เรื่องจริงแซ่บยิ่งกว่าละคร! ที่มาเพลิงพระนาง! นางพญาผู้กุมบัลลังก์พม่า ราชินีเลือดเย็นการฆ่าล้างโคตรที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก!

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://www.tnews.co.th

พระนางศุภยาลัต ราชินีในพระเจ้าธีบอหรือพระเจ้าสีป่อกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพม่า

เรื่องจริงแซ่บยิ่งกว่าละคร! ที่มาเพลิงพระนาง! นางพญาผู้กุมบัลลังก์พม่า ราชินีเลือดเย็นการฆ่าล้างโคตรที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก!

 

พระนาง "ศุภยาลัต" ประสูติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เป็นพระราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญาของพม่า ประสูติแด่พระเจ้ามินดง กับพระนางชินพยูมาชิน (Hsin byu mashin / พระนางช้างเผือก) หรือที่รู้จักกันในนามพระนาง "อเลนันดอ"

ด้วยความทะเยอทะยานของพระนางศุภยาลัต พระองค์จึงได้เป็นพระราชินีในพระเจ้าธีบอกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพม่า

 

พระประวัติ

พระ นางศุภยลัต เป็นราชบุตรีของพระเจ้ามินดง กับมเหสีรองคือพระนางอเลนันดอ พระนางศุภยาลัตมีพระเชษฐภคินี(พี่สาว) คือ พระนางศุภยาคยี และมีพระขนิษฐา(น้องสาว)คือเจ้าหญิงศุภยากเล อุปนิสัยของพระนางศุภยลัตมี ลักษณะเหมือนพระราชมารดา คือ มีความทะเยอทะยาน เจ้ากลอุบาย ใจร้าย ขี้หึง อาจเป็นเพราะเชื้อสายดั้งเดิมเนื่องจากยายของพระนางเป็นแม่ค้าขายของในตลาด มาก่อน ซึ่งมีนิสัยที่มิใช่กุลสตรีในวังหลวง

เรื่องจริงแซ่บยิ่งกว่าละคร! ที่มาเพลิงพระนาง! นางพญาผู้กุมบัลลังก์พม่า ราชินีเลือดเย็นการฆ่าล้างโคตรที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก!

พระเจ้ามินดง พระราชบิดาของพระนางนางศุภยลัต มีพระชายา 45 พระองค์ พระราชโอรส 53 พระองค์ พระราชธิดา 81 พระองค์ ในจำนวนนี้มีเจ้าฟ้า "นยองยาน" กับเจ้าฟ้า "นยองโอ๊ก" ที่มีความสามารถโดดเด่น เหมาะสมที่จะขึ้นครองราชย์ เพราะทั้งสองพระองค์เรียนจบโรงเรียนฝรั่ง มีความฉลาดและเข้มแข็ง แต่พระนางอเลนันดอและขุนนางเห็นว่าจะคุมได้ยาก จึงเลือกเจ้าฟ้าสีป่อที่อ่อนแอกว่า ซึ่งทรงผนวชเป็นพระมาตลอด มีอุปนิสัยเชื่องช้า หัวอ่อน และพระเจ้ามินดงเองก็เกรงพระทัยมเหสีรอง จึงไม่ได้ตั้งเจ้าฟ้าพระองค์ใดเป็นรัชทายาทโดยเด็ดขาด

Samsung SMART Flat TV 55 "Crystal UHD 4K คลิ๊ก
TCL 55 นิ้ว 4K QLED Android 9.0 TV Smart TV คลิ๊ก

การยึดอำนาจ

เมื่อพระเจ้ามินดงทรงพระประชวรหนัก พระนางอเลนันดอจึงเรียกพวกเสนาบดีประชุมในที่รโหฐานและประกาศตั้งเจ้าฟ้าสีป่อเป็นรัชทายาท ไล่จับกุมบรรดาเจ้าฟ้าและขุนนางฝ่ายตรงข้ามไปจองจำมากมาย แม้นในคราวที่พระเจ้ามินดงเรียกหาบรรดาเจ้าฟ้าองค์อื่นๆ ให้เข้าเฝ้า ก็จะปล่อยตัวมาให้เข้าเฝ้า แต่พอกลับออกจากห้องบรรทม ก็จับไปจองจำเช่นเดิม

 

เมื่อพระเจ้ามินดงสวรรคตแล้ว ก็ได้ตั้งเจ้าฟ้าสีป่อขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกรุงพม่า และพระมเหสีและพระมารดากับกลุ่มขุนนางก็จัดการสังหารบรรดาเจ้าฟ้าพี่น้องของตนเอง และบริวารรวมกันถึงราว 500 กว่าคน

หากเจ้าชายองค์ใดถูกปลงพระชนม์ เจ้าจอมมารดา พระญาติและบรรดาลูกๆ รวมทั้งเจ้าน้ององค์หญิงเจ้าชายองค์นั้น ซึ่งมีทั้งผู้เฒ่าชราและแม้แต่เด็กจนถึงทารกไร้เดียงสาก็ถูกสังหารจนสิ้น ด้วยสารพัดวิธีอันหฤโหด ขุนนางที่เคยรับใช้หรือญาติทางฝ่ายจอมมารดาก็จับฆ่าเสียสิ้นเหมือนกัน ด้วยพิธีที่พิสดาร และตามแต่เพชฌฆาตจะเห็นควร ซึ่งเจ้าฟ้าที่มียศศักดิ์สูงจะได้รับความเจ็บปวดน้อยกว่าคนอื่นๆ

การสังหารหมู่ดังกล่าวใช้เวลาอยู่สามวันจึงสังหารได้หมด เพราะต้องฆ่าที่วังแต่เวลากลางคืน เพื่อไม่ให้พวกชาวเมืองรู้

เรื่องจริงแซ่บยิ่งกว่าละคร! ที่มาเพลิงพระนาง! นางพญาผู้กุมบัลลังก์พม่า ราชินีเลือดเย็นการฆ่าล้างโคตรที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก!

วิธีการที่พระนางศุภยาลัตทรงใช้กลบเกลื่อนการสังหารคือให้จัดงานปอยหลวงตลอดสามวัน ให้ชาวเมืองเที่ยวงานให้สนุก พระเจ้าธีบอ(สีป่อ)ก็จัดให้ดื่มน้ำจัณฑ์จนเมามายเพื่อไม่ให้สนใจการสังหารครั้งนั้น เมื่อสังหารแล้วก็จับโยนใส่หลุมใหญ่ข้างวังรวมกัน แล้วเอาดินกลบ แต่พอพ้นสามวัน ศพเหล่านั้นเริ่มขึ้นอืดจนเนินหลุมที่ฝังพูนขึ้น ก็เอาช้างหลวงมาเหยียบย่ำให้ดินที่นูนขึ้นมานั้นแบนราบลง แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถปิดบังหลุมใหญ่นั้นได้ เพราะจำนวนศพมีมากจนดันเนินดินให้นูนขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า สุดท้ายก็ต้องให้ขุดศพใส่เกวียนไปฝังบ้าง ทิ้งน้ำบ้าง จนเป็นเรื่องที่มีการเล่าขานมากที่สุดคือการสำเร็จโทษเหล่าพระบรมวงศ์สานุวงศ์น้อยใหญ่ เป็นเวลา 3 คืน เล่ากันว่าคืนนั้นสุนัขเห่าหอนทั้งคืน จนชาวเมืองผวาไม่เป็นอันหลับอันนอน พระนางจัดให้เอาวงดนตรีปี่พาทย์ การแสดงต่างๆ มาบรรเลงในวังตลอดเวลาที่ทำการสำเร็จโทษพวกเจ้านาย เพื่อให้เสียงดนตรีปี่กลองกลบเสียงกรีดร้องขอชีวิต หากดังไม่พอ เสียงฮาจะช่วยได้มาก พระนางส่งสัญญาณให้คนร้องร้องดังขึ้น เล่นตลกให้ดังขึ้น และพระสรวลดังๆ

 

เรื่องจริงแซ่บยิ่งกว่าละคร! ที่มาเพลิงพระนาง! นางพญาผู้กุมบัลลังก์พม่า ราชินีเลือดเย็นการฆ่าล้างโคตรที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก!

(ทหารอังกฤษยืนเข้าแถวหน้าตำหนักทองคำ พระราชวังมัณฑเล)

แต่บางครั้งมีเสียงหวีดมาแต่ไกล พระเจ้าสีป่อจึงหันไปทางต้นเสียง พระนางศุภยาลัตก็หันมาถลึงพระเนตร กับปี่พาทย์ ส่วนนางพนักงานก็รีบรินน้ำจัณฑ์ใส่ถ้วยทองถวายถึงพระหัตถ์พระเจ้าสีป่อ แต่มีบางความเห็นของนักประวัติศาสตร์ที่เชื่อว่าแผนการสังหารโอรสธิดานี้เป็นการจัดการของ "พระนางอเลนันดอ" ร่วมกับ "เกงหวุ่นเมงจี" (แตงดาวุ่นกี้) โดยพระนางศุภยาลัตไม่ได้เป็นผู้วางแผนหลัก

 

พระนางสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ขณะพระชนมายุ 65 พรรษา การจัดการพระศพก็เป็นไปอย่างธรรมดา ไม่มีพิธีรีตอง ไม่ต่างจากคนทั่วไป ไม่เหลือเค้าโครงใดๆให้เห็นว่าครั้งหนึ่งนางเคยเป็นพระราชินีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของพม่า

เรื่องจริงแซ่บยิ่งกว่าละคร! ที่มาเพลิงพระนาง! นางพญาผู้กุมบัลลังก์พม่า ราชินีเลือดเย็นการฆ่าล้างโคตรที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก!

(กู่บรรจุอัฐิของพระนางศุภยาลัต อยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ชเวดากอง)

ปัจจุบันยังมีที่ฝังพระศพอยู่ในย่างกุ้ง โดยรัฐบาลอังกฤษจัดการให้ตามธรรมเนียม แต่ไม่อนุญาตให้เชิญพระศพขึ้นไปที่ราชธานีกรุงมัณฑะเลย์ คงอนุญาตเพียงแต่ทำเป็นมณฑปบรรจุพระอัฐิ อยู่ที่ถนนเจดีย์ชเวดากอง (Shwe Dagon Pagoda Rd.) ห่างจากบันไดด้านทิศใต้ของพระเจดีย์ชเวดากองมาประมาณ 200 เมตร สร้างเป็นกู่ทรงมณฑปยอดปราสาทแบบพม่า ก่ออิฐฉาบปูนขาว รูปทรงคล้ายที่ฝังพระศพของพระเจ้ามินดงในกรุงมัณฑะเลย์

ข่าว : ไญยิกา เมืองจำนงค์ (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)