น้อมรำลึก เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี

เนื่องในวันที่ ๒๗ มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หรือ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื่องในวันที่ ๒๗ มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หรือ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "สยามมกุฎราชกุมาร" พระองค์แรกของประเทศไทย แต่หลังจากดำรงตำแหน่งสยามกุฎราชกุมารได้เพียง ๘ ปี ก็เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา

 

น้อมรำลึก เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี

 

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๗ แรม ๑๒ ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๔๐ ตรงกับวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑

เดิมทีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบอกพระนามสมด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ว่า มหาอุณหิศ แต่ด้วยทรงเห็นว่าเมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษแล้วอาจจะอ่านได้ว่า อุณหิศ หรือ อันหิศ ก็ได้ จึงมีพระราชหัตถ์ถึงพระยาอัษฎางค์เปลี่ยนพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่เสียใหม่ว่า มหาวชิรุณหิศ ซึ่งแปลว่า มงกุฎเพชรใหญ่

 

น้อมรำลึก เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี

 

พระองค์มีพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดา ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์, สมเด็จเจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร, สมเด็จเจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)

ภายหลังการเสด็จทิวงคตของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ก็ไม่มีการสถาปนาผู้ใดขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและอาจทำให้ชาวต่างประเทศเข้าใจสับสน และมีพระราชดำริว่า พระราชอิสริยยศ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช" ซึ่งเรียกว่า "สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า" ที่ได้ตั้งขึ้นไว้ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เป็นตำแหน่งที่สอดคล้องตามแบบอย่างการสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ในนานาอารยประเทศที่มีราชประเพณีแต่งตั้งพระราชโอรสองค์ใหญ่เป็นมกุฎราชกุมารดำรงตำแหน่งรัชทายาท

 

น้อมรำลึก เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี

 

ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีมหาพิไชยมงคลลงสรงสนานเฉลิมพระปรมาภิไธยสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ มีพระนามตามจารึกสุพรรณบัฏว่า

"สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรสมมติเทพยวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสูริย์ขัตติยสันตติวงศ์ อุกฤษฐพงศ์วโรภโตสุชาต ธัญญลักษณวิลาสวิบุลยสวัสดิ์สิริวัฒนราชกุมาร"

 

น้อมรำลึก เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี

 

นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตำแหน่ง "สยามมกุฎราชกุมาร" เป็นตำแหน่งรัชทายาท แทนตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในการนี้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้ส่งโทรเลขมาอำนวยพรสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารด้วย

 

น้อมรำลึก เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี

 

เมื่อพระองค์ทรงเจริญพระชนมายุเข้าสู่วัยหนุ่ม มีพระโฉมงดงามเป็นสง่า และทรงด้วยพระสติปัญญารอบรู้ ประกอบกับการอบรมสั่งสอนจากพระราชบิดาอย่างใกล้ชิด กระนั้นก็ทรงเป็นราชโอรสที่ซุกซนโลดโผน ห้าวหาญ และแข็งกล้าอย่างเด็กผู้ชาย ขณะที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (ต่อมาคือ มกุฏราชกุมารองค์ต่อมา) พระอนุชาต่างพระมารดา กลับมีอุปนิสัยสุภาพอ่อนโยน โปรดการนั่งพับเพียบเรียบร้อยเฉย ๆ ทั้งสองพระองค์จึงถูกชาววังเปรียบเทียบว่าทรงแตกต่างดั่ง "พระอาทิตย์" กับ "พระจันทร์"

 

น้อมรำลึก เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี

 

เมื่อครั้งนั้นพระองค์มีพระหฤทัยผูกพันกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี พระภคินีต่างพระมารดาที่มีพระชันษาแก่กว่าพระองค์เพียง ๑๐ เดือน เหตุที่มีพระทัยสนิทเสน่หา สืบเนื่องมาจากความใกล้ชิดเมื่อครั้งทรงรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระราชชนกด้วยกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกิจอันเป็นความลับของประเทศ ทรงมิไว้วางพระทัยผู้ใดให้ทำหน้าที่ใกล้ชิดเกี่ยวกับการนี้ โปรดเกล้าฯให้แต่เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์เข้าเฝ้าใกล้ชิดตลอดเวลา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ประชวรด้วยพระโรคไข้รากสาดน้อย เสด็จสวรรคตเมื่อวันศุกร์ เดือน ๒ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมะเมียฉศก จ.ศ. ๑๒๕๖ ตรงกับวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ขณะมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ๖ เดือน กับ ๗ วัน