เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

มะระขี้นก ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantin Linn เป็นพืชในวงศ์ Cucurbitaceae ซึ่งมีชื่ออังกฤษ Balsam apple, Balsam pear, Bitter cucumber, Bitter gourd, Bitter melon, Carilla fruit ส่วนในประเทศไทยมีชื่อเรียกในแต่ละภาคที่แตกต่างกันออกไป อาทิเช่น ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู มะระหนู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ ผักไซร้ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป) ชาวปานามาเรียก บัลซามิโน่  มะระขี้นกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของเอเชียและทางตอนเหนือของแอฟริกาเขตร้อน

เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

มะระขี้นก มีลำต้นลำต้นเป็นเถาเลื้อยมีสีเขียวขนาดเล็กมี 5 เหลี่ยม มีขนอยู่ทั่วไป มีมือเกาะซึ่งเปลี่ยนมาจากใบเจริญออกมาจากส่วนของข้อ ใช้สำหรับยึดจับ  

เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ก้านใบยาว ขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปในตัวใบ 5-7  หยัก ปลายใบแหลม ใบกว้าง 4.5-11.5 เซนติเมตร ยาว 3.5-10 เซนติเมตร เส้นใบแยกออกจากจุดเดียวกันแล้วแตกเป็นร่างแห มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย เมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวเข้มดอกเป็นดอกเดี่ยวแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน เจริญมาจากข้อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 เซนติเมตร มีกลีบนอก 5กลีบ สีเขียวปนเหลือง กลีบในมี 5 กลีบ สีเหลืองสด ดอกตัวผู้เจริญออกมาก่อนดอกตัวเมีย เกสรตัวผู้มี 3 อัน แต่ละอันมีก้านชูเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีอับเรณู 3 อัน ดอกตัวเมียมีรังไข่แบบหลบใน (inferior ovary) มีรังไข่ 1 อัน stigma 3 คู่ ก้านชูเกสรตัวเมีย 3 อัน  

เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ผลรูปร่างคล้ายกระสวยสั้นๆ ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลยาว 5-7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 2-4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก
 

เมล็ดมีรูปร่างกลม รี แบน ปลายแหลมสีฟางข้าว เมื่อแก่เต็มที่มีเมือกสีแดงสดห่อหุ้มเมล็ดอยู่
เนื่องจากพืชชนิดนี้เป็นผักพื้นบ้านธรรมชาติที่ขึ้นได้ทั่วๆ ไป นกจึงชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด จากนั้นก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ ถ้าเมล็ดได้ดินดีมีน้ำพอเหมาะก็จะงอก ผลิใบทอดลำต้นเลื้อยไปเกาะตามที่ๆ มันเกาะได้ เช่น ต้นไม้ใหญ่ แนวรั้วบ้าน เหตุนี้เองมะระลูกเล็กลูกนี้จึงถูกเรียกว่า "มะระขี้นก"

เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

สรรพคุณของมะระขี้นก
น้ำต้มรากมะระขี้นกใช้ดื่มเป็นยาลดไข้ บำรุงธาตุ เป็นยาฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร แก้บาดแผลอักเสบ
ใบช่วยเจริญอาหาร ช่วยระบาย  น้ำคั้นใบดื่มเป็นยาทำให้อาเจียน บรรเทาอาการท่อน้ำดีอักเสบ  ดอกชงกินกับน้ำแก้อาการหืดหอบ
ผลกินเป็นยาขม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ขับพยาธิ แก้ตับและม้ามอักเสบ หรือจะคั้นน้ำมะระดื่มสัปดาห์ละไม่เกิน 1 แก้ว เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์หรือ HIV และเป็นยาระบาย  ส่วนเมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม

เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

มะระมีฤทธิ์เย็น จึงมีคำแนะนำว่าไม่ควรกินติดกันเกินไป เว้นระยะกินอาหารผักอย่างอื่นบ้างให้ร่างกายเกิดสมดุล แล้วจึงกลับมากินมะระได้อีก
ชาวโอกินาวาในประเทศญี่ปุ่นกินมะระขี้นกมาก เชื่อกันว่ามะระขี้นกมีส่วนช่วยให้ชาวโอกินาวามีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่าชาวญี่ปุ่นทั่วไป
แพทย์พื้นบ้านในทวีปเอเชียใช้มะระในตำรับยารักษาโรคมานาน ชาวเอเชีย ปานามา และโคลัมเบียใช้ชาใบมะระป้องกันและรักษาโรคมาลาเรีย ฤทธิ์ดังกล่าวได้มีการตรวจสอบแล้วในห้องปฏิบัติการ
มะระมีความขมจึงมีฤทธิ์กระตุ้นการย่อยอาหาร ช่วยบุคคลที่ระบบย่อยอาหารไม่ค่อยทำงาน อาหารไม่ย่อย หรือท้องผูก แต่ก็อาจก่อให้เกิดอาการกรดไหลย้อนหรือแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วย
น้ำมันจากมะระขี้นกมีกรดเอลีโอสเตียริก การศึกษาพบว่ากรดดังกล่าวมีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ มีนัยยับยั้งการขยายขนาดของก้อนมะเร็งที่จำเป็นต้องมีหลอดเลือดไปหล่อเลี้ยง

เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ผลจากห้องปฏิบัติการพบว่าโปรตีนและไกลโคโปรตีนเล็กทินจากมะระขี้นกมีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่สารเหล่านี้ดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารได้น้อยมาก การกินเป็นอาหารจึงไม่สามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสในผู้ป่วยได้ คาดว่าได้ประโยชน์ในการสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่า โดยทั่วไปมักใช้ผลอ่อนคั้นน้ำดื่มหรือตากแห้งบดเป็นผงใส่แคปซูลกิน การใช้น้ำคั้นจากผลดื่มได้ผลดีพอสมควร แต่การสวนทวารด้วยน้ำคั้นมะระจะได้ผลดีกว่าการดื่ม เพราะสารสำคัญ MAB-30 เป็นสารโปรตีนที่จะถูกทำลายโดยกรดและน้ำย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้ โปรตีนดังกล่าวมีหลักฐานอ้างอิงว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ชาวปานามาใช้ชาชงใบมะระกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชาวไทยใช้เนื้อมะระขี้นกลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน โดยหั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม ถ้าต้องการกลบรสขมให้เติมใบชาลงไปด้วยขณะที่ชง ดื่มต่างน้ำชา

เนื่องจากซีกโลกตะวันตกจัดมะระขี้นกเป็นมะระจีนพันธุ์หนึ่ง ฤทธิ์ของมะระขี้นกถูกรวบรวมไว้ในฤทธิ์ของมะระแต่ไม่สามารถแยกออกมาได้ บทความนี้จึงไม่สามารถอ้างอิงบทความทางการแพทย์จากแหล่งตะวันตกได้

การใช้มะระขี้นกรักษาอาการของโรคใดควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์แผนไทยอย่างเคร่งครัด เว้นแต่ถ้าใครจะกินมะระขี้นกเป็นอาหารให้บ่อยขึ้น กรณีดังกล่าวนี้ทำได้ทันทีโดยแวะตลาดสดใกล้บ้านนะคะ

เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ประโยชน์มะระขี้นก

แถวอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดเพื่อทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ ช่วยเพิ่มความกลมกล่อมมากขึ้น และนำยอดมะระมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือปลาป่นก็ได้เช่นกัน

มะระขี้นก จะมีรสขมมากกว่ามะระจีน จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการนำผลอ่อนไปต้มหรือเผากินทั้งลูก แต่ถ้าเป็นผลแก่ก็ต้องนำมาคว้านเมล็ดออกเสียก่อน สำหรับวิธีลดความขมของมะระขี้นกทำได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือประมาณหยิบมือ แล้วลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ ก็จะทำให้ลดความขมของมะระลงไปได้และยังคงมีผลสีเขียวสดอีกด้วย

มะระที่สุกแล้วจะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก การรับประทานอาจทำให้มีอาการอาเจียน ท้องร่วงได้ และอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นห้ามรับประทานแบบสุก ๆ


ผู้ที่ห้ามรับประทานมะระขี้นก
ได้แก่ ผู้ที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง หากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องได้ และควรรับประทานในปริมาณที่พอดี อย่าทำอะไรเกินเลย เช่นการดื่มน้ำมะระขี้นกก็อย่าขมจัด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจจะทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้หากรับประทานเกินขนาดหรือกินมะระขี้นกที่เริ่มสุกแล้ว

เผยประโยนชน์ มะระขี้นก ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย

 ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.ดร.กรณ์กาญจน์ ภมรประวัติธนะ : medthai