"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!!

     ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้

คำบัญญัติ
ทศพิธราชธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ราชธรรม 10" นี้ ปรากฏอยู่ในมหาหังสชาดก พระสูตร ขุททกนิกาย ชาดก ปรากฏพระคาถา

    ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ.

                                                                       ขุ.ชา.28/240/86

 

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!!

๑. ทาน (ทานํ) คือ การให้
ทานที่แปลว่า การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หมายถึงการให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม มุ่งเพื่อบูชาพระคุณ เช่นที่ให้แก่บิดามารดา ถวายแก่พระสงฆ์ เป็นต้นบ้าง มุ่งเพื่อสงเคราะห์ เช่นที่ให้แก่คนตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนทั่วไปด้วยความกรุณาสงสารบ้าง

 

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!!

๒.ศีล (สีลํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ   ศีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและ
วาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคมประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์ และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์
ในขั้นสูงต่อไปได้ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้วย

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!!

๓.บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขสวนตนเพื่อความสุขส่วนรวม การบริจาค เป็นการให้โดยบุคคลหรือนิติบุคคล มักเพื่อวัตถุประสงค์การกุศลและ/หรือเพื่อสงเคราะห์เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง การบริจาคมีได้หลายรูปแบบ รวมถึงการเสนอเงินสด บริการ สินค้าใหม่หรือใช้แล้ว เช่น เสื้อผ้า ของเล่น อาหารและยานพาหนะ การบริจาคอาจประกอบด้วยของฉุกเฉิน บรรเทาทุกข์หรือช่วยเหลือทางมนุษยธรรม การสนับสนุนการช่วยเหลือพัฒนา และยังสามารถหมายถึง สิ่งจำเป็นในเวชบริบาล เช่น เลือดหรืออวัยวะเพื่อการปลูกถ่าย ของขวัญ

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!! ๔.ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน

 

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!!

๕.ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า

 

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!!

๖.ความเพียร (ตปํ)  หรือความเพียร มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

 

 

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!!

๗.ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

 

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!!

๘.ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง การผลิต การบริโภคที่สมดุลไม่เน้นประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันแย่งชิงจนเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นและทำลายสิ่งแวดล้อม

 

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!! ๙. ความอดทน (ขนฺติ) คือการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว

 

\"ใต้ร่มพระบารมี ... ทรงเป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดิน\" ...ทศพิธราชธรรม ธรรม10ประการ ที่ในหลวง ร.9 ทรงเป็นต้นแบบเพื่อพสกนิกรได้เดินตามรอยพระบาท !!!

๑๐.ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ

 

ที่มาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ทศพิธราชธรรม