น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ละสังขารอย่างสงบแล้วตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๐.๔๕ น.ณ กุฏิท่านวัดป่าศิลาพร จ.ยโสธร สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา

 

 

• คำกล่าวขอขมาพ่อแม่ครูอาจารย์

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต

มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต

มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต

กรรมใดที่ลูกได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อองค์หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ด้วยกายกรรม ด้วยวจีกรรม และด้วยมโนกรรม ที่ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ด้วยความขาดสติรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา ขอองค์หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ได้โปรดเมตตางดโทษล่วงเกินนั้นให้แก่ลูกหลานด้วยเทอญ

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

"..ธรรมที่ได้ยิน ได้เห็น ได้ฟังมา ยังเป็นธรรมนอกอยู่ ธรรมใดที่เกิดจากความรู้ของตัวเอง แม้เท่าเมล็ดงาก็มีรสมีชาติ จึงว่ารสแห่งธรรมะชนะรสทั้งปวง.." โอวาทธรรมหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ "พระอริยสงฆ์ผู้เป็นดั่งพี่ชายใหญ่ แห่งวัดป่าบ้านตาด"

หลวงปู่บุญมี ท่านถือกำเนิด เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๙ ตรงกับแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ณ บ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็น จ.ยโสธร)

ท่านอุปสมบท เมื่อวันปวารณาออกพรรษา ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๙ เวลา ๑๓.๓๕ น. ณ วัดวัดสร่างโศก อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร) โดยมี พระครูพิศาลศีลคุณ(พระอาจารย์โฮม วิสาโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ปริปุณโณ” แปลว่า "ผู้เปี่ยมด้วยบุญ"

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

• พรรษาที่ ๑-๒ (พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๑)

วัดป่าบ้านหนองแสง อ.เมือง จ.ยโสธร

เมื่อบวชพระพรรษาแรกนี้ท่านได้ศึกษานักธรรมไปด้วยจนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท ระหว่างนั้นมีโอกาสเป็นกรรมการคุมสอบนักธรรมชั้นตรีที่วัดบ้านสิงห์ ซึ่งสมัยนั้นทั้งฝ่ายธรรมยุตและมหานิกายสอบร่วมกัน

ปีต่อมาจึงได้สอบธรรมสนามหลวงนักธรรมชั้นเอกที่สำนักบ้านป่าติ้ว อำเภอป่าติ้ว ซึ่งมีผู้เข้าสอบนักธรรมชั้นเอกทั้งหมดในปีนั้น ๒๕ รูป เป็นอันว่าสอบตกทั้งหมด

ในช่วงพรรษานั้น เมื่อถึงเวลาลงอุโบสถ สำนักต่างๆ ที่ตั้งอยู่รอบๆ เช่น วัดป่าบ้านหนองแสง วัดป่าบ้านนิคม เป็นต้น ต้องเดินไปที่วัดศรีฐานใน เพราะเป็นสำนักใหญ่ที่มีครูบาอาจารย์พระกรรมฐานผู้ใหญ่จำนวนมาก ทำให้มีโอกาสได้กราบได้พบครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่อยู่บ่อยครั้ง ได้รับอุบายการภาวนาพร้อมทั้งได้ศึกษาวัดปฏิบัติ ขอพระกรรมฐานไปในตัวด้วย

 

 

• คู่กัลยาณมิตร

หลังจากสอบนักธรรมเสร็จแล้ว ท่านเดินทางมาที่วัดศรีฐานในจนได้พบกับกัลยาณมิตรของสำคัญที่พึ่งเป็นพึ่งตายอาศัยช่วยเหลือกันมา ซึ่งก็คือหลวงปู่เพียร วิริโย ที่เดินทางมาจากวัดป่าบ้านนิคม นอกจากจะเป็นอันเตวาสิกไปองค์หลวงตามหาบัวเหมือนกันแล้ว ท่านทั้งสองยังเป็นสัทธิวิหาริกในพระอุปัชฌาย์รูปเดียวกันด้วย ทั้งถือกำเนิดในปีเดียวกันและในจังหวัดเดียวกัน หลวงปู่บุญมีเมตตาเล่าให้ฟังว่า “พระอาจารย์เพียงเกิดก่อนผม ๕๖ มื้อ(วัน)”

หลวงปู่เพียร วิริโย เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๙

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๙

ขณะเดียวกันหลวงปู่เพียรด้วยกล่าวถึงหลวงปู่บุญมี เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ ความตอนหนึ่งว่า “กับท่านอาจารย์บุญมีนั้นได้เป็นหมู่กันเป็นเพื่อนกัน ได้สร้างบารมีมาด้วยกัน หลายภพหลายชาติแล้ว”

 

 

• แสวงหาครูบาอาจารย์

ในระหว่างนั้นเกียรติคุณอันดีงามของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ต่างขึ้นชื่อลือชาในปฏิปทาพระธุดงค์กรรมฐาน ทำให้ท่านเป็นเสมือนมงกุฎของพระกรรมฐานที่งามเด่นอยู่เสมอ ทำให้ภาคกรรมฐานร่วมต่อมาต่างต้องการไปกราบฟังธรรมภาคปฏิบัติเพื่อเป็นแนวธรรมแนวทางต่อไป ดังนั้นท่านกับหลวงปู่เพียร จึงหวังจะเดินทางไปจากฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นด้วยสักครั้ง แต่ก่อนจะไปกราบหลวงปู่มั่น ได้ปรึกษากันว่าจะไปจากพระธาตุพนมก่อน แต่ก่อนจะไปกราบนมัสการพระธาตุพนม หลวงปู่บุญมีและหลวงปู่เพียรได้เดินทางออกจากยโสธร บ้านนิคม และพักที่สำนักของหลวงปู่ดี ฉันโน วัดป่าสุนทราราม บ้านกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา ทำการตัดผ้า เย็บผ้า ย้อมผ้าอยู่หลายวัน พร้อมกันนั้นได้เห็นปฏิปทาจากหลวงปู่ดี ฉันโนด้วย

 

 

• พระใหม่เรื่องเที่ยวธุดงค์

อีกวาระหนึ่งที่หลวงปู่เพียรได้กล่าวถึงช่วงเวลาที่เริ่มเที่ยววิเวกแสวงหาครูบาอาจารย์ร่วมกันกับหลวงปู่บุญมีว่า…

“ออกพรรษาที่ ๒ ได้ยินข่าวครูบาอาจารย์ทางสกลนครท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็คือหลวงปู่มั่น นั่นเเหละองค์หนึ่ง แล้วก็มีหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่อ่อน และก็อีกหลายองค์นะตอนนั้น จึงได้ตัดสินใจว่า ไปเถอะ..ไปเว้ยเรา เท่านั้นล่ะจึงชวนกันมากับหลวงปู่บุญมี เณรสอนติดตามมากับท่านและเณรจันทร์ได้มากับผม ออกเดินทางกันมาประมาณ ๑ เดือนจึงค่อยถึงจังหวัดสกลนคร พระนอนที่นั่นบ้างที่นี่บ้างเรื่อยมา เหนื่อยก็พัก ๓ คืนบ้าง ๔ คืนบ้าง ร่ม(กลด) ก็ไม่มีนะ ถุงบาตรก็ไม่มี ใช้ผ้าอาบน้ำมาเอา มันไม่มีนะสมัยก่อน ไม่เคยไปไหน บวชครั้งแรก แล้วก็เป็นพระปริยัติด้วย ถึงบาตรถุงเบตไม่มีหรอก ใช้ผ้าอาบน้ำมัดเอา เอาใช้ผ้าข้างหนึ่งห่อมัดบาตรให้อยู่ข้างหนึ่งแล้วเอาชายผ้านั่นแหละมัดให้แน่น ส่วนใช้ผ้าอีกข้างหนึ่งที่เหลือก็ทำเป็นสายสะพายบาตรมัดกันให้ดี มุ้งก็ไม่มี ร่วมกลดก็ไม่มี สมัยก่อนนะมันขัดสนนะเรื่องผ้าและของใช้ต่างๆ มันเป็นช่วงหลังสมัยสงครามญี่ปุ่น ขาดแคลนผ้า ผ้าใหม่ๆ ก็ไม่มีล่ะและระหว่างเดินมาสกลนครได้ไปฉันน้ำตามภูตามดง เราก็ไม่เคยเพราะว่าเราเป็นคนบ้านทุ่งมาฉันมากินน้ำภูน้ำดง (ฉันนั้นตามป่าตามภูเขา) โอ๊ย...ทั้งอาเจียนทั้งถ่าย ผมเป็นก่อน ท่านอาจารย์บุญมีเป็นทีหลัง อาการหนักทั้งคู่ จึงต้องผลัดกันดูแล พอค่อยยังชั่วจะออกเดินทางก็มีโยมเขามานิมนต์ไม่ให้ไปต่อ เขานิมนต์ให้กลับ แต่ท่านอาจารย์บุญมีท่านบอกว่า “โอ๊ย...ไม่กลับหรอกโยม ไปตายเอาข้างหน้าดีกว่า” ท่านบอกว่ามันได้ออกมาแล้วเลยเดินทางต่อไป และได้หยุดพักอยู่ที่บ้านม่วงไข่ (เขตติดต่อระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับจังหวัดนครพนม) ตอนเช้าไปบิณฑบาตแล้วกลับมาฉัน ว่าฉันเสร็จแล้วมีโยมคนหนึ่งชื่อพงษ์มั้ง แกบอกว่ารอผมก่อนนะครับ แต่เขาก็ไปเรี่ยไรเงินได้ ๑๒ บาท คงจะเริ่ยไรค่ารถให้ เราก็ไม่ได้รู้เรื่องด้วย แล้วแกพาเดินไปหาโยมที่เขาทำงานกรมทาง พวกโยมที่ทำงานกรมทางอยู่นั้น เขามาทำสะพานกัน ก็ไกลกันอยู่มากนะ ประมาณ ๔ กิโลเมตรน่าจะได้ พอพวกกรมทางเห็นเรา เขาก็เลยพากันมาช่วยสะพายบาตรให้ แล้วพาเดินไปที่เขากำลังทำสะพานกันอยู่ พอดีมีรถโดยสารประจำทางนครพนมมา คนขับเขาเบารถจอดรับโยมที่ทำงานกรมทาง จึงฝากเรากับรถโดยสารนั้นมา แกบอกกับคนขับรถนั้นว่าของฝากพระไปด้วยนะครับไม่มีเงินนะ ไม่มีเงินให้มากครับ มีอยู่ ๑๒ บาท คนขับรถจึงถามว่าทำไมถึงให้น้อยแท้ โยมที่ทำงานกรมทางจึงบอกกับคนขับรถว่า โอ๊ย..สาธุ..ฉันไม่มีๆ เอารถมาถึงพระธาตุพนมก็เลยลงพักนอนที่พระธาตุพนมหนึ่งคืน

 

 

ออกจากนั้นก็ไปอยู่บ้านน้ำก่ำกับอาจารย์ลือ นอนพักอยู่ ๒ หรือ ๓ คืน ไม่รู้ เหนื่อยก็พักไปเรื่อย (ที่แห่งนี้เองที่หลวงปู่บุญมีเคยกล่าวถึงว่า ได้พบเห็นพระที่ร่ำเรียนเดรัจฉานวิชาเป็นแนวทางสวนกระแสพระนิพพานเป็นต้นว่าพวกคุณไสยต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากแนวทางพระธุดงค์กรรมฐานที่เคารพในพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง) ออกจากที่นั่นมาถึงนาแกอีก ออกจากนาแกก็พักบ้านนามนหลายคืนอยู่นะ ที่บ้านนามนมีอาจารย์คำดี อยู่ที่นั่นองค์เดียว พอเราจะออกมาท่านก็เลยออกมากับเราด้วย เราเลยได้ช่วยสะพายบาตรให้ท่าน แล้วก็มานอนอยู่บ้านหนองเม็กอีกหนึ่งคืน แต่จำไม่ได้ว่านอนที่วัดป่าสุทธาวาสกี่คืน แต่ก็หลายคืนอยู่นะ เมื่อสมัยก่อนออกบิณฑบาตแถวนั้นไกลมากนะ จากสกลนครไป ๓ กิโลเมตร จากวัดป่าสุทธาวาสไปนั่น สมัยนั้นบ้านเมืองยังไม่ค่อยเจริญ

 

 

เมื่อสมัยก่อนมาบิณฑบาตทางสนามบินก็ไกลนะ บ้านห้วยส้มโฮงก็ไกล ญาติโยมเขาก็ไม่ได้ไปจังหันหรอกเมื่อก่อน เขามีอะไรเขาก็ห่อใส่บาตรให้เลย เหมือนกับพวกเราทุกวันนี้แหละ(หมายถึงช่วงในพรรษามีพระเณรรับอาหารเฉพาะที่ได้จากบิณฑบาตคือไม่รับอาหารที่ตามมาส่งภายหลัง) มันไกลเขาไปไม่ไหว เขาก็เลยห่อใส่บาตรให้ จากนั้นก็มุ่งหน้าไปทางบ้านหนองโดก แล้วไม่หยุดพักอยู่บ้านพ่อออกใหญ่(ทางภาคอีสานจะเรียกผู้ชายผู้หญิงว่า “พ่อออก” “แม่ออก” เป็นคำนำหน้าชื่อของคน ๆ นั้น) มาพักอยู่หลายคืนนะ มาพบอาจารย์ช่วย(หลวงปู่บุญช่วย ธัมมธโร) อยู่ที่นั่น เลยได้พักอยู่กับท่าน ท่านจะไปนครพนม วัดเก่าวัดร้าง สมัยก่อนเดินตามทางมีแต่ป่าแต่ดง ไม่มีหลักทุ่งนา ไม่ได้เดินทางรถนะ เดินลัดไปกลับป่ากับดงโน่นล่ะ เห็นบ้านอยู่ข้างหน้าก็เดินลัดไปเลย ไปตามทางหมู่บ้านนั่นล่ะ

 

 

สมัยนั้นอยู่ในป่าในดง เสือช้างก็ไม่เคยเจอนะ มีแต่แตนนั่นแหละต่อยอยู่เรื่อย กลางคืนน่ะเวลาเดินหาที่นอนถูกแตนต่อยก็ยังไม่แล้วนะ กว่าจะได้ที่พักนอน พอลงนอนกลางคืนก็ถูกปลวกใหญ่มากัดมาเจาะกินอีก กินกระทั่งหนังสือสุทธิ

แต่พอตอนเช้าออกไปบิณฑบาตก็ได้อาหารมาพอฉันอยู่ บางครั้งญาติโยมเขาก็ตามเอาอาหารมาถวายให้เหมือนกัน ไปอยู่ตามตรงตามป่าอย่างนั้นก็ไม่เคยเจอสักทีนะ เปรต ผี ไม่เคยเห็นไม่เคยเจอ เลยไม่รู้จะกลัวอะไร เวลานอนก็ไม่กลัว เอาผ้าอาบน้ำปูแล้วก็ล้มตัวลงนอนเลย”

 

 

• พบหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

ในระหว่างนั้นหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ กำลังสร้างวัดป่าบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ขึ้นในบริเวณป่าช้า(ปัจจุบันคือวัดป่าภูไทสามัคคี) ท่านทั้งสองรูปต่างดีใจที่ได้พบกับครูบาอาจารย์ จึงได้เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่อ่อน ประจวบกับเวลานั้นส่วนจะเข้าพรรษาแล้ว จึงกราบเรียนขออนุญาตร่วมจำพรรษาด้วย แต่หลวงปู่อ่อนได้แนะนำว่า… “ให้พากันไปจำพรรษาที่วัดหนองโดกนะ(วัดป่าโสตถิผล) ผมเคยอยู่ที่นั่น เพราะที่นั่นมีกุฏิเพียง ๑๐ หลังและตอนนี้ก็มีพระเต็มหมดแล้ว” เมื่อได้ฟังคำแนะนำจากหลวงปู่อ่อนแล้วจึงได้มุ่งหน้าไปที่วัดหนองโดก

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

• กราบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

แต่ก่อนจะเข้าพรรษาในปีนั้นคณะของพระอาจารย์คำสิงห์และพระอาจารย์สมแวะมาที่วัดหนองโดก โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ดังนั้นท่านกับหลวงปู่เพียรเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะได้กราบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก่อนเข้าพรรษา จึงเดินทางไปพร้อมกับคณะของพระอาจารย์คำสิงห์และพระอาจารย์สม

 

 

ในการเดินทางครั้งนั้นต้องพักค้างคืนกลางทางคืนหนึ่ง พระฉันเช้าเสร็จก็เดินทางกันต่อไปถึงวัดป่าบ้านหนองผือ แล้วรอโอกาสเพื่อขึ้นกราบ เมื่อได้โอกาสแล้วจึงพากันขึ้นไปกราบองค์หลวงปู่มั่นบนกุฏิ ท่านจึงให้โอวาทพอสมควร พอได้พบเจอหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก็รู้สึกปิติยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นพระผู้เป็นที่ขึ้นชื่อลือนามอย่างยิ่งในระหว่างนั้น แม้ว่าหลวงปู่มั่นในคราวนั้นจะไม่ได้แสดงธรรมมากมายอะไร เพราะเป็นช่วงที่สุขภาพร่างกายของท่านไม่อำนวยมาก แต่ก็ทำให้เกิดกำลังใจ ในการประพฤติปฏิบัติในเวลาต่อมา

 

 

ขณะเดียวกันก็ได้พบเห็นกับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กำลังขยี้เปลือกมะพร้าวให้ยุ่ยแล้วนำใยส่วนนั้นมาทำเป็นที่นอนถวายหลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัวกลับไปเยี่ยมโยมมารดาแล้วได้ผ้าใหม่มา จึงนำมาเย็บเป็นที่นอนถวายหลวงปู่มั่น เมื่อเห็นอย่างนั้นจึงได้เข้าไปช่วยหลวงตาขยี้เปลือกมะพร้าวเพื่อทำที่นอน ระหว่างนั้นหลวงปู่มั่นอยู่ในระหว่างอาพาธมีอาการไอด้วย หลวงปู่บุญมีได้ยาอมตราเสือมาจึงนำไปถวายหลวงปู่มั่น ศ ิษย์ทั้งฝ่ายพระ และฆราวาสต่างพยายามอย่างเต็มที่ในการดูแลรักษา ใครหรือองค์ไหนมีอะไรก็เอาไปถวายท่าน และได้ช่วยกันแบ่งเบาภาระต่างๆ ตามหน้าที่ของแต่ละองค์

 

 

ในโอกาสนั้นได้พบเห็นครูบาอาจารย์มากมาย เพราะในช่วงบ่ายวันนั้นมีการประชุมสังฆอุโบสถโดยมีหลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร เป็นองค์สวดปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ ในสำนักวัดป่าบ้านหนองผือ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปัจฉิมวัยของหลวงปู่มั่น บางคราวจะมีครูบาอาจารย์ที่มีสำนักอยู่รอบๆ วัดป่าบ้านหนองผือจะมาร่วมอุโบสถและรับฟังโอวาทจากท่านถึงครั้งละ ๕๐-๖๐ รูป ซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยากยิ่งในวงพระธุดงค์กรรมฐาน

 

 

“ข้อวัตรปฏิบัติยุควัดป่าบ้านหนองผือ

ที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ถือปฏิบัติอยู่เป็นนิจ

คือต้นแบบของพระธุดงค์กรรมฐาน

แม้ว่าองค์หลวงปู่มั่นจะเข้าสู่แดนนฤพานนานมาแล้ว

แต่วัตรปฏิบัติที่เป็นเสมือนตัวแทนของท่านยังคงอยู่...”

 

 

• วัดป่าบ้านตาด

ปี พ.ศ.๒๔๙๙ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน บุกเบิกสร้างวัดป่าบ้านตาด โดยมีพระติดตามมาจากจันทบุรีมาร่วมบุกเบิกสร้างด้วยกันก็มีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร หลวงปู่เพียร วิริโย หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต สามเณรน้อย(หลวงตาน้อย ปัญญาวุโธ) คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ โดยหลวงตาได้กล่าวถึงวัดป่าบ้านตาดยุคนั้นไว้ว่า…

 

 

“...ทีแรกเรามาพักอยู่นอกบ้านนู้น เขาจึงนิมนต์ให้มาพักที่ตรงนี้ มี ๒ เจ้าภาพถวายที่ดินกินกลายเป็นวัดขึ้นมา แล้วก็สงบสงัดดีเป็นเอกเทศประจวบกับโยมมารดาบวชชีเมื่อมีอายุครบ ๖๐ ปีพอดี ส่วนโยมบิดานั้นได้สิ้นชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้วตอนอายุ ๕๕ ปี จากนั้นเราจึงได้พาโยมมารดาไปจำพรรษาด้วยที่จังหวัดจันทบุรีเป็นเวลา ๑ พรรษา โยมมารดาได้ล้มป่วยลงด้วยโรคอัมพาต จึงหวนกลับมาพามารักษาตัวที่บ้านตาด โรคของโยมมารดาถูกกับยาหมอที่อยู่บ้านจั่น ซึ่งไม่ห่างจากบ้านตาด(ประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร) เรามาพักและรักษาโยมแม่พร้อมๆ กัน ที่นี่พอนานๆ ไปก็เลยกลายเป็นสร้างวัดป่าบ้านตาดขึ้นมา เรื่องมันเป็นอย่างนั้น”

ปี พ.ศ.๒๔๙๙ บ้านตาดเดิมทีเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีไม่กี่หลังคาเรือน อยู่ห่างจากถนนใหญ่ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ถนนเข้าสู่บ้านตากผ่านหมู่บ้านดงเค็ง เป็นถนนลูกรังเล็กๆ กว้าง ๓ เมตรผ่ากลางทุ่งนา เวลารถวิ่งฝุ่นจะฟุ้งกระจายและม้วนตัวตามหลังรถทำให้ผู้โดยสารมอมแมมไปทั่วทั้งตัว โดยเฉพาะผมจะถูกฝุ่นย้อมเป็นสีแดงในเวลาอันรวดเร็ว

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

พอเข้าฤดูฝนถนนที่เคยเป็นทุ่งฝุ่นสีแดงก็จะเปลี่ยนกลายเป็นทะเลโคลนสีแดง สองข้างทางเป็นหลุมเป็นบ่อเจิ่งนองด้วยน้ำ รถต่างลื่นไถลเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางทั้งขาเข้าและขาออก ทั้งยังมีทางที่เชื่อมไปยังหมู่บ้านและสถานที่ต่างๆ มากมาย ถนนเข้าสู่วัดป่าบ้านตาดเป็นถนนลูกรังแคบๆ ชาวบ้านสมัยก่อนจึงคุ้นเคยกับภาพที่หลวงตามหาบัวเดินบนคันนาเข้ามาบิณฑบาตในหมู่บ้าน ในเวลาต่อมาชาวบ้านทนดูท่านเดินเข้ามาบิณฑบาตลำบากไม่ได้จึงบริจาคที่ดินทีละเล็กละน้อยสร้างถนนเข้าวัด ทั้งหลวงตาจะคอยดูแลว่าจ้างตาอิฐ คนขับรถหกล้อมาช่วยซ่อมแซมถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อนั้น ตาอิฐพร้อมกับคนงานที่มีอยู่ ๒ คน จึงทำหน้าที่ขนหินลูกรังมาถมตามหลุมตามบ่อ ช่วยกันกลบหลุมเกลี่ยดินและหินให้ราบเรียบดีขึ้น ถนนจึงดีขึ้นสะดวกขึ้นเป็นลำดับมา

 

 

• จำกัดพระเณร

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เข้ามาบุกเบิกสร้างวัดป่าบ้านตาดในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ในปีต่อมาคือปี พ.ศ.๒๕๐๐ หลวงปู่บุญมีจึงเข้ามาศึกษากับหลวงตา ซึ่งเป็นยุคแรกทำให้ท่านได้มีส่วนสำคัญในการพาพระเณรสร้างกุฏิศาลา หรือกำแพงรอบวัดป่าบ้านตาด เนื่องจากท่านกับหลวงปู่ลี กุสลธโร เป็นพระที่มีอายุพรรษาพอสมควรแล้ว จริงมีหน้าที่คอยดูแลถนนให้อยู่ในสภาพดี แพะหลวงตาในคราวที่ท่านไม่อยู่ ยิ่งเมื่อฝนตกหนักทีไร ทั้งสองท่านต้องออกมาสำรวจถนนทุกครั้ง

 

 

• ช่วงแรกของยุคบ้านตาด

หลวงตามหาบัวจำกัดพระเณรให้อยู่จำพรรษา ๑๒-๑๘ รูป กระทั่งมาปีหลังๆ จึงอนุโลมมากขึ้น ในเรื่องการรับพระเข้ามาศึกษาที่วัดป่าบ้านตาด ครูบาอาจารย์รุ่นเก่าที่อยู่ศึกษากับหลวงตามหาบัวได้กล่าวว่าถ้าเป็นพระมาใหม่ท่านจะไม่ใช้มาตรการหนัก ท่านจะใช้เฉยๆไปก่อน นอกจากจะแย่จริงๆ ก็อาจจะถูกว่าโดยตรง แต่ไม่ใหม่ท่านจะสังเกตดู ถ้าเห็นว่ามีความตั้งใจปฏิบัติ จะช้ากว่าเขายังไม่เข้าร่องเข้ารอย ฉันก็จะไม่พูดอะไร ยิ่งเมื่อหลวงตามหาบัวอนุญาตให้รูปไหนอยู่จำพรรษาได้ พระรุ่นเก่าก็จะเข้ามาแสดงความยินดี เพราะหลวงตาจะไม่รักใครง่ายๆ มีพระหลายรูปด้วยกันที่ท่านไม่ให้อยู่ ในช่วงใกล้เข้าพรรษา ถ้าจะพูดว่าองค์นี้ไปนะ องค์นี้อยู่ได้นะ ฉันต้องการให้เห็นคุณค่าของการได้อยู่ศึกษาปฏิบัติจะได้มีความตั้งใจ เพราะเวลาได้อะไรมาง่ายๆ เราก็จะไม่เห็นคุณค่าของมัน สิ่งใดที่ได้มาด้วยความยากลำบาก แล้วก็จะรักษามันอย่างดี กรณีนี้ก็เป็นเหมือนกัน

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

ในยุคแรกๆ แม้จะเป็นช่วงแรกของการสร้างวัดก็ตาม แต่ทางด้านการภาวนาเป็นสิ่งที่หลวงตาเน้นเป็นพิเศษอยู่เสมอ แม้ภายในวัดจะมีกิจการงานอะไรก็ตาม แต่เมื่อถึงเวลาบ่ายสามโมง การงานทุกอย่างที่ทำอยู่ในวัดต้องหยุดทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีเสียงดังรบกวนพระที่ภาวนาอยู่ภายในวัด ยิ่งในสมัยนั้นไม่มีญาติโยมเข้ามาเกี่ยวข้องมาก พระเณรก็จะมีเวลาประพฤติปฏิบัติทางด้านจิตตภาวนามากขึ้น

ส่วนในเรื่องการประชุมอบรมพระก็ไม่แน่นอนตามเหตุอันเหมาะสมแล้วแต่หลวงตา หรือบางครั้งก็สามวัน เจ็ดวันนัดประชุมอบรมพระกาลครั้งหนึ่ง หลวงตาก็เจ้าเทศน์อบรมพระด้วยภาพปฏิบัติที่เข้มข้นจริงจังอยู่สม่ำเสมอ ดังนั้นพระที่อยู่ศึกษาจึงสำรวมระวังจิต ทำความเพียรบำเพ็ญภาวนาอยู่สม่ำเสมอ

 

 

• โปรดโยมมารดา

บรรดาสานุศิษย์ในหลวงตามหาบัวต่างรู้ดีกันว่าการจะออกจากวัดป่าบ้านตาดโดยไม่มีกิจจำเป็นนั้นเป็นเรื่องยาก เหตุผลหนึ่งก็คือความเคารพในองค์หลวงตามหาบัวอย่างยิ่ง ไม่ต้องการให้ท่านต้องเป็นห่วง เหลือเกินจะออกไปเที่ยววิเวกภาวนาก็ต้องเป็นอย่างนั้นจริงๆ ไม่ได้ต้องการไปเที่ยวเพลินเล่นหวังอามิสอย่างอื่น

 

 

ในหน้าแรกของปี พ.ศ.๒๕๐๒ มารดาของพระอาจารย์บุญมี ปริปุณโณท่านเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นจึงเป็นเหตุให้ลาหลวงตามาเยี่ยมมารดาที่บ้านหนองแสง พอใกล้จะเข้าพรรษาแล้ว มารดายังไม่หายดีท่านจึงต้องหาที่จำพรรษาที่อยู่ใกล้บ้านหนองแสง ท่านจึงสะพายบาตรพร้อมกับบริขารไปที่บ้านกม.๓ โดยมีสามเณรคำภา ติดตามไปด้วย เมื่อไปถึงที่วัดบ้านกม.๓ แล้วเห็นว่าไม่มีพระอยู่จําพรรษาแม้แต่รูปเดียว ดังนั้นท่านจึงเดินมุ่งหน้าไปที่วัดเทพประชาบำรุง พร้อมกับได้บอกกับสามเณรคำภาว่าจะหาที่จำพรรษา

 

 

เมื่อไปถึงวัดเทพประชาบำรุงเห็นว่าเหมาะจะจำพรรษาจึงได้บอกกับสามเณรคำภาว่า “จะกลับก็ได้นะ เราจะจำพรรษาที่นี่” สามเณรคำภาเห็นท่านไม่กลับจึงกราบเรียนว่า “อาจารย์ไม่กลับ ผมก็ไม่กลับ” เป็นอันว่าท่านกับสามเณรคำภาจึงได้จำพรรษาที่วัดเทพประชาบำรุงด้วยกัน ในปีนั้นมีพระเณรร่วมจำพรรษาไม่มากนัก

 

 

ความที่ท่านผ่านการเรียนนักธรรมมาจนสอบได้นักธรรมชั้นโท มีความรู้พอจะแนะนำพระและสามเณรบวชใหม่ได้ ดังนั้นในระหว่างพรรษาท่านจึงได้แนะนำสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมวินัยให้พระเณรบวชใหม่ได้รู้และเข้าใจ แต่ก็ไม่ได้สอนจริงจังจนถึงเข้าสอบอะไร

ออกพรรษาแล้วท่านจึงกลับไปที่วัดป่าบ้านตาด อยู่กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ถิ่นที่ทำให้เกิดความมั่นคงอบอุ่นในธรรมวินัย ในความเป็นศิษย์อาจารย์อย่างแท้จริง

 

 

• เข้มงวดทุกตารางนิ้ว

วัดป่าบ้านตาดยุคแรกๆ นอกจากพื้นที่รอบๆ จะเป็นป่าเป็นดงแล้วการสัญจรไปมาก็ลำบาก แม้ว่าชื่อเสียงของหลวงตามหาบัวจะเรื่องลือในวงพระกรรมฐาน แต่สำหรับประชาชนทั่วไปยังรู้จักท่านน้อยอยู่ ดังนั้นการเป็นอยู่ในสมัยนั้นของหลวงตาจึงเป็นไปเพื่อสานุศิษย์ที่เข้ามาศึกษาอบรมกับท่านอย่างเต็มที่

 

 

การสอดส่องดูแลลูกศิษย์จึงครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ทั้งเรื่องภายในจิตใจคือเรื่องจิตตภาวนา เรื่องภายนอกคือข้อวัตรปฏิบัติที่ละเอียดรอบคอบถูกต้องตามสิกขาบทพระธรรมวินัย โดยเฉพาะเรื่องจิตตภาวนาการทำความพากเพียรนั่งสมาธิภาวนา เรื่องความเข้มงวดกวดขันสอดส่องดูแล บางคืนช่วงเวลาประมาณ ๔ ทุ่ม ตั้งก็จะเดินตรวจตราดูว่าพระทำความเพียรเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนาอยู่หรือเปล่า ถ้าไม่เห็นที่ทำจงกรม ก็จะสังเกตดูที่กุฏิถ้าคนนอนหลับเสียงลมหายใจก็จะแตกต่างจากการภาวนา โดยเฉพาะกิจสมัยก่อนก็ไม่ได้มงบังมิดชิดอะไร เป็นเพียงเสนาสนะที่พ่ออยู่เพราะอาศัยทำความพากความเพียรได้สะดวกเท่านั้น หากรูปใดนอนก่อน ๔ ทุ่ม เที่ยงคืนไม่ลุกขึ้นภาวนา แล้วตื่นนอนหลังตี ๔ จะถูกไล่หนีจากวัดทันทีหรือหากรูปใดนอนก่อน ๔ ทุ่ม ก็ควรนอนตื่นขึ้นมาภาวนาช่วงเที่ยงคืนแล้วตื่นนอนก่อนตี ๔ รายละเอียดเหล่านี้หลวงตาก็จะเฝ้าสังเกตอยู่เป็นประจำ และเมื่ออยู่ไม่ตั้งใจภาวนาท่านก็จะกล่าวตักเตือน ถ้ายังไม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก็จะได้หนีออกจากวัด พระเณรที่เข้าไปศึกษาอบรมกับท่าน จึงตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นมาเพื่อภาวนาเป็นหลัก ไม่มีใครนิ่งนอนใจอยู่ได้เพราะถ้าไม่จริงจังตั้งใจมาเพื่อภาวนาก็จะถูกไล่หนีทันที

 

 

ความเข้มงวดกวดขัน ความเคร่งครัดในธรรมวินัย ทำให้พระที่อยู่ศึกษาภายในวัดป่าบ้านตาดในยุคนั้นเคารพยำเกรงหลวงตามาก จะไม่มีใครออกมาเดินเพ่นพ่านบริเวณศาลาเลย ใครจะมาเดินเล่นหรือคุยกับญาติโยมในที่ตรงนั้นไม่ได้ วัดจึงเงียบสงบจริงๆ เคยมีผู้เปรียบเทียบความเคารพเกรงกลัวในหลวงตายุคนั้นไว้ว่า มีทางสองแพร่งที่ครั้งหนึ่งเดินเข้าไปเจอเสือ กับอีกทางหนึ่งเดินเข้าไปเจอหลวงตา ถึงขนาดที่ว่าถ้าให้เลือกแล้วพระเลือกที่จะเจอกับเสือดีกว่า

 

 

• ธรรมเนียมการไปเที่ยววิเวก

ตามพระวินัยกำหนดไว้ว่าถ้ายังไม่ได้ ๕ พรรษา ไม่ใช่อยู่ปราศจากครูบาอาจารย์ แต่ก็มีหลายครั้งที่พระบวชได้ ๒ พรรษาแล้วจะลาไปธุดงค์องค์เดียวก็ยังไปไม่ได้ นอกจากหลวงตาเห็นสมควรถ้าไปแล้วได้ประโยชน์ แต่ถ้าไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ทั้งก็จะไม่ให้ไป มีพระรูปหนึ่งอยู่ได้ ๒-๓ พรรษาก็ขอลาไปธุดงค์ ละสองสามครั้งก็ไม่อนุญาต จนครั้งสุดท้ายเวลาหลวงตาท่านจึงบอกว่าไปแล้วก็ไม่ต้องกลับมาเพราะท่านจะดูจิตของผู้ปฏิบัติเป็นหลัก อายุพรรษาก็เป็นส่วนประกอบตามสมควรตามพระธรรมวินัย บางทีได้ ๕ พรรษาแล้ว ถ้าท่านเห็นว่ายังไม่สมควรไป ไปแล้วเสีย ท่านก็จะพยายามดึงไว้ อย่างน้อยอยู่ในวัดก็ได้ศึกษาแนวทางจากครูบาอาจารย์เป็นการสั่งสอนวิชาต่อไปก่อน

 

 

บางรูปบางองค์ที่ยังไม่เข้มแข็ง จะอยู่ศึกษาก็เกรงกลัวหลวงตาที่เข้มงวดกวดขัน จะลาไปเที่ยวก็ไม่กล้าจะกล่าวลา จึงมีอยู่หลายครั้งที่ได้บาตรได้บริขารแล้วหนีไปเลยโดยไม่ได้บอกกล่าวลาใคร

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

• เที่ยววิเวกพบปราชญ์กลางป่าเขา

ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ถ้าไม่ขออนุญาตหลวงตาออกมาเที่ยววิเวกทางถ้ำพระ บ้านกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จึงได้พบหลวงปู่หล้า ขันติธโร ท่านอยู่กับต๊อบที่มุงบังด้วยฟาง แม้จะเป็นพระเถระผู้ใหญ่แต่เป็นอยู่อย่างสมถะและสงบมาก ตอนนั้นยังไม่รู้จักกิตติศัพท์อันงามของท่าน เห็นเป็นพระกรรมฐานที่อยู่อย่างเรียบง่าย รักความสมถะสันโดษ ในภายหลังจึงได้รับรู้เรื่องราวปฏิปทาของท่านจากครูบาอาจารย์ หลวงปู่หล้ามักจะเก็บตัวมากรูปหนึ่ง มีปฏิปทาที่น่าเคารพเลื่อมใส มีนิสัยเด็ดเดี่ยวอาจหาญ ชอบอยู่และไปคนเดียว ไม่ชอบออกสังคมคนหมู่มาก เรื่องจิตท่านมีนิสัยชอบรู้สิ่งแปลกๆ ได้ดี คือพวกกายทิพย์ มีเทวดา เป็นต้น

 

 

หลวงปู่หล้า ขันติธโร เดิมทีท่านเป็นคนลาว แต่เมื่อบวชแล้วจึงมาอยู่ในประเทศไทย ในวาระสุดท้ายท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่านาเก็น อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี ท่านมักจะอยู่ตามเถียงนาตามไร่ตามนาของชาวบ้าน หลวงปู่บุญมีได้กล่าวถุงปฏิปทาของหลวงปู่หล้า ขันติธโร ก่อนที่ท่านจะมาณภาพว่าท่านให้คนทำกองฟอนสำหรับการถวายเพลิงท่านไว้ก่อนแล้ว พร้อมทั้งยังกำชับต่อไปอีกว่ากระดูกท่านให้นำไปโยนลงเหว

 

 

ในระยะที่ท่านออกเที่ยววิเวกนั้นมีอาจารย์ประยูร (ปัจจุบันสึกแล้ว) ติดตามไปด้วย โดยได้พากันออกจากบ้านตาดไปทาง อ.บ้านผือ น้ำโสม เข้าเมืองเลยทางบ้านสานตม ภูเรือ ถึงหล่มสัก น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ พักภาวนาที่ถ้ำน้ำหนาว แล้วจึงกลับเข้าวัดป่าบ้านตาดเหมือนเดิม

 

 

• ปฏิปทาที่งดงาม

ในวัดป่าบ้านตาด หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เป็นพระที่มีอายุพรรษามาก รองจากหลวงตามหาบัว มักจะได้รับความไว้วางใจให้ดูแลกิจการงานภายในวัดเป็นอย่างมาก พอท่านอายุพรรษามากขึ้น พระเณรในวัดก็มากขึ้น บางทีเข้าวัดกิจวัตรต่างๆ ภายในวัด หรือกระทั่งกุฏิที่พักของท่าน แทนที่ท่านจะให้พระหนุ่มเณรน้อยกระทำแทน หรือหลายๆ ครั้งเกี่ยวกับปัดกวาดเช็ดถูศาลา เห็นน้ำใส่ตุ่มใส่ถังตั้งก็ยังทำร่วมกันกับพระหนุ่มทั่วไป เป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาการงานข้อวัตรกิจวัตรของสงฆ์ จึงมักจะเห็นหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ หลวงปู่ลี กุสลธโร ทำข้อวัตรร่วมกันกับพระหนุ่มเณรน้อยอยู่เสมอไม่มียกเว้น

 

 

กิจของสงฆ์ส่วนรวมภายในวัดป่าบ้านตาด เมื่อท่านได้รับมอบหมายลงมาจากหลวงตามหาบัวแล้ว ในการที่ต้องปรึกษาหารือร่วมกันหรือแบ่งงานที่ได้รับมอบหมายมาออกไปโดยที่ต้องอาศัยความเห็นจากหลายๆ ฝ่าย ซึ่งเป็นการประชุมลับๆ ของหมู่พระที่หลังวัด หรือที่เรียกเป็นการภายในว่า “สภาหนู” เป็นการกระจายงานออกไปให้ครอบคลุมเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ให้เป็นภาระหนักใจของหลวงตา

 

 

• พี่ชายใหญ่

เนื้อเรื่องพระธรรมวินัยนั้นเป็นที่รู้กันดีว่าหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เป็นผู้ที่มีความละเอียดลออ ท่านศึกษาตำรับตำราเกี่ยวกับพระวินัยมาอย่างละเอียด ดังนั้นจึงจะเห็นท่านให้คำแนะนำในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับพระวินัยอยู่เสมอ

เป็นที่รู้กันดีว่าท่านเป็นพระที่มีความโอบอ้อมอารีอย่างสูงยิ่ง จะไม่เห็นท่านดุด่าว่ากล่าวพระหนุ่มเณรน้อยเลย ในเวลาที่มีเหตุการณ์อื่นใดภายในวัดที่ทำให้หลวงตาดุ ท่านก็จะออกรับแทนพระผู้น้อย บางคราวได้ให้กำลังใจเกี่ยวกับการโดนดุว่าหลวงตาท่านให้ขุมทรัพย์ หรือบางครั้งหลวงตาไล่พระออกจากวัด ได้ก็จะบากหน้าไปหาหลวงตาเพื่ออนุเคราะห์หนุ่มน้อยเรานั้น ความเมตตาอารีที่ท่านมีต่อพระรุ่นหลัง ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำ หรือการออกรับแทนน้องๆ ในกรณีต่างๆ ทำให้มีการเปรียบเทียบท่านเป็นเสมือนเป็นพี่ชายใหญ่ที่คอยดูแลน้องๆ ด้วยความโอบอ้อมอารี

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

ความที่อยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาดมายาวนาน ครูบาอาจารย์รูปอื่นอาจอยู่ศึกษาเป็นพระระยะเวลาสั้นๆ แล้วออกไปตั้งสำนักวัดวาอารามต่อไป แต่สำหรับหลวงปู่บุญมีนั้น เป็นพระผู้ใหญ่ที่อยู่กับหลวงตามหาบัวมาร่วม ๒๐ ปี ไม่ยอมออกไปตั้งวัดเหมือนพระรูปอื่น ทำให้หลวงตามหาบัวมักจะขนานนามเรียกหลวงปู่บุญมีว่า “ ธรรมใหญ่” หรือ “ท่านใหญ่” อยู่เสมอ

 

 

• พระผู้ใหญ่ที่ไม่ลืมตน

เมื่อกล่าวถึงยุคสมัยนั้นย้อนหลังไปปี พ.ศ.๒๕๒๐ ลงไป ท่านก็ยังทำตัวเป็นพระเล็กพระน้อยอยู่เหมือนเดิม พระที่เคยร่วมจำพรรษากับท่านจะปัดกวาดถูกุฏิท่านก็ไม่ให้ทำ ดังนั้นพระที่มีพรรษาน้อยบางครั้งต้องได้ลักทำข้อวัตรเหล่านี้เอาบุญตอนที่ฉันไม่อยู่ เพราะถ้าอย่างนั้นฉันก็ไม่ให้ทำ

 

 

การเข้าไปรับบาตรท่านไปล้างหลังฉันเสร็จก็เหมือนกัน ถ้าจะขึ้นไปรับบาตรท่านไปล้างเลยไม่ได้ ต้องให้ท่านถือลงมาจากศาลาเสียก่อน เป็นการให้ความเคารพหลวงตาด้วย จากนั้นพระจึงรีบเข้าไปรับไปล้างให้ ซึ่งท่านก็มาผ่อนผันให้ล้างในภายหลัง ถ้าเป็นยุคแรกๆ แม้ท่านจะอายุพรรษามากแล้วก็ยังทำเอง ท่านให้เหตุผลว่าท่านยังเป็นพระหนุ่มยังแข็งแรงอยู่

 

 

เวลาที่ต้มน้ำแก่นขนุนซักผ้า เมื่อท่านจะมาซักผ้านั้นพระก็จะกุลีกุจอเข้าไปขอผ้าจากท่านมาซักให้ ท่านก็อนุโลมให้แต่ก็กำชับให้ดูแลผ้าในการตาก การกลับผ้าพื่อไม่ให้เป็นรอยหรือเพื่อป้องกันจากสัตว์หรือแมลงที่อาจมากัดผ้า ซึ่งเป็นสิกขาบทวินัยของพระในการดูแลผ้าจีวร มีเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับการตากผ้าดูแลผ้าในยุคนั้น จะไม่มีใครดูดบุหรี่แล้วไปเก็บผ้าหรือตากผ้าเลยก็เหตุการณ์นี้หลวงตาเคยดุพระอย่างหนักทำให้พระถือเป็นหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

 

 

• เคารพซึ่งกันและกัน

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านทั้งสองเคยอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่ยุควัดป่าห้วยทรายเรื่อยมาถึงยุคบุกเบิกสร้างวัดป่าบ้านตาด ทำให้มีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน เคารพซึ่งกันและกัน รวมด้วยช่วยกันทำกิจที่ได้รับมอบหมายมาจากหลวงตามหาบัวอย่างแข็งขัน แม้ภายหลังท่านทั้งสองได้ออกจากวัดป่าบ้านตาดไปแล้ว แต่ความเคารพช่วยเหลือเกื้อกูลกันยังมีมาโดยสม่ำเสมอถึงทุกวันนี้

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

• ผู้ใหญ่ของหลวงตาออกเที่ยววิเวก

วัดป่าถ้ำหีบแห่งนี้เป็นป่าเขาที่เหมาะกับการปฏิบัติธรรมภาวนา มีครูอาจารย์ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แวะมาพักภาวนาอยู่เป็นประจำ ทั้งเป็นสถานที่ขึ้นชื่อว่ามีภูมิเจ้าที่แรงพระที่มาอยู่ในที่แห่งนี้ไม่ปฏิบัติภาวนาก็จะมีอันเป็นไป

ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ก่อนเข้าพรรษามีพระเถระผู้ใหญ่ ๒ รูป คือหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ หลวงปู่ลี กุสลธโร ออกมาเที่ยววิเวกพักภาวนาอยู่ที่นี่ พอใกล้จะเข้าพรรษาหลวงปู่ลีจึงกลับเข้าไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาด ในพรรษานั้นหลวงปู่พงษ์ ธ้มมาภิรโต ท่านประจำอยู่ที่วัดถ้ำหีบมาก่อนหน้านี้แล้ว

เมื่อมีพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน มาพักภาวนาทำให้พระผู้น้อยรู้สึกอุ่นใจที่ได้อยู่ใกล้ชิดศิษย์องค์สำคัญของหลวงตา ยิ่งเมื่อได้รับรู้ถึงที่มาที่ไปว่า หลวงตาส่งออกมาก็ยิ่งรู้สึกปีติยินดี เพราะเป็นไปได้ยากมากที่จะมีพระเถระผู้ใหญ่ออกมาเที่ยววิเวก พร้อมกันสององค์ เพราะโดยปกติทั้งหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ และหลวงปู่ลี กุสลธโร ต่างก็แทบจะไม่ได้ออกมาจากวัดป่าบ้านตาดได้โดยง่าย

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

แต่แล้วก่อนจะเข้าพรรษาพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก ได้เขียนจดหมายกราบเรียนถึงหลวงปู่บุญมีกับหลวงปู่ลีว่าขอพระผู้ใหญ่คืนไปจำพรรษาวัดป่าบ้านตาด ๑ องค์ เพราะนอกจากหลวงตาแล้วไม่มีพระผู้ใหญ่ที่คล่องงานอยู่ด้วย ทำให้พระอาจารย์อินถวายรู้สึกเป็นภาระหนักที่ท่านต้องรับงานจากหลวงตาโดยตรง เพราะท่านอายุพรรษายังไม่มาก ดังที่หลวงปู่บุญมีได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นไว้ว่า… “ปีที่อาตมาออกมาจากบ้านตาด อาจารย์ลี ปีนั้นออกไปเที่ยวภูจ้อก้อวัดอาจารย์หล้า เขมปัตโต กลับมาพบกันที่บ้านหนองกอง เราถึงตอนเช้า อาจารย์ลีมาตอนเย็น รุ่งเช้าฉันเสร็จพ่อครูตุ้มเอารถมารับไปจำพรรษาถ้ำหีบ กลอนเข้าพรรษาท่านอินทร์เขียนจดหมายมา พระผู้ใหญ่ไม่มี ไปอยู่ที่นั่นหมด ขอคืนองค์หนึ่ง เราให้อาจารีกลับไป เราจำพรรษาถ้ำหีบ”

 

 

ในปีนั้นท่านจึงให้หลวงปู่ลีกลับเข้าไปจำพรรษาบ้านตาดเพราะได้ออกมาเที่ยววิเวกอยู่บ่อยครั้งแล้ว ส่วนท่านพึ่งจะได้ออกมาเที่ยววิเวก เมื่อตกลงกันได้แล้วหลวงปู่ลีจึงกลับเข้าไปวัดป่าบ้านตาด ส่วนท่านก็จำพรรษาที่วัดป่าถ้ำหีบ

ก่อนที่ท่านจะมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าถ้ำหีบนี้ ท่านอยู่วัดป่าบ้านตาดมาเป็นเวลาร่วม ๒๐ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยมีเพียงพรรษาเดียวคือปี พ.ศ.๒๕๐๒ ที่ท่านไปจำพรรษาที่วัดเทพประชาบำรุง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านหนองแสง เพราะจะได้อยู่ใกล้มารดาซึ่งป่วยอยู่ในขณะนั้น

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เทศน์กล่าวถึงการที่หลวงปู่บุญมี ออกมาภาวนาในช่วงปีนั้น เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ ว่า .. “ท่านบุญมีอยู่กับเรามาร่วม ๓๐ ปี เราล่ะไล่ออกไป นี่จะเป็นพ่อตาแม่ยายได้แล้วนะนี่ จะมาเป็นลูกเขยใหม่อยู่ทำไม ไป ไล่ไป ให้ท่านเพียรไปนั่น ท่านใหญ่ก็ไปด้วยกัน เลยไปอยู่ที่นั่นล่ะ”

 

 

อีกครั้งที่หลวงตากล่าวถึงศิษย์ผู้ใหญ่ ในคราวถวายเพลิงศพหลวงปู่เพียร วิริโย ณ วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ “ท่านเพียร-ท่านบุญมีที่ติดสอยห้อยตามเรามาตั้งแต่ต้นเลย เราล่ะเป็นคนไล่ออกมานี่ มันควรจะเป็นพ่อตาแม่ยายได้แล้ว เราว่าอย่างนั้น แล้วเป็นลูกเขยใหม่อยู่อย่างไร ไป เลยไล่มาท่านเพียรมาทางนี้ ท่านบุญมีก็มาด้วยกัน อยู่กับเราร่วม ๓๐ ปี ท่านเพียร-ท่านบุญมีเรียบร้อยเหมือนกันหมด ไม่มีด่างพร้อย เรียบร้อยการปฏิบัติของท่าน ท่านเพียงกับท่านบุญมีท่านปฏิบัติเอาจริงเอาจังเหมือนกัน ที่อยู่กับเรานานคือท่านสิงห์ทอง พอดีท่านตายเสีย ท่านสิงห์ทองก็อยู่นานแต่ตายก่อน ท่านเพียงกับท่านบุญมีนี้นานนะ เราจึงให้ออกมา ท่านสิงห์ทองเป็นพระชอบตลก นิสัยชอบเล่น ชอบตลกนะท่านสิงห์ทอง แต่อันนี้เรียบๆ ท่านเพียร ท่านบุญมีเรียบๆ แปลท่านสิงห์ทองเป็นนิสัยชอบตลก ชอบตลกนิสัยเป็นมาดั้งเดิม ที่เป็นลูกศิษย์มานมนานคือท่านสิงห์ทองท่านเพียงท่านบุญมี ๓ องค์ ”

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

• มุ่งสู่ภูลังกา

ก่อนที่ท่านจะไปจำพรรษาที่วัดถ้ำยานาโพธิ์นั้น เดิมทีก็ไม่ได้ต้องการจะไปที่นั่น แต่เป็นเพราะเจ้าอาวาสคนเก่าคือหลวงพ่อเพ็ง เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่นรูปหนึ่ง แทงวัดถ้ำยานาโพธิ์ได้มรณภาพลงพร้อมกันนั้นโยมที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงตาได้ไปกราบเรียนและขอพระไปจำพรรษาแทน เมื่อหลวงตาทราบแล้วจึงเจาะจงบอกให้ไปหาหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ซึ่งระหว่างนั้นท่านอยู่ที่วัดถ้ำหีบ เมื่อท่านทราบว่าหลวงตาเจาะจงมาจึงไม่อาจปฏิเสธได้ เมื่อออกพรรษาแล้วจึงได้เดินทางไปที่วัดถ้ำยานาโพธิ์ อ.บ้านแพง จ.นครพนม

 

 

• หลวงตามหาบัวเมตตา

เวอร์ชั่นใหม่อยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำญานาโพธิ์นั้น สถานที่ก็ยังไม่สะดวกนัก แต่เมื่อท่านไปอยู่ที่นั่น หลวงตาก็ยังเมตตาไปเยี่ยมอยู่บ่อยครั้ง บางคราวถึงขนาดพักค้างคืนที่วัดถ้ำยานาโพธิ์เลยทีเดียว ทุกครั้งที่หลวงตาไปก็จะนำสิ่งของจำเป็นไปมอบให้เป็นการดูแลลูกศิษย์ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร

หลวงตาได้กล่าวถึงการให้หลวงปู่บุญมีออกจากวัดป่าบ้านตาด ไปอยู่วัดป่าถ้ำหีบ แล้วต่อไปวัดถ้ำยานาโพธิ์ โดยได้ที่อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕ ว่า… “ท่านบุญมี เขามากขอเราก็ให้ไปอยู่ เราสร้างศาลาหลังหนึ่งให้พอดีเรากะให้เลย ถ้าเราจะให้ไม่ใหญ่โตแหละ พอดีกรรมฐาน เรากะเราจะต้องเอาทำเป็นหลักเกณฑ์เลย ตั้งแต่ท่านบุญมีลงจากนั้นแล้วเราก็ไม่ขึ้นไปอีกเลย แต่ก่อนเราไปมาด้วยเรื่อยๆ ทีแรกท่านบุญมีก็อยู่ที่นี่ตั้ง ๒๘ หรือ ๓๐ ปีก็ไม่รู้นะ เราไล่ออกเลย ไปอยู่ทางบ้านผือ เขาว่าถ้ำหีบดีนะ แต่เราไม่เคยไปเห็น ทางโน้นล่ะแถวอำเภอบ้านผือสถานที่นั่นดีมาอยู่นี่จะเป็นพ่อตาแม่ยายไปแล้วตั้งแต่อ้อนแต่ออกก็ไม่อยู่วัดนี้ตลอดเป็นอย่างนั้นจริงๆ ท่านบุญมีนี่ ตั้งแต่พรรษา ๒ มั้ง ติดพันกันมาด้วย เผาศพหลวงปู่มั่นแล้วก็ติดพันกันมาเรื่อย เรามาอยู่ที่นี่ก็เลยมาด้วย จนกระทั่งเราได้ไล่หนีไป

 

 

ไม่ได้ไล่ด้วยแบบผิดธรรมวินัยอะไรแหละ ไล่เพราะอยู่นาน สงสารอยากให้ไปภาวนา เพราะฉันอยู่ที่นี่ท่านปฏิบัติตัวเป็นเหมือนพระหนุ่มน้อยตลอดเวลา ความขยันหมั่นเพียรทุกด้านทุกทางไม่มีที่ต้องติ แล้วท่านก็เป็นภาระอยู่ตลอด เราก็เคยรับภาระมาแล้วก็ถึงกันละซี ภาระก็เกี่ยวข้องกับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ก็เลยไล่ไป ไปหาที่ภาวนา ท่านก็เลยไปที่นั่น ไปอยู่ที่นั่นเราก็ติดตามไปดู เห็นว่าเหมาะ เออที่นี่เหมาะ เลยทำศาลาให้หลังหนึ่ง ขนาดกุฏิวัดถ้ำพระภูวัวละมั้ง จะโตกว่านั้นก็เล็กน้อย จากนั้นไปอยู่ไม่สะดวก พ่อท่านไปหมู่เพื่อนแตกฮือไปด้วยหมดเลย ไปอยู่บ้านนาคูณจนกระทั่งทุกวันนี้ ท่านขยันหมั่นเพียรทางภายนอกนี่เก่งมากจนเราสงสาร ให้ท่านไปหาที่ภาวนาให้ท่านภาวนาสะดวกสบาย มายุ่งเหยิงวุ่นวายกับหมูกับเพื่อนตลอดเวลาไม่เหมาะ เราว่างี้ ตั้งจึงไปอยู่นั่นเรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ อยู่วัดเรานี้ไม่ ๒๘ ก็ ๓๐ ปี ฟังสิ นานขนาดนั้น เราสงสารถึงให้ออกไป “

 

 

• หลวงปู่ชอบ ฐานสโม มาพักอยู่บ่อยครั้ง

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม จะแวะมาพักที่วัดถ้ำยานาโพธิ์เป็นประจำบางครั้ง ๒-๓ วัน บางครั้งเป็นอาทิตย์ก็มี ดังนั้นพระภายในวัดจึงมีโอกาสได้ทำเข้าวัดถวายหลวงปู่ชอบ เป็นต้นว่า สรงน้ำ จับเส้นถวาย เพราะว่าในช่วงนั้นหลวงปู่ชอบท่านพูดน้อย ศิษย์จึงได้แต่ทำเข้าวัดถวาย เป็นที่รู้กันว่าเหตุผลประการหนึ่ง ที่ทำให้หลวงปู่ชอบมักจะแวะมาเมตตาโยมที่บ้านแพงอยู่บ่อยครั้ง เป็นเพราะว่ามีโยมอุปัฏฐากที่บ้านแพง ในอดีตชาติโยมคนนี้เคยเกิดเป็นลูกของท่าน ทั้งเป็นโอกาสอันดีที่พระและสามเณรภายในวัดถ้ำยานาโพธิ์และอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบ ในเรื่องนี้บ้างก็กำชับพระเณรให้ต้อนรับปฏิบัติอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ให้เรียบร้อยดีงาม

 

 

• สนทนาธรรมกับหลวงปู่แบน ธนากโร

ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำยานาโพธิ์นั้น มีอยู่วันหนึ่งที่หลวงปู่แบน ธนากโร แห่งวัดดอยธรรมเจดีย์ ได้มาเยี่ยมเยือน เมื่อมาถึงได้จัดการต้อนรับที่กุฏิหลวงปู่บุญมีที่อยู่บนเขาเป็นการเฉพาะ มีเพียงพระอุปัฏฐากเพียงรูปเดียวที่คอยดูแลพระเถระทั้งสอง

อากัปกิริยาของพระเถระสองรูปต่างเป็นไปด้วยความนอบน้อม แม้หลวงปู่บุญมีจะมีอายุพรรษามากกว่า แต่เมื่อถึงเวลาสนทนาธรรม ถามตอบธรรมะกันนั้น หลวงปู่บุญมีก็จะพนมมือขึ้นถามตอบทุกครั้ง ขณะเดียวกันหลวงปู่แบนก็พนมมือตอบด้วยเช่นกัน แสดงให้เห็นถึงการแสดงความเคารพในธรรมที่ท่านทั้งสองต่างแสดงและเป็นที่รู้กันภายในของท่านทั้งสอง ทำให้พระอุปัฏฐากที่ได้เห็นอากัปกิริยาเหล่านี้จึงจำได้แม่นยำถึงความงามของวัดรปฏิบัติของพระเถระทั้งสองจนถึงทุกวันนี้

ความที่พระอุปัฏฐากเป็นพระบวชใหม่ ยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงทางธรรมะ แม้ว่าจะได้ยินการสนทนาธรรมในครั้งนั้นซึ่งกินเวลานานหลายชั่วโมงแต่ก็ไม่อาจจดจำถ้อยความอะไรได้

 

 

• ล้มหน้าห้องน้ำ

เช้าวันหนึ่งที่วัดถ้ำยานาโพธิ์ พระอุปัฏฐากขึ้นไปทำข้อวัตรตอนเช้าเป็นปกติเช่นทุกวัน หลวงปู่บุญมีเดินออกจากห้องเพื่อจะลงไปเข้าห้องน้ำที่อยู่ด้านล่างกุฏิ พอเดินลงไปเกิดลื่นไถลลงไปชนกับขอบประตูห้องน้ำอย่างแรง เมื่อพระอุปัฏฐากเห็นอย่างนั้นจึงรีบลงมาพยุงท่านขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น ท่านก็เข้าห้องน้ำก่อนโดยพระได้ประคองท่านเข้าไป

 

 

ในเช้าวันนั้นพระอุปัฏฐากได้นำบาตรของท่านไปตั้งที่ศาลา เนื่องจากท่านไม่สามารถออกไปบิณฑบาตได้ ความที่ท่านล้มไถลลงไปกระแทกขอบประตูอย่างแรง ลูกศิษย์ต่างกราบเรียนขอให้ท่านไปหาหมอเพื่อตรวจอย่างละเอียดครั้งแล้วครั้งเล่า ในที่สุดฉันก็ไปฉีดยา แค่เข็มเดียว เขากลับมาแล้วอาการเริ่มรุนแรงขึ้นต้องได้รักษาอาการเบื้องต้นตามภูมิปัญญาชาวบ้านป้องกันเรื่องความบอบช้ำภายในเป็นการรักษาแบบพื้นบ้านที่เรียกว่า “ย่าง “ โดยก่อไฟไว้ด้านล่างเป็นอาทิตย์เพื่อป้องกันเลือดคั่งเลือดตกใน ระหว่างนั้นจะพลิกตัวขยับตัวก็ลำบากเจ็บระบมไปทั่วร่างกาย

 

 

น้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ "หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ"ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา.

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

 

 

ในตอนนั้นพระจะผลัดเปลี่ยนเวรกันดูแลเป็นอาทิตย์ เวลาท่านจะพลิกตัวเปลี่ยนอิริยาบถจะเกิดความเจ็บปวดมาก แต่ถึงจะจบอย่างไรเมื่อพลิกตัวก็จะกล่าวคำว่า “พุทโธๆ พุทโธๆ พุทโธๆ” อยู่ตลอดเวลา จนทำให้พระอุปัฏฐากได้ออกอุทานภายในใจว่า ขนาดครูบาอาจารย์เจ็บป่วยอย่างไรก็ยังไม่ทิ้งคำว่า พุทโธๆ ทำให้พระได้ถือเอาเป็นคติตัวอย่างติดตัวมาจนถึงทุกวันนี้

จากเหตุการณ์ล้มที่หน้าห้องน้ำในครั้งนี้ ทำให้สุขภาพร่างกายของท่านที่เคยแข็งแรงมาโดยตลอดเริ่มอ่อนแอลงไปมาก และมีผลสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

 

 

หลังจากออกจากภูลังกาแล้ว หลวงปู่บุญมี ท่านก็มาสร้างวัดป่านาคูณ บ้านนาคูณ ต.บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี อยู่ตั้งแต่พรรษาที่ ๔๔-๖๘ (ปี พ.ศ.๒๕๓๓ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๗ )

พรรษาที่ ๖๙-๗๑ (พ.ศ.๒๕๕๘ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๖๑) หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศิลาพร ต.หนองเป็ด อ.เมือง จ.ยโสธร

“..คนเราทุกวันนี้ ถ้าเป็นคนที่มีธรรม จะคิด จะพูด จะทำอะไรก็เป็นธรรม แต่ถ้าเป็นคนไม่มีธรรม เอาเรื่องโลกมาคิด มาพูด มาทำ ก็มีแต่โลกทั้งนั้น ให้เราทั้งหลายช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เห็นการกระทำอะไรที่ไม่ดีให้ช่วยกันบอกสอนแก้ไขให้ถูกให้ควร อย่าปล่อยให้คนทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า..” โอวาทธรรมคำสอน หลวงปู่บุญมี ปริปุณฺโณ

 

 

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูล

ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ คัดลอกมาจากหนังสือ "ท่านใหญ่คือท่านบุญมี หลวงปุ่บุญมี ปริปุณโณ" ; พิมพ์เมื่อ ธันวาคม ๒๕๕๕

กราบขออนุญาตพิมพ์คัดลอกเพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน

ท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน