หมอแนะเทคนิคง่ายๆ ความแตกต่าง ประคบร้อน-เย็น

เรียกได้ว่าหลายครั้งที่เราเกิดแผลพกช้ำหรืออักเสบที่กล้ามเนื้อก็ได้แต่สงสัยว่าอาการเช่นนี้ควรจะปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร แผลแบบไหนควรประคบร้อน แบบไหนควรประคบเย็น วันนี้เราจึงได้นำเคล็ดลับดีๆที่จะช่วยให้คุณเข้าใจและแยกการใช้ง่ายได้อย่างง่ายไม่ลืมอีกต่อไป จากคุณหมอ เจ้าของเพจ ด๊อกเตอร์ หมอหมี 

 

หมอแนะเทคนิคง่ายๆ ความแตกต่าง ประคบร้อน-เย็น

 

โดยสิ่งแรกที่ควรรู้คือการประคบร้อนหรือเย็นเป็นวิธีหนึ่งในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ ทั้งอาการปวดที่เกิดจากการเจ็บป่วย มีไข้ หรือการได้รับบาดเจ็บระหว่างเล่นกีฬา วิ่งเล่น ซึ่งอาจมีได้ตั้งแต่ การหกล้ม ศีรษะกระแทกจากการปะทะ การบาดเจ็บ ฟกช้ำของส่วนต่างๆของร่างกาย การจะเลือกใช้ความร้อนหรือเย็นนั้นมีข้อที่ต้องพิจารณาเบื้องต้น คือ ถ้าเกิดการบาดเจ็บเฉียบพลันร่วมกับมีการบวม ควรเลือกใช้ความเย็น เพราะความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลงและช่วยลดบวมได้ แต่ถ้าเป็นการปวดแบบเป็นๆหายๆ มีอาการมานานหรือเรื้อรัง หรือปวดร่วมกับมีอาการตึงกล้ามเนื้อ ควรใช้ความร้อน เพราะความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว การไหลเวียนเลือดดีขึ้นจึงลดอาการปวดและตึงกล้ามเนื้อได้

 

หมอแนะเทคนิคง่ายๆ ความแตกต่าง ประคบร้อน-เย็น

 

ควรประคบเย็นเมื่อไหร่

หากมีอาการปวดหรือได้รับบาดเจ็บควรประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็นทันที (ภายใน 24-48 ชั่วโมง) ประคบนาน 20-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเพิ่งมีอาการใหม่ๆ

 

หมอแนะเทคนิคง่ายๆ ความแตกต่าง ประคบร้อน-เย็น

 

อาจใช้เจลสำหรับประคบร้อนเย็นแบบสำเร็จรูปหรือทำถุงน้ำแข็งขึ้นใช้เอง โดยการใช้ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะแล้วเติมน้ำเปล่าผสมน้ำแข็งอย่างละครึ่งลงไปในถุง ตรวจสอบว่าไม่เย็นเกินไปโดยการนำมาประคบผิวหนัง ถ้าบริเวณที่มีอาการเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้า อาจใช้การแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเย็นแทน โดยแช่นานประมาณ 15-20 นาที

 

หมอแนะเทคนิคง่ายๆ ความแตกต่าง ประคบร้อน-เย็น

 

ควรประคบร้อนเมื่อไหร่

การประคบร้อนจะเริ่มใช้หลังจากมีอาการผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมง ให้ประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อลดอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อาการที่ควรประคบร้อน เช่น ปวดตึงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า หลัง น่อง ปวดประจำเดือน อาจใช้เจลสำหรับประคบร้อนเย็นแบบสำเร็จรูป ใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรืออาจใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 45 องศาเซลเซียส 

 

หมอแนะเทคนิคง่ายๆ ความแตกต่าง ประคบร้อน-เย็น

 

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ไม่ควรประคบด้วยความร้อนที่มากเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ประคบ ไม่ควรประคบนานหรือถี่เกินไป และต้องไม่ประคบร้อนในบริเวณที่มีบาดแผลเปิดหรือมีเลือดออก เพราะจะยิ่งทำให้มีการอักเสบเพิ่มมากขึ้น จะประคบร้อนได้ก็ต่อเมื่อการอักเสบน้อยลงแล้ว ซึ่งสังเกตได้จากไม่มีอาการบวม แดง ร้อน

 

หมอแนะเทคนิคง่ายๆ ความแตกต่าง ประคบร้อน-เย็น

 

ผลของประคบร้อนและผลของประคบเย็นมีดังนี้

-ใช้ความเย็นประคบให้ได้ผลดี: ควรประคบภายใน 24 - 48 ชั่วโมงแรกหลังได้ รับบาดเจ็บ เพราะจะช่วยในการควบคุมการเสียเลือดโดยทำให้หลอดเลือดหดตัว และยังช่วยลดความปวดและลดบวมได้

-ใช้ความร้อนประคบให้ได้ผลดี: ควรประคบหลัง 48 ชั่วโมงแรกจากการบาดเจ็บ เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพของเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ ความร้อนทำให้หลอดเลือดขยายตัวเพิ่มการไหลเวียนเลือด จะสังเกตเห็นว่า บริเวณที่ประคบร้อน ผิวหนังจะมีสีแดงและอุ่น ส่งผลให้ออก ซิเจน เม็ดเลือดขาว และสารต่อต้านเชื้อโรค เคลื่อนเข้ามาที่เนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น ความร้อนทำให้ผนังหลอดเลือดฝอยขยายตัว จึงทำให้สารน้ำ/ของเหลวที่คั่งอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ซึมผ่านเข้าไปในหลอดเลือดฝอยเพิ่มขึ้น จึงช่วยลดอาการบวมได้ ความร้อนยังทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดการหดเกร็ง ระยะเวลาความร้อนที่ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัวมากที่สุดประมาณ 20 นาทีของการได้รับความร้อน ดังนั้น การประคบด้วยความร้อนเป็นช่วงๆไม่เกินช่วงละ 20 นาทีจึงช่วยให้หลอดเลือดฝอยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง

 

หมอแนะเทคนิคง่ายๆ ความแตกต่าง ประคบร้อน-เย็น
 

ข้อสำคัญ

-ควรระมัดระวังในการใช้ความร้อนดัวย เพราะหากร่างกายสัมผัสความร้อนเป็นเวลานานๆ ก็จะเกิดผลเสีย ทำลายเซลล์ได้ ทำให้เกิดรอยแดง กดเจ็บ และตุ่มพอง และทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น เกิดการบวมตามมาได้
-หากใช้ความเย็นประคบบริเวณที่บาดเจ็บนั้นนานเกินไป อาจทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณที่บาดเจ็บนั้น ทำให้เกิดเนื้อตาย ปวด บวมได้เช่นกัน
-การใช้ระยะเวลาในการประคบแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 20 นาที (ประมาณ 5 - 15 นาที) วันละ 3 - 4 ครั้งใน 1 - 2 วันแรก ต่อจากนั้นค่อยๆลดจำนวนครั้งลงเหลือ 1 - 2 ครั้งต่อวัน และเลิกใช้เมื่ออาการต่างๆดีขึ้น แต่ถ้าอาการต่างๆเลวลงควรต้องพบแพทย์/ไปโรงพยา บาลเสมอ หรือถ้ามีการบาดเจ็บรุนแรงตั้งแต่แรกควรต้องรีบไปโรงพยาบาล ไม่ควรเลือก ใช้การประคบ

 

หมอแนะเทคนิคง่ายๆ ความแตกต่าง ประคบร้อน-เย็น
 

 

ข้อควรระวัง

1.ไม่ประคบร้อนบริเวณที่มีเลือดออกใหม่ เพราะความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายทำให้เลือดออกได้อีกหลังจากเลือดหยุดหรือเลือดออกได้มากขึ้น แต่ควรใช้ประคบเย็นในระยะ 24 - 48 ชั่วโมงแรก

2.ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรประคบด้วยความร้อนบริเวณแขน ขา เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ เกิดเป็นแผลติดเชื้อเรื้อรังได้

3.การประคบเย็นมีโอกาสทำให้เกิดการสั่นของกล้ามเนื้อลาย อาจทำให้เกิดอุณหภูมิร่าง กายสูงขึ้นได้

4.ไม่ใช้ความเย็นประคบบริเวณมีอาการบวม เพราะความเย็นทำให้การไหลเวียนเลือดมาสู่บริเวณที่บาดเจ็บลดลง น้ำที่คั่งอยู่ระหว่างเซลล์ (กลไกที่ทำให้บวม) ถูกดึงกลับเข้ากระแสเลือดลดลง จึงไม่ช่วยลดบวมและยังอาจทำให้บวมมากขึ้น แต่ความเย็นจะช่วยป้องกันเกิดอา การบวมในระยะแรกของการบาดเจ็บ (ใน 1 - 2 วันแรกของการบาดเจ็บ)

5.ไม่ประคบร้อนหรือประคบเย็นในบริเวณที่มีแผลเปิด เพราะความเย็นจะลดการไหล เวียนเลือดมาสู่แผล แผลจะหายช้า ส่วนความร้อนจะทำให้เนื้อเยื่อที่เป็นแผลเปิดบาดเจ็บมากขึ้น

6.ไม่ประคบเย็นในบุคคลที่มีอาการแพ้หรือไวต่อความเย็นมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการผื่นแดง ลมพิษ บวม และ/หรืออาจพบความดันโลหิตสูงขึ้นได้

 

หมอแนะเทคนิคง่ายๆ ความแตกต่าง ประคบร้อน-เย็น