"กรมอุทยานแห่งชาติฯ" ยืนยันไม่มีการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน หรือพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ราษฎรเพื่อให้ได้รับสิทธิทำกิน!!!

ติดตามรายละเอียดที่นี่ http://www.tnews.co.th

จากกรณีที่ นายดำรงค์ พิเดช หัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตและวิจารณ์การเพิกถอนเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมาและจ.ปราจีนบุรี ในประเด็น ดังนี้

1) ไม่เห็นด้วยกับการเพิกถอนดังกล่าว เนื่องจากการเพิกถอนเขตอุทยานฯต้องมีเหตุผลชี้แจงที่ชัดเจน ต้องเป็นโครงการที่คิดเพื่อส่วนรวม และเห็นว่าไม่มีที่ใดสามารถเพิกถอนพื้นที่อุทยานฯได้นอกจากโครงการพระราชดำริ หรือโครงการสาธิตต่างๆที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม ซึ่งหากพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน สามารถเพิกถอนได้ จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่อุทยานฯอื่นๆทั่วประเทศที่สามารถเพิกถอนได้เช่นกัน

 

2) กรณีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์มาก่อน ภาครัฐควรมีการจำกัดพื้นที่ห้ามบุกรุกขยายพื้นที่เพิ่มเติม หรือมีการจ่ายค่าเช่าเป็นรายปี โดยการรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2560 นั้น นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า จากกรณี นายดำรงค์ พิเดช หัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตและวิจารณ์การเพิกถอนเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติทับลาน โดยไม่เห็นด้วยกับการเพิกถอนดังกล่าว เนื่องจากการเพิกถอนเขตอุทยานฯ ต้องมีเหตุผลชี้แจงที่ชัดเจน ต้องเป็นโครงการที่คิดเพื่อส่วนรวม ซึ่งหากพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานสามารถเพิกถอนได้ จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่อุทยานฯอื่นๆทั่วประเทศ ที่สามารถเพิกถอนได้เช่นกัน และกรณีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์มาก่อน ภาครัฐควรมีการจำกัดพื้นที่ห้ามบุกรุกขยายพื้นที่เพิ่มเติมหรือมีการจ่ายค่าเช่าเป็นรายปี นั้น

\"กรมอุทยานแห่งชาติฯ\" ยืนยันไม่มีการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน หรือพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ราษฎรเพื่อให้ได้รับสิทธิทำกิน!!!

 

 

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอเรียนชี้แจงว่า อุทยานแห่งชาติทับลาน กำหนดพระราชกฤษฎีกาให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี 2524 มีเนื้อที่ประมาณ 1,397,375 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่ถือครองของราษฎร เนื้อที่ประมาณ 278,530 ไร่ แยกเป็น

 

(1) ทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) บริเวณท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี และอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ประมาณ 58,582 ไร่ 
(2) ทับซ้อนกับพื้นที่โครงการจัดที่ดินทำกินแก่ราษฎรผู้ยากไร้ (คจก.) โครงการพัฒนา เพื่อความมั่นคง (พมพ.) โครงการช่วยเหลือราษฎรให้มีสิทธิทำกิน (สทก.) โครงการพัฒนาป่าเสิงสาง-ครบุรี และพื้นที่ถือครองของราษฎรบริเวณท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อที่ประมาณ 219,948 ไร่ 
ต่อมา ได้มีการซื้อ-ขายเปลี่ยนมือที่ดินจากราษฎรเดิมเป็นของนายทุน เพื่อใช้ทำรีสอร์ทและบ้านพักตากอากาศ จึงได้มีการจับกุมดำเนินคดี ในท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี รวมจำนวน 473 คดี โดยส่วนใหญ่เป็นคดีในท้องที่อำเภอ วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา (336 คดี) 
สำหรับการแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับราษฎร ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

 

กลุ่มที่ 1 พื้นที่ทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน ท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี และอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ประมาณ 58,582 ไร่ ทั้งในส่วนที่ได้มีการดำเนินการรังวัดจัดที่ดินไปแล้ว (ส.ป.ก. 4-01) และในส่วนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดทำข้อหารือให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาอำนาจในพื้นที่ตามกฎหมายแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

กลุ่มที่ 2 พื้นที่จัดที่ดินทำกินตามโครงการของรัฐ ท้องที่อำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อที่ประมาณ 67,876 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ที่ทางราชการได้เคยจัดเป็นที่ทำกินและอยู่อาศัยให้กับราษฎร ตามโครงการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฎรผู้ยากไร้ (คกจ.) โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง (พมพ.) โครงการช่วยเหลือราษฎรให้มีสิทธิทำกิน (สทก.) โครงการพัฒนาป่าเสิงสาง-ครบุรี และพื้นที่ถือครองของราษฎร ปัจจุบันยังคงสภาพเป็นพื้นที่ทำกินและอยู่โดยราษฎรกลุ่มดังกล่าว กลุ่มนี้เห็นสมควรใช้มติ ครม. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา พร้อมพิจารณาสนับสนุนสาธารณูปโภคเพื่อการดำรงชีพปกติของราษฎรในพื้นที่ได้ตามสมควร 

 

กลุ่มที่ 3 พื้นที่ที่ไม่ใช่กลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อที่ประมาณ 152,072 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ที่มีราษฎรถือครองที่ดินเพื่อทำกินและอยู่อาศัย แต่มีบางส่วนที่มีการเปลี่ยนมือให้กลุ่มทุนเข้ามาครอบครองเพื่อก่อสร้างรีสอร์ท หรือบ้านพักตากอากาศ จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ครอบครองกลุ่มนี้ สำหรับพื้นที่ที่มีราษฎรถือครองที่ดินโดยปกติทั่วไป เห็นควรดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และให้มีการพิจารณาสนับสนุนสาธารณูปโภคเพื่อการดำรงชีพปกติของราษฎรในพื้นที่ได้ตามสมควร

 

ดังนั้นเพื่อให้การแก้ไขปัญหาข้างต้นประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติ กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการและคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดินภายในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานขึ้น โดยให้เร่งรัดดำเนินการในพื้นที่กลุ่มที่ 2 ท้องที่อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการครอบครองที่ดินเดิมของราษฎรก่อน ด้วยการรังวัดแปลงถือครองที่ดินตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ที่ราษฎรได้แจ้งและมีการตรวจสอบพิสูจน์การครอบครองที่ดินไปแล้ว จำนวน 6,041 ราย 7,489 แปลง เนื้อที่ประมาณ 46,709 ไร่ คงเหลือพื้นที่ที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม (ตกสำรวจ) ขณะนี้ได้จัดชุดสำรวจเพื่อที่จะดำเนินการรังวัดแปลงถือครองของราษฎร โดยมีราษฎรแจ้งเพื่อขอสำรวจเพิ่มเติมไว้แล้วจำนวน 2,555 ราย 3,859 แปลง เนื้อที่ประมาณ 31,755 ไร่ มีระยะเวลาดำเนินการสิงหาคม – กันยายน 2560 และจะดำเนินการในกลุ่มที่ 3 ต่อไป สำหรับพื้นที่กลุ่มที่ 1 เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาอำนาจตามกฎหมายในพื้นที่เป็นของหน่วยงานใด จะได้พิจารณาตามกฎหมายของหน่วยงานนั้น

 

 

\"กรมอุทยานแห่งชาติฯ\" ยืนยันไม่มีการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน หรือพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ราษฎรเพื่อให้ได้รับสิทธิทำกิน!!!

 

 

จะเห็นว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่ดินภายในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ของกรมอุทยานแห่งชาติฯ เสนอไว้นั้น ไม่มีการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน หรือพื้นที่ป่าอนุรักษ์อื่นๆ ให้ราษฎรเพื่อให้ได้รับสิทธิทำกินแต่อย่างใด มีเพียงการเร่งรัดดำเนินการสำรวจที่ทำกินของราษฎรตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เพื่อรองรับการแก้ไขพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 ทั้งนี้สำหรับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ก็ได้มีการนำเสนอเข้าที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งมีนายดำรง พิเดช ซึ่งเป็นสมาชิกสภาฯอยู่ในขณะนั้น ให้ความเห็นชอบก่อนแล้ว ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 159 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ก่อนนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบหลักการ ทั้งนี้ หากร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ได้รับความเห็นชอบและประกาศใช้แล้ว กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงจะมีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้ราษฎรสามารถอยู่อาศัยหรือทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างเกื้อกูลธรรมชาติโดยถูกต้องตามกฎหมาย ตามหลักการคนอยู่ร่วมกับป่า และแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามศาสตร์พระราชารัชกาลที่ 9 อย่างยั่งยืนต่อไป

 

สำหรับกรณีที่นายดำรงค์ฯ มีความเห็นว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์มาก่อน ภาครัฐควรมีการจำกัดพื้นที่ห้ามบุกรุกขยายพื้นที่เพิ่มเติม หรือมีการจ่ายค่าเช่าเป็นรายปี นั้น ในร่างพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ และร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ก็ได้บัญญัติให้มีการควบคุมจำนวนที่ดินในการถือครองของราษฎรเอาไว้อย่างรัดกุม โดยสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งอาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้พื้นที่ได้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของนายดำรงค์ฯ ดังกล่าวข้างต้น