ขุดกรุวัคซีนฝีดาษคนสู้โรคฝีดาษลิง คนรุ่นใหม่ไม่ได้ปลูกฝีมีความเสี่ยงสุด

ขุดกรุวัคซีนฝีดาษคนสู้โรคฝีดาษลิง โรคโบราณที่เกือบถูกลืม ที่กำลังระยาดหนัก คนรุ่นใหม่ไม่ได้ปลูกฝีมีความเสี่ยงมากที่สุด

ขุดกรุวัคซีนฝีดาษคนสู้โรคฝีดาษลิง คนรุ่นใหม่ไม่ได้ปลูกฝีมีความเสี่ยงสุด  จากการระบาดของฝีดาษลิง (Monkeypox) ได้สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก ในขณะที่การระบาดของโควิด-19 ยังไม่ทันจางในบางประเทศ และเพิ่งอุบัติใหม่ในเกาหลีเหนือ แต่แม้จะยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ก็ยังพอมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เมื่อผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษดั้งเดิม ยังพอที่จะป้องกันไวรัสข้ามสายพันธุ์ได้ 

วัคซีนฝีดาษคน

 

 

โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ไวรัสฝีดาษลิง ที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพอกซ์วิริเด (Poxviridae) จัดอยู่ในจีนัสไวรัสออร์โธพอกซ์ (Orthopoxvirus) เป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคน หรือ "ไข้ทรพิษ" (SmallPox) และสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนไข้ทรพิษ แต่วัคซีนไข้ทรพิษไม่ได้มีแพร่หลายในทุกประเทศ ทั้งยังเกือบจะสูญหายไปจากคลังวัคซีนโลกอีกด้วย เพราะถือว่า เป็น "เชื้อโรคโบราณ" ที่แทบจะไม่พบผู้ป่วยโรคนี้กันแล้ว ถ้าจะเอาวัคซีนรักษาฝีดาษคนมาสู้ก็เท่ากับขุดกรุวัคซีนกันเลยทีเดียว 

 

- โรคโบราณที่เกือบถูกลืม
ที่เรียกว่าโรคโบราณเพราะเคยระบาดเมื่อ ค.ศ.17 ประเทศไทยเคยพบการระบาดครั้งแรกตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2460 ก่อนจะระบาดต่อเนื่องทุกปี แต่การระบาดใหญ่ล่าสุดเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และพบการระบาดบางส่วนในช่วงรัชกาลที่ 9 แต่พอเริ่มมีการฉีดวัคซีนและการปลูกฝีอย่างแพร่หลายในประเทศ การระบาดของฝีดาษก็ลดลง จนระทั่งหลังปี พ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ประกาศว่า ไข้ทรพิษถูกกวาดล้าง (Eradicate) หมดไปจากโลกแล้ว 

วัคซีนฝีดาษคน

- ฝีดาษลิงเสี่ยงกับคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ปลูกฝี
เมื่อเกิดการระบาดของฝีดาษลิง กลุ่มประชากรที่เกิดภายหลังปี พ.ศ. 2523 ได้กลายเป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะส่วนใหญ่แทบไม่ได้รับการปลูกฝี หรือฉีดวัคซีนไข้ทรพิษเป็นวัคซีนภาคบังคับ แต่ยังนับว่าโชคดีที่ WHO ยืนยันว่าฝีดาษลิงติดเชื้อได้ง่ายกว่าฝีดาษคนก็จริงแต่อันตรายน้อยกว่า และวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษในคน ก็มีประสิทธิภาพป้องกันได้มากถึง 85%

- สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ยังมีวัคซีน
ประเทศที่ไวกว่าใครในการเตรียมใช้วัคซีนก็คือสหรัฐฯ เมื่อศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค หรือ CDC ระบุว่า กำลังอยู่ในขั้นตอนของการ "ปล่อย" วัคซีนจินนีเอิส" (Jynneos) ที่ได้รับการอนุมัติให้เก็บไว้ในคลังวัคซีนแห่งชาติของสหรัฐฯ เมื่อปี 2562 กว่า 1,000 โดส และกำลังจะเพิ่มจำนวนขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า 

เปิดวัคซีนฝีดาษคนสู้โรคฝีดาษลิง คนรุ่นใหม่ไม่ได้ปลูกฝีมีความเสี่ยงที่สุด


จินนีเอิสผลิตโดย "Bavarian Nordic A/S" และได้รับการอนุมัติในสหรัฐฯ ให้ใช้ป้องกันโรคฝีดาษคนและฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงในคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และยังมีวัคซีนรุ่นเก่ากว่าอย่าง "ACAM2000" ที่มีมากกว่า 100 ล้านโดส แต่มีสัญญาณของผลข้างเคียง โดย ACAM2000 เคยผลิตโดย Sanofi แต่ปัจจุบันผลิตโดย Emergent BioSolutions ซึ่ง CDC ต้องการเพิ่มการกระจายวัคซีนให้แก่ที่จะได้รับประโยชน์ เช่น เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขและคนใกล้ชิด และคนที่มีความเสี่ยงสูง 


- เชื้อฝีดาษยังถูกเพาะในห้องทดลอง
มีห้องปฏิบัติการทดลอง 2 แห่ง ที่ได้รับอนุญาตจาก WHO ให้เพาะเชื้อเพื่อการวิจัยทางการแพทย์และความมั่นคงสำหรับการป้องกันอาวุธชีวภาพ คือ ห้องปฏิบัติการทดลองโรคติดเชื้อของ CDC ในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจียของสหรัฐฯ กับศูนย์วิจัยไวรัสวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งรัฐของรัสเซีย (VECTOR) ที่โนโวซีบีร์สค์ ภูมิภาคไซบีเรีย ซึ่งทั้งสองแห่งเป็นที่เก็บตัวอย่างเชื้อโรคอันตรายหลายชนิด รวมทั้ง อีโบลา, แอนแทรกซ์และไวรัสไข้ทรพิษที่มีชีวิต

เปิดวัคซีนฝีดาษคนสู้โรคฝีดาษลิง คนรุ่นใหม่ไม่ได้ปลูกฝีมีความเสี่ยงที่สุด

เมื่อปี พ.ศ. 2529  WHO ได้แนะนำให้ห้องปฏิบัติการทดลองทั้ง 2 แห่ง ทำลายไวรัสไข้ทรพิษที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้จะไม่พบการระบาดแล้ว แต่ก็เสี่ยงที่อาจรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจถูกนำไปใช้เป็นอาวุธชีวภาพ แต่ความเห็นของนักวิทยาศาสตร์แตกออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งบอกว่าตัวอย่างไวรัสมีชีวิตที่ยังเหลืออยู่อาจเป็นภัยคุกคาม และไวรัสที่ร้ายแรงควรถูกกำจัดให้หมดโลก แต่อีกฝ่ายแย้งว่าตัวอย่างมีความจำเป็นสำหรับการวิจัยเกี่ยวกับการรักษาและพัฒนาวัคซีนที่ดีขึ้น 

 

- ถกกันในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก
ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกมีการถกเถียงเรื่องนี้มานานแล้วว่า ควรเก็บตัวอย่างไวรัสมีชีวิตของไข้ทรพิษไว้หรือไม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ก็มีความเห็นออกมาว่า ให้เก็บไวรัสไว้ชั่วคราวเพื่อวัตถุประสงค์ในการ "วิจัยเฉพาะ" แต่ต้องอยู่ภายใต้ความปลอดภัยที่เข้มงวดที่สุด 

เปิดวัคซีนฝีดาษคนสู้โรคฝีดาษลิง คนรุ่นใหม่ไม่ได้ปลูกฝีมีความเสี่ยงที่สุด
- ปิดช่องโหว่ที่จะทำให้เชื้อเล็ดรอด 
นักวิทยาศาสตร์ที่จะเข้าห้องปฏิบัติบัติการทดลอง ต้องสแกนลายนิ้วมือหรือจอตา และสวมชุดป้องกัน สวมถุงมือและแว่นตา อาบน้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ และต้องทำแบบนี้ทุกครั้งที่ทำการทดลองกับไวรัสอันตรายเหล่านี้ ความวิตกยังถึงขั้นที่ว่ามีสมาชิกบางประเทศ แนะนำให้เอาตัวอย่างเชื้อไวรัสมรณะ ไปเก็บไว้บนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS เพื่อความปลอดภัยจากการรั่วไหล หรือถูกนำไปทำอาวุธร้ายแรง 

เปิดวัคซีนฝีดาษคนสู้โรคฝีดาษลิง คนรุ่นใหม่ไม่ได้ปลูกฝีมีความเสี่ยงที่สุด
ภาพจาก เนชั่นทันโลก NTV World News