- 06 เม.ย. 2560
- 0
ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th
ตะกรุดเสาร์๕ แสนยานุภาพ 109 ปี หลวงปู่แสน วัดบ้านหนองจิก
อีกหนึ่งอริยสงฆ์แห่งแดนอีสานใต้ ผู้ได้รับขนานนามว่า "เทพเจ้า 109 ปี" สุดยอดพระเกจิ 6 แผ่นดิน ได้จัดสร้างตะกรุดเสาร์๕ แสนยานุภาพ ตำหรับโบราณขนานแท้!! โดยกรรมวิธีชั้นตอนในการจัดสร้างตามแบบฉบับโบราณ "จารมือ" ลงประทับยันต์มหาบารมี 30 ทัศ และ ยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสุดยอดยันต์ในตำราโบราณ นำมาม้วนแล้วพอกด้วยผงว่านพุทธคุณเพื่อความเข้มขลังอย่างที่สุด นอกจากนี้ยังได้นำผงพระเก่า ผงพุทธคุณ และจีวรหลวงปู่มาบรรจุภายใน พร้อมอุดด้วยชันโรงใต้ดินตามตำหรับโบราณขนาดแท้!! ตอกโค๊ตและหมายเลขกำกับทุกดอก!!
รายการจัดสร้าง
1. เนื้อทองแดงนำฤกษ์ ขนาด 5 นิ้ว พอกผง ปิดทอง อุดมวลสารเก่า จำนวนสร้าง 55 ดอก จองดอกละ 1,000 บาท
2. เนื้อตะกั่ว ขนาด 3 นิ้ว พอกผง อุดมวลสารเก่า จำนวนสร้าง 60 ดอก จองดอกละ 500 บาท
3. เนื้อเงิน ขนาด 3 นิ้ว พอกผง ปิดทอง อุดมวลสารเก่า จำนวนสร้าง 99 ดอก จองดอกละ 1,000 บาท
4. เนื้อทองแดง ขนาด 3 นิ้ว พอกผง อุดมวลสารเก่า จำนวนสร้าง 299 ดอก จองดอกละ 300 บาท
***ปลุกเสกนำฤกษ์ วาระเสาร์๕
>>>สั่งจองได้แล้ววันนี้ตามศูนย์จองพระชั้นนำทั่วประเทศ<<<
ประวัติหลวงปู่แสน ปสนฺโน
ชื่อเดิม ปู่แสน คุ้มครอง เกิดขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ปีวอก ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2451 เป็นบุตรของพ่อเอี้ยง คุ้มครอง และ แม่ผัน คุ้มครอง มี่พี่น้องต่างมารดาร่วม 6 คน หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ 3 (ปัจจุบันเหลือหลวงปู่ผู้เดียว) พื้นเพเป็นคนบ้างโพง ต.ไพรบึง อ.ขุขันธ์ จ.ขุขันธ์ (ปัจจุบัน ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ) เมื่อครั่นยังเด็กหลวงปู่เป็นลูกศิษย์อยู่ที่วัดบ้านโพรงและพี่ชายซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านโพงในสมัยนั้นเลี้ยงดู จนได้บวชเณรที่วัดบ้านโพรง ระหว่างบวชเณรได้ไปศึกษาเรียนหนังสือกับหลวงพ่อมุมวัดปราสาทเยอใต้จนจบ ป.4 และได้เรียนตำราพระเวชจากหลวงพ่อมุมทั้งภาษาขอม ภาษาธรรมบาลี ระหว่างเป็นเณรก็ได้เที่ยวไปมาระหว่างบ้านปราสาทเยอใต้และบ้านโพง จนกระทั่งอายุ 21 ปีได้เข้าอุปสมบท ระหว่างเป็นพระก็ยังคงเรียนรู้วิชากับพระอาจารย์มุมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งอายุ 24 ปี ได้ลาสิขาบทออกมาเพื่อมาช่วยงานทางบ้านที่มีฐานะยากจน หลังจากสึกได้บวชเป็นหมอธรรมขณะที่เป็นฆราวาส ระหว่างว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรม หลวงปู่ได้ชักชวนเพื่อนๆหมอธรรมเดินทางไปเขมรเพื่อเรียนเพิ่มเติมที่จังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคารมเป็นนายก ได้เข้าพบพระผู้ใหญ่และอาจารย์จากทางเขมรแล้วได้ร่ำเรียนมาไม่น้อย หลวงปู่ท่านกลับเลือกเรียนวิชาที่เกี่ยวกับช่วยเหลือผู้คน รักษาคน
ต่อมาพอหมดภาระทางบ้านหลวงปู่ได้กลับเข้าใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรราที่บ้านกุดเสล่า อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ก็ได้ธุดงค์ในเทือกเขาพนมดงรัก เป็นนิจ และเป็นพระที่อยู่อย่างสมถะ ไม่มักมาก ไม่ยึดติด เป็นพระนักสร้าง ชาวบ้านกุดเสล่าจึงรักและศรัทธาท่านมาก ต่อมาหลวงตาวันพระที่เป็นสหายรุ่นน้องจึงได้ไปกราบนิมนต์มาช่วยสร้างวัด โดยเจ้าขณะอำเภอกันทรลักษณ์อนุญาตให้หลวงปู่ไปอยู่ที่วัดเป็นวัดที่สมบูรณ์แล้ว หลวงปู่จึงมาจำพรรษาที่วัดอรุณสว่างวราราม(วัดบ้านกราม) แต่ด้วยมักสมถะ ปีต่อมาจึงย้ายมาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์โนนไทย (วัดกูไทยสามัคคีในปัจจุบัน) อยู่จำพรรษา 3 พรรา ต่อมาได้จำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิกเนื่องด้วยวัดจะร้างเพราะพระน้อย หลวงปู่จึงเข้ามาทำนุบำรุงวัดจนวัดมีพระเข้ามารับช่วงต่อ ท่านได้จำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิกเป็นเวลา 4 พรรษา โยมญาติพี่น้องเก่าจึงได้เดินทางมานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพง วัดครั้นสมัยบวชเณรเนื่องจากวัดจะร้างไม่มีพระจำพรรษา เนื่องจากหลวงปู่ท่านเป็นพระที่มีเมตตาแม้อายุจะย่างเข้า 93 ปีท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพงโดยรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดในช่วงนั้น ด้วยพระเดชของหลวงปู่วัดใดที่จะร้าง เมื่อท่านไปจำพรรษาวัดใด วัดนั้นก็จะเต็มไปด้วยลูกวัด ในขณะที่จำพรรษาอยู่วัดบ้านโพงก็ได้ทำนุบำรุงวัดเฉกเช่นวัดอื่น จนอายุ 97 ปี ลูกหลานเป็นห่วงสุขภาพหลวงปู่จึงได้พาชาวบ้านไปนิมนต์หลวงปู่จากวัดบ้านโพงกลับมาจำพรรษา
ที่มา พระเครื่องณ มงคลบารมี
www.amuletststore.in.th