สตั๊นตาค้าง!!  พบสถิติเด็ก-เยาวชน ก่อคดียาเสพติดพุ่ง คาดคนร้ายหัวใสใช้ช่องว่าง ก.ม.

ติดตามข่าวเพิ่มได้ที่ www.tnews.co.th

 

จากกรณีกลุ่มนักค้ายาเสพติดนิยมใช้เด็กและเยาวชนเป็นคนส่งยาบ้าคราวละมากๆ เพราะเหตุว่าหากถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวเด็กได้ ก็จะนำตัวเด็กเข้าสู่ระบบกฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชน  คือนำไปบำบัดฟื้นฟู และไม่มีประวัติการกระทำความผิด  จึงเป็นช่องทางที่เด็ก เยาวชนถูกชักจูงเข้าสู่วงจรการค้ายามากขึ้นว่าที่ พ.ต.สมบัติ วงศ์กำแหง อุปนายกฝ่ายบริหารและโฆษกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมป์  กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การที่จะลงโทษเด็กหรือไม่นั้น ให้คำนึงถึงเจตนาที่แท้จริงของเด็กด้วยว่า มีความรู้สำนึกในการกระทำหรือไม่ รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่หิ้วไปนั้นคือยาบ้า ถ้าไม่รู้ถือว่าไม่มีเจตนากระทำความผิด เด็กจึงเป็นเพียงเครื่องมือในการกระทำความผิด ของแก๊งค้ายาเสพติด  กรณ๊แบบนี้ แก๊งค้ายาจึงเป็นผู้ลงมือกระทำความผิดโดยอ้อม แต่เด็กไม่ผิด
          
อย่างไรก็ตาม แม้นว่าเด็กไม่ผิด แต่ยังถูกควบคุมตัวเข้าสู่กระบวนการตามระบบวิธีพิจารณาความคดีเยาวชนไปก่อน  คงต้องถูกสอบสวนเพื่อตรวจสอบสักระยะเด็กอาจถูกกระทบบ้าง จะให้เบี่ยงออกไปจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเลยคงไม่ได้  มันต้องเข้าเงื่อนไขประเภทคดี และอัตราโทษคดีนั้นๆ แต่คดียาเสพติดเป็นคดีนโยบายรัฐ ดังนั้นคนในกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบต้องช่วยกันตรวจสอบ  ปัจจุบันกฎหมาย พ.ร.บ.ยาเสพติดได้แก้ไขใหม่แล้ว เปิดโอกาสให้ผู้ครอบครองเพื่อเสพแต่ถูกจับข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย ได้พิสูจน์ตนเองว่ามีเจตนาซื้อมาเพื่อเสพเท่านั้น เพราะกฎหมายเดิมปิดปาก เพราะใครมียาในปริมาณที่กำหนดให้ถือเด็ดขาดว่าจำหน่าย
         

 

ด้าน นายอธิคม อินทุภูติ  เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้มีรายงานจากศาลทั่วประเทศ ว่ามีเด็กและเยาวชนถูกจับในฐานมียาเสพติดไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นผู้ต้องและจำเลย ในจำนวนที่มากผิดปกติ   สืบเนื่องจาก แก๊งยาเสพติดใช้เด็กร่วมในการกระทำความผิด บางคดีจับยาได้จากเด็กถึง 4 แสนเม็ด เรื่องนี้อาจเป็นเพราะคนร้ายสบช่องว่า กฎหมายวิธีพิจารณาคดีเด็กได้มีขั้นตอนและวิธีการสำหรับเด็กที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ที่กระทำความผิดมาก อย่างน้อยก็เรื่องการประกันตัว
          
" จากการหารือและมีหนังสือให้คำแนะนำผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีเด็กและเยาวชนว่า ถ้าพบพฤติการณ์ว่ามีเด็กร่วมกระทำความผิดและมีพฤติการณ์ร้ายแรงเหมือนผู้ใหญ่ ก็ต้องใช้ความเคร่งครัดในการพิจารณาพิพากษาและกำหนดโทษ  บางครั้งอาจจะต้องกำหนดโทษเสมอผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ นอกจากคดียาเสพติดแล้ว ยังพบในคดีค้ามนุษย์ และคดีอุกฉกรรจ์อื่นๆ อีกด้วย"  นายอธิคม กล่าว
       

วิทย์ณเมธา  สำนักข่าวทีนิวส์