นั่งมั้ยนกแอร์ เปลี่ยนหุ้นใหญ่ บริการดีขึ้นยัง.?

ใครนั่งแล้วประทับใจบ้าง ติดตามเพจRichman can do

ใครอยู่เบื้องหลัง สายการบินนี้ ?  เมื่อตระกูล "จุฬางกูร" ญาติสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ยึดเรียบร้อย ผงาดขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เด้ง พาที สารสิน จากบอร์ดบริษัท....หลังจากนี้ อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป

นั่งมั้ยนกแอร์ เปลี่ยนหุ้นใหญ่ บริการดีขึ้นยัง.?

บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK แจ้งว่า พาที สารสิน ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัท ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการสรรหากรรมการใหม่ นอกจากนั้นก่อนหน้านี้ นายไบรอัน เลสลี่ เจฟฟรี่ ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่สายการเงินของบริษัท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป

นั่งมั้ยนกแอร์ เปลี่ยนหุ้นใหญ่ บริการดีขึ้นยัง.?

จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยล่าสุด พบว่า โครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท มีตระกูล จุฬางกูร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
1. นายณัฐพล จุฬางกูร  จำนวน 267,092,000 หุ้น คิดเป็น 23.51%  2.  บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 245,000,000 หุ้น คิดเป็น    21.57%  3.นายทวีฉัตร จุฬางกูร จำนวน 201,986,000 หุ้น คิดเป็น 17.78% 4.  บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด  จำนวน 29,290,733 หุ้น คิดเป็น 2.58 % 5. BARCLAYS CAPITAL SECURITIES LIMITED A/C SBL/PB จำนวน 18,673,500 หุ้น คิดเป็น 1.64%  6. นางหทัยรัตน์ จุฬางกูร  จำนวน 14,883,700 หุ้น คิดเป็น 1.31 %  7. นายพาที สารสิน จำนวน 14,653,000 หุ้น คิดเป็น    1.29%  8.     RAFFLES NOMINEES (PTE) LIMITED จำนวน 7,000,300  หุ้น คิดเป็น 0.62%  9. นายบุญส่ง เสริมศรีสุวรรณ จำนวน 6,000,000 หุ้น คิดเป็น 0.53% 10. ดร.ธรรม์ จิราธิวัฒน์  จำนวน 5,800,000 หุ้น คิดเป็น 0.51%
ดังนั้นถ้าดูโครงสร้างผู้ถือหุ้นแล้วจะพบว่า ตระกูล จุฬางกูร ญาติของ สุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจ ที่อดีตเป็นคนในสายอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และแนบแน่นกันมาก ทั้งยังมีหลานชาย ทวีฉัตร จุฬางกูร เป็นขาใหญ่ในตลาดหุ้นที่โด่งดังมาก ทำให้ตระกูลนี้จะมีสิทธิอำนาจบริหารในนกแอร์ฒาก รวมทั้งได้ที่นั่งกรรมการเพิ่มขึ้น ตามสัดส่วนหุ้น 

นั่งมั้ยนกแอร์ เปลี่ยนหุ้นใหญ่ บริการดีขึ้นยัง.?

ส่วนผลดำเนินงาน ไตรมาส 3 ปี 60  มีผลขาดทุนสุทธิจากงบการเงินรวม จำนวน 683.53 ล้านบาท ขาดทุนลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 958.55 ล้านบาท โดยผลขาดทุนของบริษัทใหญ่ มาจากต้นทุนการดำเนินงานที่สูงกว่ารายได้ค่าโดยสารและรายได้จากการให้บริการ ซึ่งต้นทุนการดำเนินงานหลักของบริษัท ได้แก่ ต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่ยังคงเพิ่มขึ้นจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันอากาศยาน อีกทั้งรายได้จากค่าโดยสารลดลงด้วยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไตรมาส 3 ปี60 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 4,648.61 ล้านบาท 
ขณะที่งบการเงินเฉพาะกิจการ มีรายได้รวม 3,264.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้บริการจากการให้เช่าช่วงเครื่องบินตามสัญญาเช่าดำเนินงานให้กับบริษัทอื่น ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 54.05 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดังนั้นรายได้ต่อปริมาณการผลิตผู้โดยสาร (RASK) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จาก 1.89 มาอยู่ที่ 1.99 บาท/ที่นั่ง-กม.หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.26 จากไตรมาส 3/59
ด้านแผนการดำเนินงานของ แม้บริษัทพยายามที่จะหารายได้เพิ่ม โดยการปรับขึ้นค่าตั๋วโดยสาร เพราะเชื่อว่า ผู้โดยสารเริ่มหันมาใช้ต้นทุนต่ำมากขึ้น แต่งานบริการบนเครื่องของนกแอร์ ยังเป็นที่กังขาของผู้โดยสาร และมีเสียงสะท้อนว่า ถอถอยลงจากเดิมด้วย เพราะจำนวนพนักงานที่น้อยลง นอกจากนั้นประเด็นสำคัญคือ สายการบินนกแอร์ ชอบยกเลิกเที่ยวบินกระทันหัน กรณีที่เที่ยวบินนั้นไม่เต็ม และบริษัทเห็นว่า บินไปก็ไม่คุ้มจะเลิกเที่ยวบินนั้นทันทีแล้วเอาไปรวมกับเที่ยวบินถัดไป โดยแจ้งผู้โดยสารในเวลากระชั้นชิดมาก และใช้วิธีแจ้งด้วยการส่งข้อความไปที่อีเมล์และมือถือ ถ้าลูกค้ารายใดไม่เปิดดูก็จะไม่ทราบข้อความนั้น จึงสร้างความเดือดร้อนให้ผู้โดยสารมาก