มีใครบ้างกลุ่มมาแหย่ชาวนา ...."พีระศักดิ์" แฉ กระบวนการกุข่าวปลุกปั่น พยามยามรวมตัวชาวนา ฉวยโอกาสทางการเมือง

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2 กล่าวถึงกรณีการแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำของรัฐบาลว่า จากการที่ตนนำทีมงานลงพื้นที่ตามโครงการสนช.พบประชาชน พบว่าปัญหาราคาข้าวมีผลกระทบไปทั่ว เพราะราคาต่ำมาก จากที่สอ

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2 กล่าวถึงกรณีการแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำของรัฐบาลว่า จากการที่ตนนำทีมงานลงพื้นที่ตามโครงการสนช.พบประชาชน พบว่าปัญหาราคาข้าวมีผลกระทบไปทั่ว เพราะราคาต่ำมาก จากที่สอบถาม พวกพ่อค้าคนกลาง และบรรดาโรงสีบอกว่า ไม่อยากจะรับซื้อข้าวเปลือกเจ้า ไปซื้อข้าวหอมมะลิเก็บตุนไว้ยังจะดีกว่า รัฐบาลจึงต้องหาทางแก้จุดนี้

 

ส่วนตัวตนว่า มาตรการที่รัฐออกมา ช่วยชาวนาเริ่มเห็นผลในหลายเรื่อง แต่กระแสอื่นๆที่ได้ยินมาเรื่องปลุกปั่นมีเหมือนกัน เช่น กลุ่มการเมืองที่มาแหย่ มาปั่นในกลุ่มชาวบ้านก็มี เขาจะพยายามรวมตัวชาวนาให้ได้

 

ดังนั้น นอกจากออกนโยบายช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว รัฐต้องรีบลงมาไวๆให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ เรื่องการข่าวอย่าให้พวกฉวยโอกาสทางการเมืองเข้ามาปลุกระดม กระแสข่าวนี้ได้ยินมาค่อนข้างแน่ โดยเฉพาะภาคกลาง กับภาคเหนือตอนล่าง ขอให้รีบลงมาหามือชาวนาโดยด่วน

 

ก่อนหน้านี้ 1 พฤศจิกายน 2559  พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ต้องเรียกประชุมวาระพิเศษ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงที่ทำเนียบรัฐบาล

 

โดย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวช่วงต้นการประชุมว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาข้าวเปลือกตกต่ำโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งเกิดจาก 2 ประเด็น คือ การปรับโครงสร้างการเกษตรที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ครบวงจร และอีกประเด็นคือการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยมีการร่วมมือกันระหว่างนักการเมืองในพื้นที่ร่วมกับโรงสีบางแห่ง โดยกำหนดราคาข้าวให้ต่ำลง หวังให้เกิดประเด็นประชาชนต่อต้านหรือขัดแย้งกับรัฐบาล ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจทั้งระบบ และการประชุมต้องได้ข้อยุติ

สำหรับโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2559/60  และ เห็นชอบการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและประปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ปีการผลิต 2559/60กรอบวงเงินงบประมาณ 19,375.37 ล้านบาท

 

โดยโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2559/60 กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตันข้าวเปลือกหอมมะลิ ที่สีได้ต้นข้าว 36 กรัมขึ้นไป ในอัตรา 9,500 บาท กรณีที่สีได้ต้นข้าว 31 – 35, 26 – 30, 20 – 25 ปรับลดส่วนต่างของคุณภาพตันละ 200 บาท แต่ถ้าสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 20 กรัม ไม่รับเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้หากราคาตลาดสูงขึ้นจะพิจารณาปรับแผนราคาให้เป็นไปตามตลาด

 

ส่วนการเก็บค่ารักษาข้าวเปลือกเก็บในราคาตันละ 1,500 บาท  โดยจ่ายเป็นค่าเตรียมข้าวเปลือกรับได้ในวันเบิกรับเงินกู้ 1,000 บาท  และส่วนที่เหลืออีก 500 บาทรับในวันที่ไถ่ถอนข้าวเปลือกจากโครงการ ไม่น้อยกว่า 30เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้มีค่าใช้จ่ายสำหรับตากข้าวเปลือกและค่าแรงในการเตรียมข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการ

 

ทั้งนี้การช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ปีการผลิต 2559/60 เพื่อช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวหอมมะลิที่ประสบปัญหาราคาข้าวเปลือกหอมมะลิตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลเกษตรกรที่ได้รับเงินสนับสนุนตามโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60  จำนวนประมาณ 2 ล้านราย จากพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิประมาณ 26 ล้านไร่

 

 

 

 

 

เรียบเรียงโดย ชนุตรา สำนักข่าวทีนิวส์