ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

คาถากันสารพิษ เชื้อโรค สารเคมี ปรมาณู ระเบิด ทุกสิ่งทุกอย่าง

พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร

 

 

ทะสะขะ สะมังดิสะตุ ทะสะขะ สะมังดิสะตุ ทะสะขะ สะมังดิสะตุ

( แค่เนี้ยใครเอา ยาเบื่อมาให้กินก็ไม่ตาย )

และครูบาบุญชุ่มท่านยังเล่าให้ฟังอีกว่า

มนุษย์ต่างดาวมาดูดพลังโลกของเรา มนุษย์ต่างดาวเค้ามาเยอะน๊ะ เค้ามาแผ่พลังมาดูดในโลกเรานี่ เค้าจะมาถล่มซักวันล่ะตอนเนี้ย โรคมะเร็งไปเป็นครึ่งแล้ว พูดกลางวันไม่เป็นไร ถ้ากลางคืนเค้ามาเก็บข้อมูลอยู่ใกล้ๆนี่แหละ บุกมาเยอะ มนุษย์ต่างโลก ต่างดาวมีจริง เมื่อวานซืนก็มาที่ถ้ำ เค้าบอกว่ามันอีกนิดเดียว.

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร

 

 

คาถามหาจักรพรรดิ

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ๓ จบ

(กราบ ๓ ครั้ง แล้วสวดคาถามหาจักรพรรดิตามกำลังของผู้ที่เกิดในแต่ละวันดังนี้ คือ อาทิตย์ ๖ จันทร์ ๑๕ อังคาร ๘ พุธ ๑๗ พฤหัส ๑๙ ศุกร์ ๒๑ และเสาร์ ๑๐)

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

 

 

นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรัง อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

ขอสิ่งที่ข้าพเจ้าอธิษฐาน จงศักดิ์สิทธิ์สำเร็จเป็นจริงโดยฉับพลันทันใจทุกประการ

อิมัง สัจจะวานัง อธิษฐามิ พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ

หลังจากนั้นก็ให้เชิญพระเข้าตัว แผ่บุญปรับภพภูมิส่งวิญญาณด้วย บทสวดว่า

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง

อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส (ว่า ๕ จบ)

แล้วกล่าวว่า พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ ให้อธิษฐานจิตแผ่เมตตาออกไปให้กับดวงจิตวิญญาณเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จะระบุสถานที่ด้วยก็ได้

 

 

ค รู บ า เ จ้ า บุ ญ ชุ่ ม ญ า ณ สํ ว โ ร

ชาติภูมิ
บิดา-มารดา
พ่อคำหล้า แม่แสงหล้า ทาแกง
นามเดิม
เด็กชายบุญชุ่ม ทาแกง
วันเดือนปี เกิด
วันอังคารที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔
สถานที่เกิด
หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
พี่น้อง
๑. พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร
๒. พระครูบาวีนัส กตปุญโญ
๓. เด็กหญิงเอื้องฟ้า (เสียชีวิต)
๔. นางอ้อมใจ ปูอุตรี สมรสกับนายประทีบ ปูอุตรี

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร

 

 

ชีวิตในวัยเยาว์
คุณแม่แสงหล้าได้แต่งงานกับคุณพ่อคำหล้า ก่อนตั้งครรภ์พระครูบาเจ้าฯ คุณแม่แสงหล้านิมิตฝันว่า “ได้ขึ้นภูเขาไปไหว้พระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่เหลืองอร่ามงามมากนัก” แล้วสะดุ้งตื่นอยู่มาไม่นานนัก คุณแม่แสงหล้าเริ่มตั้งครรภ์ พอตั้งครรภ์ได้ครบ ๑๐ เดือน ก็ได้ให้กำเนิดเด็กชายบุญชุ่ม ซึ่งเป็นเด็กหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู จากนั้นก็มีเหตุแยกจากพ่อคำหล้ากลับไปดูแลแม่อุ้ยนางหลวงที่เคยอยู่ด้วยกัน เพราะไม่มีใครดูแล ส่วนพ่อคำหล้าก็กลับไปดูแลแม่หลวงอุ่น จึงเป็นเหตุให้ต้องแยกกันอยู่ เมื่ออายุครบ ๖ เดือน พ่อคำหล้าได้มาเยี่ยม ซื้อเสื้อผ้ามาฝากลูกด้วย แต่กลับไปไม่นาน คุณพ่อก็ได้ล้มป่วยด้วยโรคบิดกระทันหัน ถึงแก่กรรม เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี เท่านั้น เมื่อพระครูบาฯ อายุได้ ๔ ขวบ แม่อุ้ยนางหลวงและคุณแม่แสงหล้าได้ย้ายจากบ้านด้ายไปอยู่บ้านทาดอนชัย ตำบลป่าสักอำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ และสมรสใหม่กับนายสม ชัยวงศ์คำ มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า เด็กชายวีนัส (แดง) และบุตรหญิง ๒ คน คือเด็กหญิงเอื้องฟ้า ถูกสุนัขกัดตาย เมื่ออายุได้ ๔ ขวบ และเด็กหญิงอ้อมใจ เมื่อแม่อุ้ยนางหลวงได้ถึงแก่กรรมไป ครอบครัวของเด็กชายบุญชุ่ม ยิ่งลำบากมากกว่าเก่า บ้านก็ถูกรื้อขาย แล้วอพยพไปอยู่เชิงดอยม่อนเรียบ ทำกระต๊อบน้อยอยู่กัน ๔-๕ คน แม่ลูก ฝาเรือนก็ไม่มี เวลาฝนตกหลังคาก็รั่ว เอามุ้งขาดเป็นเรือน ผ้าห่มก็มีผืนเดียวเวลาหน้าหนาวก็หนาวเหน็บ ต้องนอนผิงไฟเหมือนสุนัขผ้านุ่งผ้าห่มเสื้อกางเกงก็มีชุดเดียวเวลาไป โรงเรียนก็นุ่งกางเกงขาสั้นไป เรื่องอาหารก็ตามมีตามได้ เก็บกินเต้าแตง เผือกมัน ผักผลไม้กิน เพื่อยังชีพไปวันๆ บางทีแม่แสงหล้าก็ไปรับจ้างเกี่ยวข้าวและปลูกหอม กระเทียม ได้ข้าวมาเลี้ยงกัน วันละลิตร สองลิตร ก็เอามาหุงต้มเลี้ยงกัน วันไหนข้าวมีน้อย ก็เอาต้มใส่เผือกใส่มัน บางครั้งก็ได้กินหัวกลอยต่างแทนข้าว บางครั้งได้กินข้าวกับพริกกับเกลือบ้าง บางทีแม่แสงหล้า ไม่สบายไปรับจ้างไม่ได้ พระครูบาเจ้าบุญชุ่มและน้องๆ ก็เที่ยวขอทาน ห่อข้าว ตามหมู่บ้านมาเลี้ยงดูกัน บางวันก็ได้มากบ้างน้อยบ้าง พอประทังชีวิต บางคนก็ด่าว่าตางๆ นานา บางคนก็ดีใจ บางคนก็ทุบต่อยตีไล่หมาใส่ ท่านก็ไม่ถือสาโกรธแค้น ส่วนพ่อเลี้ยงก็ไม่สบายเป็นโรคบวมพองทำงานไม่ได้ พระครูบาบุญชุ่มบางทีก็ต้องเก็บใบตองไปแลกข้าวบางทีก็หาฟืนไปขาย บางวันก็ไปรับจ้างเก็บถั่วลิสง ได้เงินมา ๑ บาท ๒ บาท ก็เอาไปซื้อข้าว น้ำมันและพริก เกลือมาเลี้ยงครอบครัวถึงแม้ชีวิตท่านจะลำบากเพียงใดก็ไม่เคยเป็นเด็กเกเร ลักเล็กขโมยน้อยเด็ดขาย แม่แสงหล้าจะสอนว่า “ห้ามลักขโมยของคนอื่นมาโดยเด็ดขาด” วันหน้าถ้ามีบุญก็จะสบายได้แล บางวันน้องซนไม่มีใครดูแลพระครูบาเจ้าบุญชุ่มก็ฉีกเอาชายผ้าถุงของแม่ผูกขา น้องๆ ติดกับเสาบ้านเสาเรือนไว้ แล้วก็เที่ยวขอทานมาเลี้ยงแม่เลี้ยงน้อง

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร

 

 

เห็นทุกข์ก็เห็นธรรม
ชีวิตความเป็นอยู่ของพระครูบาเจ้าฯ ช่างน่าสังเวช ทุกข์ลำบากเหมือนกับว่า ในโลกนี้บ่มีใครเท่าเทียมได้ ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกข์และสุขก็เป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ทนลำบากไม่ใช่ตัวตนของเราบังคับไม่ได้ พิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้ว พึงจะเบื่อหน่ายการเกิด การตาย ทุกข์ในวัฏฏะสงสารพึงสละละวางความยึดมั่น ถือมั่น พึงคลาย ความอาลัยในตัณหาตัวนำมาเกิด พึงละอวิชชา ความไม่รู้นำมาเกิดภพชาติ ชรามรณะทุกข์ เวียนว่าย ตายเกิด หาที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายบ่มิได้พึงสังเวชเบื่อหน่ายโลกาอามิสทั้งปวงพึง มีจิตยินดีในพระนิพพานเป็นอารมณ์ รีบขวนขวายหาทางดับทุกข์ ความเกิดแก่เจ็บตาย จงสร้างแต่กุศลบุญทาน รักษาศีลภาวนา อย่าขาด อย่าประมาทในชีวิตสังขารไม่ยั่งยืน ไม่รู้ว่าเราจะตายวันใด ที่ไหน เวลาใด ใครไม่สามารถกำหนดได้ ขอให้ทุกคน เราท่านทั้งหลายจงทำดีให้หนีวัฏฏะสงสารไม่ต้องกลับมาเกิดอีกเพราะการเกิด บ่อยๆ เป็นทุกข์ดังนี้แล

 

 

อุปนิสัยฝักใฝ่ในธรรมของพระครูบาเจ้าฯ
เนื่องจากคุณแม่แสงหล้าเป็นคนมีนิสัยใจดีมีเมตตาเผื่อแผ่โอบอ้อมอารีลูกเต้า ญาติมิตรพี่ๆ น้องๆ เป็นผู้รู้จักบุญคุณเสมอชอบทำบุญไปวัดไม่ขาด ถึงแม้ว่าความเป็นอยู่จะลำบากยากจนขนาดไหน พอถึงวันพระแม่จะจัดหาอาหารตามมีตามได้ไปใส่บาตรทุกครั้ง ก่อนที่คุณยายของพระครูบาเจ้าฯ คือยายแม่อุ้ยนางหลวง ยังไม่เสียชีวิต ดังนั้นเมื่อพระครูบาเจ้าฯ อายุได้ ๔-๕ ปี ก็พาไปนอนวัดปฏิบัติธรรมด้วย ยายสอนว่าให้ไหว้พระสวดมนต์ และภาวนาพุทโธฯ ตั้งแต่เล็กได้คลุกคลีอยู่กับวัดตั้งแต่ตัวน้อยๆ เวลาเข้าโรงเรียนฯ ก็ติดกับวัดเวลาว่างก็ชอบเขาไปไหว้พระในวิหาร บางทีก็ภาวนาตามร่มไม้ ทำอยู่อย่างนี้ตลอดเท่าที่ท่านจำความได้ พระครูบาเจ้าฯ ไม่ชอบทานเนื้อสัตว์มาตั้งแต่เกิด ถ้าจำเป็นต้องท่านก็เอาคำข้าวจิ้มแต่น้ำแกง บางทีก็ทานข้าวเปล่าๆ บางทีก็ทานกับน้ำอ้อย บางทีก็ทานข้าวกับกล้วยไปวันๆ คุณแม่แสงหล้ารักเอ็นดูพระครูบาเจ้าฯ เป็นอย่างยิ่งไม่เคยด่าเคยตีด้วยไม้หรือฝ่ามือแม่แต่ครั้งเดียวในชีวิต

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร

 


อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าชีวิตในวัยเยาว์ของพระครูบาเจ้าฯ จะทุกข์ยากลำบาก แต่ท่านก็เป็นเสมือนเพชรในตม คือจิตใจของท่านที่ได้รับการปลูกฝังคุณงามความดีอยู่เสมอ ทั้งจากคุณยายและจากคุณแม่ จากการคลุกคลีอยู่กับวัด กับพระสงฆ์ จึงทำให้จิตใจของเด็กน้อยรู้สึกผูกพันกับบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ถูกสั่งสอนให้ขยันหมั่นเรียนเขียนอ่าน และสอนให้หมั่นเพียรทำงานทุกอย่าง แม่แสงหล้าจะใช้ไปซื้อของในตลาด บางทีมีเงินบาทเดียวได้ของมาสี่อย่าง ซื้อพริก ๑ สลึง เกลือ ๑ สลึง น้ำมัน ๑ สลึง เมี้ยง ๑ สลึง เป็นต้น เพราะเงินสมัยนั้นมีค่าข้าวสารลิตรละ ๑ บาท ก็พอกินไป ๒ วัน เท่าที่จำได้ตอนโตมาแล้วบางทีโรคลมของคุณแม่กำเริบก็ว่าด่าต่างๆ ด้วยความลืมตัวบ้างเสร็จแล้วพอรู้สึกดีขึ้นคุณแม่จะมาขอขมาลาโทษทุกครั้ง โดยการผูกข้อมือรับขวัญให้ทุกครั้ง

 

 

การเดินทางของชีวิตฆราวาส
เมื่อช่วงวัยเด็ก เคยป่วยด้วยพิษไข้มาลาเรีย เกือบเอาชีวิตไม่รอด เป็นช่วงเดียวกับพ่อเลี้ยงก็ป่วยหนักเช่นกัน ตามความเชื่อของชาวเหนือ ถ้ามีคนป่วยอยู่ร่วมชายคาเดียวกันต้องแยกกันอยู่ ดังนั้นคุณแม่แสงหล้าจึงนำไปฝากไว้กับญาติผู้ใหญ่ คือแม่คำ พ่อคำหล้า ส่วนน้องชาย ด.ช.วีนัสไปอยู่กับคุณป้า น้องสาวไปอยู่กับพ่อก๋อง แม่เพชร ช่วงนั้น ด.ช.บุญชุ่ม ได้พลัดพรากจากญาติพี่น้อง รู้สึกสะเทือนใจร้องไห้ตามประสาเด็กทั่วไป ที่ต้องแยกันอยู่ ด้วยท่านเป็นพี่ชายคนโต เคยดูแลเลี้ยงดูน้องๆแทนแม่เสมอ จึงทำให้รักและผูกพันต่อกันมาก

 

 

แม้การดำเนินชีวิตของท่านได้รับความลำบากทุกข์ยากต่างๆ แต่กลับทำให้พระครูบาเจ้าฯ มีความเข้มแข็ง อดทน เป็นนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ ดังในช่วงที่ท่านอยู่กับลุงน้อยจันตา มีลูกเลี้ยงของลุงเป็นคนเชื้อสายเขมร รังแก บังคับ ตีต่อย ให้ทำงานหนัก แต่ท่านก็ไม่ถือสาหาความ เพราะท่านผ่านความทุกข์ใหญ่หลวงมามากแล้ว เรื่องแค่นี้ท่านมีความเข้มแข็ง ผ่านพ้นไปได้และมีอยู่วันหนึ่ง หลังจากหยุดพักจากงานและนั่งพักผ่อน ท่านมีนิสัยที่ชอบชุ่มชื่นรื่นเริงจึงขับร้องเล่นซอเมืองเหนืออย่างสบาย อารมณ์ คนงานในบ้านก็โกรธท่านหาว่าเกียจคร้าน เอาก้อนดินใหญ่มาขว้างปาใส่หัวจนเจ็บและมึนงงไปหมด เกือบสลบ แต่ท่านก็ไม่บอกเรื่องที่ถูกคนใช้ทำร้ายให้กับคุณลุง คุณป้า เพราะกลัวคนทำจะเดือดร้อนถูกไล่ออก

 

 

ถึงแม่ว่าท่านต้องทำงานหนัก แต่ในเรื่องการเรียนหนังสือท่านก็เอาใจใส่ ศึกษาหาความรู้ จนจบประถมศึกษาปีที่ ๔ ด้วยตั้งใจไว้ว่าถ้าหากเรียนจบแล้วจะบรรพชาเป็นสามเณรทันที กระทั่งเมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรอายุ ๑๑ ปี ได้เข้าศึกษานักธรรมสอบได้นักธรรมชั้นตรี ใน พ.ศ. ๒๕๒๖

 

 

สามเณรน้อยใจสิงห์
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้เข้ามาเป็นเด็กวัด โดยมีพ่อลุงทาเอาไปฝากกับเจ้าอธิการสิน จิรธัมโม วัดบ้านด้ายตอนท่านอายุได้ ๑๑ ปี หลังจากเป็นเด็กวัดได้ 3 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ท่านชอบสงบอยากบวชตั้งแต่อายุ ๔-๕ ปีแล้ว ในสมัยเป็นเด็กนักเรียนชอบนั่งสมาธิภาวนาไม่สุงสิงกับใคร เวลาว่างก็เดินจงกรมที่สนามหญ้าโรงเรียน จนเพื่อนฝูงว่าท่านเป็นบ้า ใครจะว่าอย่างไรไม่สนใจ ท่านถือว่าได้ปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้า

 

 

ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร ได้บวชเรียนตามปณิธานที่ตั้งไว้ตั้งแต่เยาว์วัย ถึงเวลาท่านก็กำหนดขอขมาลุงและป้าแทนพ่อแม่ แล้วจึงอาบน้ำและนุ่งผ้าขาวในคืนหนึ่ง พอใกล้รุ่งท่านนิมิตเห็นหลวงพ่อปู่องค์หนึ่งแก่ๆ ผมหงอกสักไม้เท้าจากต้นโพธิ์ใหญ่ที่ในวัดเดินเข้ามาห่านแล้วสอนธรรม กัมมัฏฐานให้ภาวนาว่า พุทโธๆและบอกว่าให้หมั่นภาวนาในภายหน้าจะได้เป็นครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่งของ คนทั่วไปและมนุษย์โลกทั้งหลาย แล้วท่านครูบาเฒ่าก็เดินลับหายไป พอสว่างก็ได้ไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีบุญยืน ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูหิรัญเขตคณารักษ์ วัดศรีบุญเรือง อำเภอแม่จัน เจ้าคณะอำเภอเชียงแสนเป็นองค์พระอุปัชฌาย์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๙ ตรงกับเดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันพฤหัสฯ เวลา ๙.๓๙ น. ได้บวชเสร็จเรียบร้อย มีสามเณรที่บรรพชารวมกันทั้งตำบลสามสิบสองรูป ปัจจุบันเหลือพระครูบาฯเจ้าองค์เดียว

 

 

ครั้นเสร็จพิธีบรรพชาแล้วก็กลับมาวัดบ้านด้ายเข้ากรรมฐานภาวนา ๓ วัน เริ่มเรียนสวดมนต์ภาวนาทำกิจวัตรต่างๆ มีล้างบาตรล้างถ้วยล้างชามทำความสะอาดวัด ดายหญ้า ท่านทำทุกอย่างที่ทำได้ในวัด จำเป็นที่สุดคือ การเจริญภาวนา ท่านนอนองค์เดียว นอนในกุฏิที่เก็บกระดูกผีตายชอบอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ พอบวชเป็นสามเณรไม่นานเกือบ ๑ เดือน คนทั้งหลายก็เล่าลือกันว่ามีสามเณรน้อยต๋นบุญถือกำเนิดที่วัดบ้านด้ายธรรม ประสิทธ์ ศรัทธาสาธุชนทั้งหลายก็พากันมาทำบุญขอให้ทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ให้ สามเณรบุญชุ่มก็บอกว่า “เราบวชเป็นสามเณรใหม่ยังไม่รู้อะไรสักอย่างให้ตั้งจิตอธิษฐานกันเอาเองเถอะ บางคนก็ขอให้เทศน์สั่งสอน เราก็บอกว่ายังไม่รู้อะไรเลยให้หั่นไหว้พระทำบุญให้ทานรักษาศีลห้าข้อให้ดี และภาวนาพุทโธๆไปก็จะได้พ้นทุกข์”

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร

 

 

อารมณ์กรรมฐานโดยพิจารณาอัฐิ
มีหลวงพ่อธุดงค์องค์หนึ่งอยู่อำเภอจุน จ.พะเยา ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบให้พระครูบาเจ้าฯ เมื่อท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาแล้ว ได้น้อมจิตพิจารณาว่า กระดูกของสัตว์โลกทั้งหลายนั้น นับตั้งแต่เวียนว่าย ตายเกิด ในวัฏฏสงสารนี้ หากนำมากองรวมกัน คงกองใหญ่เป็นภูเขาทีเดียว หากแยกกันก็กระจัดกระจายอย่างที่เห็น กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกเข่าไปอีกทางหนึ่ง กระดูกข้อเท้าไปทางอื่น กระดูกข้อนิ้วเท้าก็กระจัดกระจายไปทางอื่น กระดูกทุกส่วนแยกออกจากกันไปคนละที่คนละแห่ง แล้วก็ผุพังกลายเป็นดินเป็นจุลไป ท่านก็น้อมพิจารณาเข้ามาในกายแห่งตนว่า

“เอวงฺธมฺโม เอวงฺอนตฺติโต”

 

 

ยกกระดูกสามร้อยท่อนเป็นกรรมมัฏฐานให้เห็นชัดแจ้งในสังขารรูปนาม ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้ไม่ดีไม่งามเป็นอสุภะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิปัสสนาพิจารณาสรรพสิ่งล้วนเป็นอนิจจังไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตาไม่ใช่ของเขาสักอย่าง เห็นความเกิดความดับของรูปนามสังขารดังนี้แล้วก็ยกจิตขึ้นสู่ยถาภูตญาณทัศนะ เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงทุกอย่าง บังเกิดความเบื่อหน่ายในกองสังขารทุกข์ทั้งหลายอยากจะพ้นไปจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หาทางที่จะหลุดพ้นไปจากสังขารทั้งหลาย แล้ววางเฉยต่อสังขารทั้งหลายไม่ติดข้องยินดีในสังขารทั้งหลาย แล้วมองเห็นอริยะสัจจะธรรมทั้งสี่ให้เห็นแจ้งชัดว่านี้คือทุกข์ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ ความโศกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์ได้ประสบพบสิ่งที่ไม่ได้รักก็เป็นทุกข์ได้ พลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ อยากได้อันใดไม่สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ จึงพึงกำหนดรู้ทุกข์อย่างนี้แล้วให้รู้เหตุที่ให้เกิดทุกข์คือสมุทัยทำให้ เกิดทุกข์ คือ ตัณหา ความอยากได้ทั้งสามคือ กามตัณหาในกามอารมณ์ทั้งหลาย ภาวะตัณหา ตัณหาในภาวะน้อยใหญ่ ความมีความเป็นทั้งหลาย วิภาวะตัณหา ตัณหาในความไม่อยากมีอยากเป็น ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากตัณหาทั้งสามนี้ เมื่อดับตัณหา ความอยากได้ก็ดับทุกข์ทั้งปวง ตัณหาขะยังสัพพะ ทุกขัง ชินาติ ดับตัณหาได้ชนะทุกข์ทั้งปวง แล้วก็มาพิจารณานิโรธ ความดับทุกข์วิราคะไม่ติดข้องด้วยราคะตัณหา ปราศจากไปแล้ว ปฏิสัคโค ความสลัดออกแห่งตัณหาทั้งหลาย นิโรธ ความดับสนิทไม่เหลือ อาจโย มีอาลัยขาดแล้ว วัฏฏะปัจเฉโต ตัดวัฏฏะทั้งสามขาดแล้ว คือกิเลสวัฏฏะ กรรมะวัฏฏะ วิปากวัฏฏะทั้งสามนี้แล นิโรโธติได้ชื่อว่าความดับทุกข์คือพระนิพพานแล้วให้พิจารณาด้วยปัญญาใน วิปัสสนาญาณต่อไป ถึงมรรค คือหนทางอันดับทุกข์ คือมรรคมีองค์แปด คือ

 

 

๑. สัมมาทิฏฐิ
๒. สัมมาสังกับโป ความชอบดำริ
๓. สัมมาวาจา ความพูดวาจาชอบ
๔. สัมมากัมมันโต มีการงานอันชอบ
๕. สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ
๖. สัมมาวายาโม มีความเพียรชอบ
๗. สัมมาสติ มีระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ มีความตั้งใจชอบ

 


ดังนี้ได้ชื่อว่ามรรคมีองค์แปดคือเป็นหนทางอันประเสริฐไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ทางนี้เป็นทางให้ถึงซึ่งความดับแห่งกองทุกข์ในวัฏฏะทั้งหลาย เราพึงทำภาวนาให้รู้แจ้งแล้ว น้อมเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ดับความเห็นผิดทั้งหลายอันเป็นปุถุชนอันแน่นหนาไปด้วยกิเลส แล้วน้อมจิตเข้าสู่โลกุตรภูมิแห่งพระอริยะเจ้าทั้งหลาย แล้วมาพิจารณาดูมรรคธรรมที่เราได้บำเพ็ญมาตลอดสืบเนื่องติดต่อกันไม่ขาดสาย รู้ความไม่เที่ยงอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก รู้ความจางคลายความกำหนดยินดีในสัพพนิมิตสังขารทั้งหลาย รู้ความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ทุกลมหายใจเข้าออก รู้ความสลัดคืนในกองสังขารทั้งหลายหายใจเข้าออก อยู่น้อมจิตเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ตลอดจึงได้ชื่อว่าเจริญมรรคญาณ ต่อไปให้พิจารณาความดับทุกข์ทั้งหลายเป็นนิโรธญาณผละญาณ แล้วก็ถึง ปัจเจกขณาญาณ พิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายเป็นมรรคะสมังคี คือว่าธรรมทั้งหลายมารวมลงกันในที่เดียวคือสติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละธรรมห้า โพชฌงค์เจ็ด อัฐฐังคิกะมรรคะทั้งแปดมาลงรวมกันที่เดียวได้ชื่อว่ามรรคสมังคี แล้วก็น้อมเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ให้แจ้งแล้วให้รู้แจ้งตามสภาวะธรรมที่เป็นจริง แล้วก็มาพิจารณาดูว่าเราได้รู้แจ้งในธรรมหรือยัง ถ้าไม่รู้แจ้งตราบใดก็ละกิเลสไม่ได้ ถ้าตรัสรู้แจ้งแล้วกิเลสธรรมทั้งหลายก็ละได้เองโดยอัตโนมัติไม่ต้องสงสัยเลย ในมรรคผลนิพพานมีจริงทุกอย่างถ้าเราทำจริงต่อมรรคธรรมเราก็จะถึงความดับ ทุกข์ วันหนึ่งเราก็มาพิจารณาดูว่าเราละกิเลสได้เท่าใด เหลืออยู่เท่าใด ดูพระอริยะบ้างก็พิจารณาบ้าง พิจารณาว่ากิเลสมีเท่าใดตัดขาดเท่าใดสุดแล้วแต่บุญวาสนา ปัญญาของใครของมัน ท่านที่มีปัญญาแก่กล้าจึงจะพิจารณาได้ ถ้าบรรลุมรรคขั้นต้นก็มีการตัดกิเลสสังโยชน์ได้สามคือสักกายทิฏฐิ ความยึดมั่นเห็นผิดในกาย วิจิกิจฉาความลังเลสงสัยในธรรมดับไป สีลัพพัตปรามาสความถือศีลไม่มั่นคงลูบคลำศีลก็ดับไป ถ้าได้ถึงสกิทาคาก็กระทำให้ความโลภราคะ โทษะ โมหะ ส่วนที่หยาบๆดับไปถ้าได้ถึงอริยมรรค ที่สามคือพระอนาคามี คือผู้ไม่กลับมาอีก ก็ตัดกิเลสสังโยชน์ได้อีก สองคือกามราคะ ความยินดีในกามราคะดับอย่างสนิท ปฏิฆะความโกรธแค้นพยาบาท ดับสนิท ตรงกับคติธรรมคำสอนของท่านครูบาศรีวิชัยให้เป็นคติว่า อู้ร้อยคำบ่เท่าผ่อครั้งเดียว

 


 

พิธีอุปสมบท
พอถึงเดือนวิสาขะวันที่ ๑๑ เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ โยมแม่แสงหล้าและพ่อน้อยใจมาและลูกศิษย์ทุกคนก็จัดพิธีอุปสมบทให้ในวัดสวนดอก ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พัทธสีมาในโบสถ์วิหารพระเจ้าเก้าตื้อเชียงใหม่ มีคนคณะศรัทธามาร่วมเต็มวัด ทำให้ปลื้มปีติยินดีมาก ได้เข้าอุปสมบทเมื่อวันที่ ๙ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ตรงกับเดือน ๘ เหนือขึ้น ๑๑ ค่ำวัน เวลา ๙.๑๙ น. ในโบสถ์วิหารพระเจ้าเก้าตื้อ พระราชพรหมาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่เป็นองค์อุปัชฌาย์ พระครูเวสุวันพิทักษ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระครูศรีปริยัตินุรักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระสงฆ์ร่วมหัตถบาทยี่สิบเก้าองค์ พระครูบาเจ้าบุญชุ่มได้ให้ศีลให้พรคุณแม่แสงหล้าและศรัทธาทั้งหลายแล้วก็ได้ไปเข้ากรรมภาวนาที่วัดอุโมงค์เชียงใหม่เจ็ดวัน แล้วได้กลับไปที่เมืองพงจำพรรษาที่วัดพระเจ้านอนบ้านทุ่งในปีนี้ คุณแม่แสงหล้าก็มาเข้าพรรษาถือศีลด้วย ท่านดีใจที่สุดได้อยู่ใกล้โยมแม่นำพาแม่ไหว้พระสวดมนต์ภาวนา ตอนอยู่ที่เนปาลนึกว่าจะไม่ได้เห็นหน้าโยมมารดาอีกแล้ว ท่านได้กลับมาดูแลแม่เหมือนในนิมิตบอกทุกอย่าง ได้ปลูกบ้านหลังน้อยๆ ให้คุณแม่อยู่ที่บ้านห้วยน้ำราก ได้สร้างเจดีย์พุทธรูปวิหารทุกอย่างก็ได้ลงชื่อคุณแม่แสงหล้าหมด หลังจากบวชเป็นพระได้สามพรรษา พ่อน้อยใจมา ชัยเผือกก็ถึงแก่กรรมไป ท่านและคุณแม่ก็จัดพิธีศพอย่างดี ทำบุญอุทิศให้ทุกอย่าง โยมแม่กลับมาอยู่บ้านหลังน้อย บ้านห้วยน้ำรากด้วยความผาสุข ท่านดูแลตามใจแม่ทุกอย่างเอาใจใส่ตลอด บางครั้งก็ชวนโยมแม่มาอยู่วัดถือศีลภาวนาในพรรษาบำเพ็ญกุศลภาวนาไม่ขาด คุณแม่เป็นห่วงท่าน และน้องๆทุกคน พระครูบาฯ มีน้ำใจกว้างขวางดูแลญาติพี่น้อง ใครมาขอให้ท่านช่วยเหลือท่านก็ให้เงินใช้จ่ายตามสมควร เวลาญาติพี่น้องมาวัดจะไม่มามือเปล่าจะเตรียมอาหารผักผลไม้มาทุกครั้งที่ขาดไม่ได้ก็คือยาหอมเป็นขวดของวัดโพธิ์กับมะนาวมาถวายท่านทุกครั้งบางทีก็ทำอาหารถวายผักกาดจอ น้ำพริกตาแดงทำถวายพระเณร คุณโยมแม่ใจบุญที่สุด เป็นห่วงท่านมากในปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ท่านได้พาโยมแม่ไปกราบสังเวชนียสถานที่อินเดีย ท่านดีใจที่สุดในชีวิตได้ตอบบุญคุณท่านจนสุดยอด ได้พาไปกราบสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ปฐมเทศนาและที่ดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ได้ชื่อว่าท่านเป็นอุตะมะบุตรผู้โปรดพระแม่มารดาโดยแท้ และปกติตลอดเวลาช่วงเข้าพรรษา ท่านจะไปบำเพ็ญศีลภาวนา ณ พุทธสถานสำคัญหลายแห่ง ได้สัมผัส “ธรรมนิมิต” มากมาย ระหว่างที่เป็นสามเณรและพระสงฆ์

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร

 

 

ลำดับครูบาอาจารย์โดยตรง ของ พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร
๑. หลวงปู่ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทราวตากผ้า จังหวัดลำพูน
๒. หลวงปู่ครูบาอินทจักร์ วัดวนาราม (น้ำบ่อหลวง) สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
๓. หลวงปู่ครูบาชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน
๔. หลวงปู่ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
๕. หลวงปู่ครูบาน้อย วัดบ้านปง แม่แตง
๖. หลวงปู่ครูบาคำแสน วัดดอนมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
๗. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (มหาวีระ ถาวโร)
๘. หลวงปู่หล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
๙. หลวงปู่ฤาษีธนะธัมโม วัดถ้ำผาแตก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
๑๐. หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร
๑๑. หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก จ.อยุธยา
๑๒. พระครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน เป็นพระสหธรรมิก

 


ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความดับทุกข์เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านได้ไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์แล้ว ส่วนมากไม่ได้มีโอกาสไปอยู่ด้วย

 

 

ครูบาอาจารย์ภาคอีสาน ที่ท่านได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์
๑. หลวงปู่นิล วัดครบุรี จ.นครราชสีมา
๒. หลวงปู่พุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน จ.นครราชสีมา
๓. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
๔. หลวงพ่อแสวง วัดถ้ำพระ จ.สกลนคร
๕. หลวงปู่คูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา

 


 

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

นามเดิม :- มีชื่อว่า “ดู่”

เกิด :- เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งเป็นวันเพ็ญวิสาขปุรณมี ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำเนิดในตระกูล “หนูศรี”

โยมบิดา - มารดา :- ชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง มีพี่สาวร่วมบิดามารดา ๒ คน ท่านเป็นคนที่ ๓ เป็นบุตรคนสุดท้อง

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

 

 

อาชีพของโยมบิดามารดาเป็นชาวนา มีฐานะไม่ร่ำรวย เมื่อหมดหน้านา โยมทั้งสองจะช่วยกันทำขนมไข่มงคลออกเร่ขาย หารายได้อีกทางหนึ่ง

ขณะที่ท่านยังเป็นทารกน้อย ได้เกิดเหตุอัศจรรย์กับตัวท่านครั้งหนึ่ง กล่าวคือ เวลานั้นเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำเหนือได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ราบลุ่มแถบอยุธยาแทบทั้งหมด ท้องนาและบ้านเรือนที่อยู่อาศัยมีแต่น้ำเจิ่งนองไปทั่ว บ้านของโยมหลวงปู่ดู่ก็ถูกน้ำท่วมเช่นกัน วันนั้นโยมมารดาได้เอาเบาะซึ่งท่านนอนอยู่ไปวางตรงนอกชาน (ไม่มีระเบียงกั้น) ด้วยเห็นว่าเป็นที่โล่งโปร่ง ลมเย็นพัดโชยตลอดเวลา แล้วโยมมารดาก็ไปช่วยโยมบิดาทอดขนมไข่มงคลในครัว

 

 

ขณะที่โยมทั้งสองกำลังง่วนอยู่กับการทอดขนม ก็ได้ยินเสียงสุนัขเลี้ยง เห่าขรมตรงนอกชาน แล้ววิ่งเข้ามาเห่าในครัวด้วยท่าทางลุกลน ก่อนจะวิ่งพล่านออกไปเห่าตรงนอกชานอีก โยมเห็นสุนัขแสดงกิริยาแปลก ๆ รีบออกจากห้องครัวมาดู มองไปที่เบาะลูกชาย ปรากฏว่า หายไปก็ตกใจสุดขีด วิ่งถลันไปที่สุดนอกชาน กวาดสายตามองหาไปรอบทิศ จึงได้เห็นเบาะหล่นจากชานเรือนลงไปในน้ำที่ท่วมเจิ่งด้านล่าง และลอยไปติดริมรั้วกลางเบาะนั้นมีลูกชายตัวน้อย ๆ นอนร้องอ้อแอ้อยู่

 

 

โยมบิดารีบโดดโครมลงไปในน้ำ ลุยไปที่เบาะลูกชาย เมื่ออุ้มลูกขึ้นมา ปรากฏว่าไม่เป็นอันตรายอย่างใด จึงประคับประคองกลับขึ้นบ้าน ด้วยความรู้สึกอัศจรรย์ใจเหลือจะกล่าว

โยมทั้งสองคิดหาสาเหตุที่ลูกตกไปในน้ำพร้อม ๆ กับเบาะก็นึกไม่ออกว่าลูกจะดิ้นจนเบาะเลื่อนไหลไปจนสุดนอกชาน แล้วตกลงไป ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะลูกยังไม่คว่ำเสียด้วยซ้ำ จะดิ้นรนตะกายอย่างไร ก็ไม่ทำให้เบาะขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ไปไกลถึงเพียงนั้น หรือจะว่ามีลมพัดอย่างแรงถึงกับหอบเอาเบาะลูกหล่นน้ำ ตนอยู่ในครัวใกล้ ๆ ทำไมจึงไม่รู้ว่ามีลมพัด และถ้ากระแสลมรุนแรงถึงขั้นหอบเอาเบาะกับลูกปลิวตกเรือนไปได้ หลังคาบ้านก็คงเปิดเปิงด้วยกระแสลมไปแล้ว

 

 

และที่น่าแปลกน่าอัศจรรย์ก็คือ เมื่อเบาะมีเด็กทารกนอนอยู่ตกลงไปในน้ำ เหตุใดเบาะไม่พลิกคว่ำ หรือตัวเด็กเลื่อนไหลตกน้ำไป ซ้ำเบาะยังลอยน้ำได้ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว เบาะไม่ควรจะรับน้ำหนักเด็กไว้ได้ถึงเพียงนั้น

โยมบิดามารดาจึงเชื่อมั่นว่า ลูกของตนมีบุญวาสนามาแต่กำเนิดแน่นอน ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะทารกน้อยผู้นี้เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ก็ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์จนชั่วชีวิต ได้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติสมณธรรมจนกล่าวได้ว่า ท่านบรรลุอรหัตมรรคผลอีกรูปหนึ่ง

 

 

ชีวิตเยาว์วัยของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านต้องเผชิญกับการพลัดพรากที่รุนแรงร้ายกาจอย่างยิ่ง นั่นคือโยมมารดาเสียชีวิตไปก่อนขณะท่านยังเป็นทารก ครั้นอายุได้ ๔ ขวบ โยมบิดาก็เสียชีวิตตามไปอีกคน ต้องอาศัยอยู่กับยาย โดยมีพี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้เลี้ยงดูเอาใจใส่ เมื่อเจริญเติบโตถึงวัยเรียน ก็เข้าศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

 

 

อุปสมบท :-

อายุครบ ๒๑ ปี จึงได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงปู่กลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่แด เจ้าอาวาสวัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่ฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมปัญโญ ภิกขุ”

 

 

ในพรรษาแรก ๆ ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรม (สมัยนั้นเรียกวัดประดู่โรงธรรม) พระอาจารย์ผู้สอนคือ ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม และหลวงปู่รอด (เสือ) เป็นต้น ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน ท่านได้รับการสอนจากหลวงปู่กลั่น ผู้เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ และหลวงปู่เภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่กลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่านเอง นอกจากนี้ท่านยังได้ไปศึกษากับพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานอีกหลายรูป ที่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดสระบุรี

 

 

ประมาณพรรษาที่สาม หลวงปู่ดู่จึงออกเดินธุดงค์เดี่ยวจากพระนครศรีอยุธยา ไปยังสระบุรี เพื่อไปนมัสการพระพุทธฉาย และรอยพระพุทธบาท จากนั้นก็จาริกย้อนมาทางสุพรรณบุรี ตัดเข้ากาญจนบุรี แต่ธุดงค์ได้เพียง ๓ เดือน ก็ต้องกลับวัดสะแก เนื่องจากอาพาธอย่างหนัก ตลอดเวลาที่ครองเพศบรรพชิต หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ปฏิบัติธรรมกรรมฐานอย่างเคร่งครัดจริงจัง การกระทำความเพียรของท่าน ก็เพื่อตัดขาดจากสายใยของวัฏสงสารให้สะบั้นไปในชาตินี้ จะได้ไม่ต้องสืบภพสืบชาติต่อไปอีก

 

 

นิมิตธรรม :-

ในคืนหนึ่ง ในช่วงก่อน ปี พ.ศ.๒๕๐๐ เล็กน้อย หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเย็น และเข้าจำวัดแล้วนั้น เกิดนิมิตไปว่าได้ฉันดาว ที่มีแสงสว่างมากเข้าไป 3 ดวง ขณะที่ฉันนั้นรู้สึกว่า กรอบๆ ดี เมื่อฉันหมดก็ตกใจตื่น ท่านจึงได้พิจารณานิมิตที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจในนิมิตนั้นว่า ดาวสามดวง ก็คือ ดวงแก้วไตรสรณาคมน์ นั้นเอง ท่านจึงท่อง

 

 

“ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ” ก็เกิดปิติขึ้นในจิตท่านอย่างท่วมท้น เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และมั่นใจว่า การยึดมั่นพระไตรสรณาคมน์ เป็นวิธี ที่เข้าสู่แก่นแท้ เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอา พระไตรสรณาคมน์ เป็นองค์บริกรรมภาวนา

กล่าวได้ว่า ภูมิรู้ภูมิธรรมของหลวงปู่ดู่ มุ่งสู่มรรคผลนิพพานเป็นแนวตรง ซึ่งในอัตประวัติท่าน มีเกร็ดเล็ก ๆ ที่แสดงให้เห็นชัดเจนพอสมควร ดังจะนำมาเล่าดังต่อไปนี้

 

 

กล่าวคือเมื่อครั้งที่หลวงปู่ดู่มีพรรษาไม่มากนัก ที่วัดสะแกมีเรื่องเดือดร้อนรำคาญใจอยู่เรื่องหนึ่ง นั่นคือ พวกโจรใจบาปหยาบช้า มักจะเข้ามาลักขโมยสิ่งของในวัดเนือง ๆ บางครั้งขณะที่หลวงปู่ดู่นอนอยู่ พวกมันก็ยังบังอาจเข้ามาลักขโมยเอาไปต่อหน้าต่อตา

หลวงปู่ดู่เคยทราบจากตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า พระอาจารย์ธรรมโชติ มีคาถาอาคมขลังอยู่บทหนึ่ง สำหรับกำหราบขโมย หากมีใครลักขโมยสิ่งของไป จะต้องกลับเอามาคืนหมด แต่พระอาจารย์ธรรมโชติได้ล่วงลับไปนานแล้ว และไม่มีผู้ใดสืบทอดวิชานี้เอาไว้ ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้พระอาจารย์ธรรมโชติมาสอนวิชาอาคมนี้แก่ท่านในนิมิต แต่ก็ไม่เคยมีนิมิตปรากฏเอาเสียเลย กระทั่งเวลาผ่านไปหลายปี ทำให้ท่านลืมเรื่องที่อธิษฐานจิตเรื่องนี้โดยสนิท

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

 

 

ท่านผู้อ่านอาจจะเลือน ๆ เรื่องของพระอาจารย์ธรรมโชติไปแล้วก็ได้ ดังนั้นจะขอทบทวนความทรงจำสักนิด

กล่าวคือ ก่อนมหาธานีกรุงศรีอยุธยาจะถึงกาลล่มสลายในครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ด้วยน้ำมือของพม่าข้าศึก คนไทยทุกคนย่อมจะจำกันได้ถึง วีรกรรมค่ายบางระจัน นักรบไทยใจหาญกล้ามิว่าชายหญิง รวมตัวกันปักหลักสร้างค่ายสู้กับทหารพม่าอย่างยิบตา พม่ายกกองทหารมาตีคราวใดก็ต้องพ่ายแพ้กลับไปคราวนั้น

ณ ที่ค่ายบางระจันนี้ นามของ พระอาจารย์ธรรมโชติ ก็เป็นที่ปรากฏ และได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ พระอาจารย์ธรรมโชติเป็นพระภิกษุผู้ทรงวิชาอาคมเป็นเลิศ ได้มาเป็นมิ่งขวัญกำลังใจให้แก่ชาวค่ายบางระจันตลอดเวลาที่สู้ศึกกับพม่า ตราบกระทั่งค่ายบางระจันถูกถล่มจนค่ายแตก ประสบความพ่ายแพ้ย่อยยับ วีรบุรุษวีรสตรีลูกค่ายบางระจันสู้ศึกจนตัวตายเกลื่อนค่าย เกลื่อนแผ่นดินเป็นที่เลื่องลือ

 

 

และพระอาจารย์ธรรมโชติก็สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย ในประวัติศาสตร์มิได้บันทึกเอาไว้ว่า พระอาจารย์ธรรมโชติหายสาบสูญไปเช่นไร แต่เป็นที่เชื่อได้ข้อหนึ่งว่า คมดาบของพม่าข้าศึกคงไม่มีทางระคายแม้แต่เงาของท่าน

นับแต่ค่ายบางระจันแตก กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ตราบกระทั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี แล้วมาถึงรัชสมัยของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นครองราชย์ ย้ายเมืองหลวงมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ คือ กรุงเทพมหานคร กาลเวลาล่วงเลยไปนานแสนนานเช่นนี้ พระอาจารย์ธรรมโชติย่อมมรณภาพไปแล้วตามวงวัฏแห่งอนิจจัง วิญญาณของท่านจะไปสถิตอยู่ ณ ที่แห่งใด ย่อมยากที่จะรู้ได้

 

 

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ในกาลต่อมา ท่านผ่านพรรษามานานหลายพรรษาแล้ว และรับศิษย์ไว้ผู้หนึ่ง ซึ่งกล่าวได้ว่า ศิษย์ผู้นี้กับท่านมีวาสนาเกื้อกูลกันโดยตรงก็ว่าได้ เพราะศิษย์คนนี้มิใช่พุทธศาสนิกชน หากนับถือศาสนาคริสต์ ระยะแรก ๆ ที่มาฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ เขาไม่มีศรัทธาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ต่อมาจึงได้ยอมปฏิบัติ และก้าวหน้าในทางธรรมกรรมฐานอย่างเหลือเชื่อ กระทั่งวันหนึ่งเข้าไปเจริญสมาธิในกุฏิกับหลวงปู่ดู่ ได้ปรากฏหลวงปู่ทวดในนิมิต แต่ด้วยเหตุผลทางศาสนา จึงไม่ยอมกราบไหว้นมัสการหลวงปู่ทวด

 

 

ในที่สุด เขาก็ต้องก้มกราบหลวงปู่ทวด ด้วยความเคารพศรัทธาอย่างหาที่เปรียบมิได้ วันหนึ่ง ศิษย์คนนี้มารายงานผลการปฏิบัติของตนต่อหลวงปู่ดู่ตามปกติ จากนั้น จึงได้กราบเรียนถามท่านว่า

“หลวงลุงครับ หลวงลุงรู้จักหลวงปู่พระอาจารย์ธรรมโชติไหมครับ”

ได้ยินลูกศิษย์ถาม หลวงปู่ดู่เพิ่งฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ท่านเคยอธิษฐานถึงพระอาจารย์ธรรมโชติ ขอคาถากำราบโจรไว้นานแล้วจนลืม จึงตอบลูกศิษย์ว่า “รู้จักซิ” แล้วเล่าให้ฟังที่ท่านเคยอธิษฐานขอให้พระอาจารย์ธรรมโชติมาปรากฏในนิมิต ศิษย์จึงกราบเรียนถวายว่า

“พระอาจารย์ธรรมโชติ ท่านสั่งให้มาเรียนหลวงลุงว่า คาถาที่ของนั้นยังเป็นโลก ติดอยู่ในโลก ไปไม่ได้ แต่วิธีการของหลวงลุงเป็นการทำตัวให้พ้นโลก ที่ท่านทำนั้นสูงแล้ว”

 

 

ขณะที่ศิษย์ซึ่งเคยนับถือศาสนาคริสต์ มารายงานผลการปฏิบัติ และเล่าเรื่องพระอาจารย์ธรรมโชติ (มาปรากฏในนิมิต) สั่งความมาถึงหลวงปู่ดู่ มีศิษย์คนอื่น ๆ นั่งฟังอยู่ด้วยหลายคน ท่านจึงพูดให้ได้ยินกันทุกคนว่า

“ที่จริงข้าลืมไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะขอมานมนานกาเล แต่ท่านยังอุตส่าห์บอกถึงข้าจนได้”

เมื่อนำเรื่องของหลวงปู่ดู่มาพรรณนาดังที่ท่านได้อ่านมาแล้ว ย่อมเห็นว่า ท่านมีแนวทางในการกระทำความเพียรเพื่อสิ้นทุกข์ สิ้นกิเลส ในชาตินี้ชัดเจน พร้อมกันนี้ ยังกอร์ปด้วยเมตตาบารมี ยินดีสงเคราะห์ญาติโยม ที่กำลังเผชิญกับความทุกข์ ซึ่งยากจะแก้ไขได้ด้วยตัวเองให้ผ่อนคลายลงได้

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

 

 

เมตตาธรรม :-

หลวงปู่ดู่ท่านให้การต้อนรับแขกอย่างเสมอเท่าเทียมกันหมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะพูดห้ามปรามหากมีผู้เสนอตัวเสนอหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่มาหาท่าน เพราะท่านทราบดีว่ามีผู้ใฝ่ธรรมจำนวนมากที่อุตสาห์เดินทางมาไกล เพื่อนมัสการและซักถามข้อธรรมจากท่าน หากมาถึงแล้งยังไม่สามารถเข้าพบได้โดยสะดวก ก็จะทำให้เสียกำลังใจ เป็นเมตตาธรรมอย่างสูงที่หลวงปู่มีให้ศิษย์ทั้งหลาย และหากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน มาหาท่าน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

 

 

หลวงปู่ทวด :-

ท่านให้ความเคารพในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เป็นอย่างมากทั้งกล่าวยกย่อง ว่าหลวงปู่ทวดท่านเป็นผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยม เป็นโพธิสัตว์จะได้มาตรัสรู้ ในอนาคต ให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ยึดมั่น และระลึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดขัดในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือประสบปัญหาทางโลก ท่านว่า หลวงปู่ทวดท่านคอยที่จะช่วยเหลือทุกคนอยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนอย่าท้อถอย หรือละทิ้งการปฏิบัติ

 

 

สร้างพระ :-

หลวงปู่ดู่ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้าง หรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นว่า บุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยงทางด้านจิตใจ เพราะศิษย์ หรือ บุคคลนั้น มีทั้งที่ใจใฝ่ธรรมล้วนๆ กับ ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคลยังดีกว่า ที่จะไปให้ติดวัตถุอัปมงคล”แม้ว่าหลวงปู่ดู่ท่านจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ การภาวนา นี้แหละ เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง บางคนมาหาท่านเพื่อต้องการของดีเช่นเครื่องรางของขลัง ซึ่งมักจะได้รับคำตอบจากท่านว่า “ ของดีนั้นอยู่ที่ตัวเรา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละของดี ”

 

 

ปัจฉิมวาร :-

นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมาสุขภาพหลวงปู่เริ่มทรุดโทรม เนื่องการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุจากการที่ต้องต้อนรับแขก และบรรดาศิษย์ทั่วทุกสารทิศ ที่นับวันก็ยิ่งหลั่งไหลกันมานมัสการท่านมากขึ้นทุกวัน แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่าน เล่าว่า บางครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่น และมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใครต้องเป็นกังวลเลย ภายหลังตรวจพบว่า หลวงปู่ เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้ว่าทางคณะแพทย์ จะขอร้องท่านให้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ท่านก็ไม่ยอมไป

 

 

ประมาณปลายปี พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่พูดบ่อยครั้ง เกี่ยวกับ การที่ท่านจะละสังขาร ซึ่ง ในขณะนั้นหลวงปู่ท่านได้ใช้หลักธรรม ขันติ คือความอดทนอดกลั้นระงับ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากโรคภัย จิตของท่านยังทรงความเป็นปรกติสงบเย็น จนทำให้คนที่แวดล้อมท่านไม่อาจสังเกตเห็นถึงปัญหาโรคภัยที่คุกคามท่านอย่างหนัก

วันอังคารที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ช่วงเวลาบ่ายนั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบท่านเป็นครั้งแรก หลวงปู่ท่านได้ลุกขึ้นนั่งตอนรับ ด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ จนบรรดาศิษย์ เห็นผิดสังเกต หลวงปู่ยินดีที่ได้พบกับศิษย์ผู้นี้ ท่านว่า “ต่อไปนี้ ข้าจะได้หายเจ็บไข้เสียที ” คืนนั้นมีคณะศิษย์มากรายท่าน ท่านได้พูดว่า “ ไม่มีส่วนใดในร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้อง ICU ไปนานแล้ว ” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” และกล่าวปัจฉิมโอวาทย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท “ถึงอย่างไรก็ขอให้อย่าได้ละทิ้งการปฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติ ก็เหมือนนักมวย ขึ้นเวทีแล้วต้องชก อย่ามัวแต่ตั้งท่า เงอะๆ งะๆ” หลังจากคืนนั้นหลวงปู่ก็กลับเข้ากุฏิ และละสังขารไปด้วยอาการสงบด้วยโรคหัวใจ ในกุฏิท่านเมื่อเวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ของ วันพุธที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี ๘ เดือน ๖๕ พรรษา ยังความเศร้าโศกและอาลัยแก่ ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งดวงประทีปที่เคยให้ความสว่าง ดับไป แต่เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านยังปรากฏ อยู่ในดวงใจของ ศิษยานุศิษย์ตลอดไป

 

 

พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕

ธรรมโอวาท :-

อีกเรื่องหนึ่งที่หลวงปู่ดู่มักจะกล่าวเตือนศิษยานุศิษย์ ทั้งที่ใกล้ชิดและห่างไกล ตลอดจนสาธุชนญาติโยมทั้งหลาย ให้พึงสังวรอยู่เสมอก็คือ เรื่องควรงดเว้นกระทำกรรมชั่วโดยเด็ดขาด โดยท่านจะนำเอาพุทธพจน์ที่ว่า “ขึ้นชื่อว่าความชั่วแล้ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า” มาเป็นข้อเตือนสติแก่ทุกคน เพราะการกระทำกรรมใด ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมเลวก็ตาม จิตของผู้นั้นจะบันทึกเก็บงำข้อมูลเอาไว้โดยละเอียด เมื่อใดที่ถึงกาลมรณะ จิตตัวนี้จะเป็นตัวชี้นำไปสู่สุคติ หรือทุคติอย่างชัดเจน

 

 

จิตตัวนี้สำคัญนัก แม้เพียงไปยึดติดหรือข้องอยู่กับกรรมเพียงน้อยนิด ขณะใกล้จะสิ้นใจตาย ก็ยังสามารถเบี่ยงเบนจุดหมายปลายทางที่จะไปเกิดได้ ลักษณะที่จิตไปจับกรรมในขณะกำลังจะถึงมรณกาล เรียกว่า “มรณาสันนวิถี” นี้ หลวงปู่ดู่ท่านเคยกล่าวถึง พระภิกษุผู้ปฏิบัติกรรมฐานขั้นสูงรูปหนึ่ง พระภิกษุรูปนี้ หรือ อาจารย์รูปนี้เป็นที่แน่ใจว่า ไม่มีทางไปสูทุคติ หรือ ภูมิแห่งความทุกข์ยากลำบากอย่างแน่นอน ท่านถึงกับบอกแก่บรรดาศิษย์ของท่านว่า “หากท่านมรณภาพวันใด ทุกคนจะได้ยินเสียงปี่พาทย์ราดตะโพนมารับ” (คงหมายถึง เหล่าเทวดาแสดงเสียงดนตรีสวรรค์ต้อนรับ)

 

 

ต่อมาอาจารย์รูปนี้อาพาธ และมีอาการทรุดหนักเกินกว่าจะเยียวยารักษาได้ กระทั่งมรณภาพ ในวันมรณภาพนั้น ศิษยานุศิษย์ และทายก ทายิกา มาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก เมื่ออาจารย์สิ้นลมหายใจ ทุกคนก็คิดว่า จะได้ยินเสียงปี่พาทย์ราดตะโพน แต่กลับไม่ได้แว่วเสียงอะไรเลย ทุกคนต่างพากันผิดหวังระคนเสียใจ ที่อาจารย์ของตนไม่ได้ไปดีดังที่ท่านตั้งปณิธาน และเชื่อมั่น อีกทั้งยังเกิดห่วงใยอาจารย์ไปต่าง ๆ นานา

 

 

เหตุที่อาจารย์มิได้ไปตามวิถีดังที่ตั้งใจ หลังจากมรณภาพแล้วนั้น เนื่องจากก่อนท่านจะอาพาธ มีโยมนำอ้อยมาถวาย ท่านจึงได้นำไปปลูกไว้ และเอาใจใส่รดน้ำอยู่เสมอ จนอ้อยเจริญงอกงามขึ้น เรื่อย ๆ ขณะที่ท่านใกล้จะถึงกาลมรณภาพ เกิดคิดไปถึงอ้อยกำลังเจริญงามเต็มที่ น่าจะตัดอ้อยไปปอกถวายพระฉัน

 

 

สมควรแก่การจดจำ สองคาถาชั้นสูง ศิษย์และอาจารย์ "พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"สองพระอริยเจ้าผู้เมตตา เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

 

 

ด้วยเหตุที่จิตไปข้องอยู่กับอ้อย เมื่อสิ้นใจตาย จึงไปเกิดเป็นตัวเล็น ติดอยู่ที่ต้นอ้อย ไปไหนไม่รอด

พิธีงานศพของอาจารย์ยังดำเนินไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ ๗ ทายกเห็นอ้อยกำลังงาม จึงได้ตัดไปปอกเปลือกแล้วควั่นอ้อยถวายพระ เป็นโอกาสดีของอาจารย์ท่าน จึงโมทนาไม่ติดเกาะอยู่ที่นั่นอีก

ทันทีที่อาจารย์หลุดพ้นจากอัตภาพตัวเล็น เสียงปี่พาทย์ราดตะโพนก็ดังกังวานขึ้นในอากาศ เป็นที่ประจักษ์ของผู้ร่วมงานทุกคน ทำให้ทายก ทายิกา และบรรดาศิษย์ทั้งหลาย บังเกิดความปีติปราโมทย์กันทั่วหน้า เพราะเป็นไปตามวาจาของอาจารย์ทุกประการ

 

 

เหตุนี้ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ จึงกล่าวย้ำซ้ำเตือนตามพุทธพจน์เสมอว่า “ขึ้นชื่อว่าความชั่ว ไม่ทำเสียเลยจะดีกว่า” เพราะถ้าจิตไปยึดติดกรรมเพียงน้อยนิด ก็ยังไม่อาจไปสู่สุคติได้ ดังเช่น อาจารย์ซึ่งปฏิบัติธรรมกรรมฐานมาอย่างเคี่ยวกรำ กระทั่งจิตหมดจดสดใสแล้ว เพียงแค่เกิดความห่วงใย “อยาก" จะนำอ้อยไปถวายให้พระฉันเท่านั้น ถึงกับไปไหนไม่รอดเอาดื้อ ๆ ดังเรื่องราวซึ่งได้กล่าวมาแล้ว

 

 

คติธรรม :-

พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรือไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง"

 

 

อ่านเพิ่มเติม... ยันต์เกราะเพชร "หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค"

 

 

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูล

ครูบาบุญชุ่มครูบาสายล้านนาสายป่ากรรมฐาน

หนังสือ ๓๐ พรรษาในร่มเงาพระพุทธศาสนา 
ของพระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร

http://www.dharma-gateway.com

https://palungjit.org

พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น