนโควิด 


คนงานบอกด้วยว่าพวกเขาทำงานสัปดาห์ละ 60 ชั่วโมง หรือวันละ 8 - 11 ชั่วโมง แต่ได้รับเงินค่าล่วงเวลา รวมถึงโบนัสถ้าสามารถผลิตผลงานได้ตามเป้า แต่ที่โรงงานไม่มีสหภาพแรงงานและมีนโยบายห้ามใช้โทรศัพท์ระหว่างการทำงาน และห้ามถ่ายรูป

 

สื่อนอกแฉ คนงานในโรงงานไทยที่เย็บเสื้อทีมชาติอังกฤษ ได้ค่าแรงไม่ถึง 43/ชม. แต่เอาไปขายตัวละไม่ต่ำกว่า 3,200

เมื่อเสื้อถูกส่งไปสหราชอาณาจักรก็จะต้องถูกบวกภาษีนำเข้าอีก 32% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 19 ปอนด์ แต่โดยรวมแล้ว เชื่อว่า Nike ยังมีกำไรระหว่าง 10%  - 15% เมื่อปีที่แล้ว Nike ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่รัฐโอเรกอน สหรัฐฯ มีรายได้ 10,200 ล้านปอนด์ หรือ ราวๆ 436,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นกำไร 1,180 ล้านปอนด์ หรือ มากกว่า 50,000 ล้านบาท 


ส่วน FA ไม่ยอมเปิดเผยว่ามีรายได้จากการจำหน่ายเสื้อฟุตบอลทีมชาติอังกฤษเท่าไหร่ แต่ตอนที่ลงนามเซ็นสัญญากับ Nike เมื่อปี 2557 ก็พบว่า FA มีรายได้จากการขายเสื้อฟุตบอลทีมชาติปีละ 100 ล้านปอนด์ (4,200 ล้านบาท) มาอย่างต่อเนื่อง 


Nike ระบุว่าภูมิใจที่ได้ออกแบบเสื้อให้แก่ทีมชาติอังกฤษ ที่ผสมผสาน "นวัตกรรมประสิทธิภาพสูงเข้ากับความยั่งยืน" และบอกด้วยว่า "เราผลิตเสื้อออกมาในหลายราคา ดังนั้นผู้บริโภคจึงมีทางเลือก ราคาได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย รวมถึงต้นทุนของวัสดุประสิทธิภาพ, R&D (การวิจัยและพัฒนา, การออกแบบ, การผลิต ตลอดจนการวางแผนการขายด้วย 


อย่างไรก็ตาม ทีมชาติอังกฤษที่ได้สวมใส่เสื้อรุ่นล่าสุดทำการแข่งขันฟุตบอลโลก2022 ก็ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อพวกเขาเอาชนะอิหร่านในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบแรก นักแรกที่ประเทศกาตาร์ไปถึง 6 - 2 

สื่อนอกแฉ คนงานในโรงงานไทยที่เย็บเสื้อทีมชาติอังกฤษ ได้ค่าแรงไม่ถึง 43/ชม. แต่เอาไปขายตัวละไม่ต่ำกว่า 3,200
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainewsonline