เผยค่าชดเชย “พนักงานซันโย” จะได้รับหลังถูกเลิกจ้างกะทันหัน

เผยค่าชดเชย “พนักงานซันโย” จะได้รับหลังถูกเลิกจ้างกะทันหัน


จากกรณี  เพจ เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง-ชลบุรี เผยแพร่ภาพประกาศจากผู้บริหารบริษัท ซันโย เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ และซ่อมแซมแม่พิมพ์ และชิ้นส่วนโลหะ ซึ่งติดประกาศในเรื่องการปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน โดยระบุว่า...

"เรียนพนักงานทุกท่าน บริษัทมีความเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า บริษัทฯ มีความจำเป็นที่จะต้องปิดกิจการ และเลิกจ้างพนักงานทุกคน เหตุผลของการเลิกจ้างครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่ประสบภาวะขาดทุนสะสมมาเป็นเวลานาน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2562  เป็นต้นไป 

ภายใต้กฎหมายแรงงานและกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ ท่านมาสิทธิ์ที่จะได้รับผลประโยชน์ตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด"

ซันโย

สืบเนื่องจากประเด็นดังกล่าวนั้น ทางเพจ ทนายคู่ใจ ได้เผยข้อมูลหลังพนักงานนั้นถูกจ้างออกกระทันหัน โดยระบุว่า 

จากกรณีข่าวดัง “ซันโย” ประกาศปิดกิจการ เลิกจ้างพนักงาน กะทันหัน วันนี้เลยจะมาพูดถึงการจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118

ค่าชดเชยหมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

กรณีเลิกจ้างให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เลิกจ้าง ดังนี้

(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 90 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

 

(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180 วัน สุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 240 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบยี่สิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(6) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้าง หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปได้และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6298/2545 หนังสือของนายจ้างที่มีไปยังลูกจ้างระบุว่า"เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและปัญหาค่าใช้จ่ายเกินรายได้ ทำให้บริษัทมีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ไม่สามรถจ้างท่านในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่ท่านได้รับอยู่ได้ จึงขอให้ท่านลาออกจากงาน มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป โดยบริษัทยินดีจ่ายค่าชดเชยให้ท่านตามกฎหมายแรงงาน" เป็นกรณีที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้เนื่องจากเหตุอื่นใด จึงเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง

ซันโย เลิกจ้างพนักงาน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ทนายคู่ใจ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เพจดังเปิดอีกมุมความจริง บริษัทดังปิดกิจการ ไม่ใช่ซันโยฯผลิตเครื่องไฟฟ้า
- รีเทิร์นศึก “ท่อร้อยสาย” !! ทีโอทีเต้นผาง โดนยึดสิทธิ์ มอบทุนยักษ์กินยาว 30 ปี 6 บริษัทโทรคมนาคม จับมือแน่น..ยอมไม่ได้!??
- จุดเริ่มต้น ของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก
- พนักงานศูนย์ซ่อมรถชื่อดังถูกไล่ออกแล้ว หลังเจ้าของรถโวย เอารถไปเข้าศูนย์แล้วถูกนำไปขนของ