เอกชน -นักลงทุนต้องฟัง อยู่รอดอย่างไรในโลกที่ผันผวน สมคิดแนะ 4 ปัจจัย ผ่าวิกฤติพิชิตความสำเร็จ

เอกชน -นักลงทุนต้องฟัง อยู่รอดอย่างไรในโลกที่ผันผวน สมคิดแนะ 4 ปัจจัย ผ่าวิกฤติพิชิตความสำเร็จ


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯด้านเศรษฐกิจ  กล่าวปาฐกถาระหว่าง
เปิดงาน Nikkei Asia300 Global Business Forum
ณ โรงแรมอินเตอร์ คอนติเนตัล กรุงเทพฯ โดยงานนี้ทางนิตยสารนิเคอิได้เชิญผู้แทนจาก 300 บริษัทที่ทรงอิทธิพลในตลาดหลักทรัพย์จาก 11 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียเข้าร่วมงาน ลองไปฟังดูว่ารองนายกฯไทยมองโอกาสของประเทศเล็กๆถึงโอกาสกระแสเอเชียขาขึ้นว่าจะตักตวงอย่างไรให้เกิดประโยชน์  การเอาตัวให้รอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน การปรับตัวของเอกชน และ 4 ปัจจัยที่ทุกประเทศต้องดำเนินการ 

" เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เหตุการณ์หนึ่งซึ่งผมเชื่อว่าคนไทยในครั้งนั้นและอีกหลายชาติในเอเชียจะไม่มีทางลืมเลือนได้เลย คือ วิกฤติการเงินครั้งใหญ่แห่งเอเซียที่เริ่มต้นที่ประเทศไทยและลามไปสู่หลายๆประเทศในเอเชีย วิกฤติการณ์ในครั้งนั้นไม่เพียงสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างไม่เคยปรากฎ แต่ยังสร้างความขัดแย้งและความเสียหายใหญ่หลวงทางสังคมที่ติดตามมา ในช่วงเวลานั้น ผมดำรงตำแหน่งเลขานุการรมวคลัง  จึงได้มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับเหตุการณ์ จำได้ว่าภาคธุรกิจในทุกภาคส่วนถ้าไม่ตกอยู่ในสถานะล้มละลายก็ต้องประสบความเสียหายทางการเงินอย่างใหญ่หลวง 
ผู้คนต้องตกงาน สถาบันการเงินถ้าไม่ถูกปิด รัฐก็ต้องเข้าโอบอุ้มเป็นส่วนใหญ่ เงินสำรองเงินตราต่างประเทศสลายสิ้นจนต้องจำยอมเข้าอยู่ภายใต้กรอบการกำกับของ imfเพื่อแลกกับการกลับคืนมาของเสถียรภาพทางการเงิน ปรากฎการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับไทยแต่กระจายออกไปในหลายประเทศในเอเชีย ญี่ปุ่นในวันนั้น ได้พยายามผลักดันให้เกิด asian monetary fund เพื่อเยียวยาวิกฤติการณ์ของชาติในเอเชียด้วยกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ โดยเฉพาะจากชาติตะวันตก วันเวลาในช่วงนั้นดูเหมือนความมืดมนปกคลุมไปทั่วเอเชียแทบจะมองไม่เห็นแสงสว่างแห่งอนาคตเลย


แม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะใหญ่หลวง แต่ความเสียหายในวันนั้นกลับสร้างโอกาสแห่งอนาคต วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นกลับเป็นบทเรียนที่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้เรียนรู้และปรับตัวเปลี่ยนแปลง วันนี้ยี่สิบปีให้หลัง สถานะของประเทศที่เคยประสบวิกฤติการณ์กลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง นิตยสาร นิคเคอิ เอเชียน รีวิว เมื่อเร็วๆนี้ ได้รายงานถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสถานะเงินสำรองเงินตราที่มั่นคง ไม่ว่าไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ และเกาหลีใต้ ต่างก็มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจ จนเป็นจุดที่หอมหวลในการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ  Bloomberg คาดคะเนว่าในปีนี้ อย่างน้อย 45 billion$ จะถูกนำไปลงทุนในตลาดทุนและตลาด bond ของกลุ่มประเทศเหล่านี้ 
ไม่เพียงเท่านั้น วันนี้ประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่เมื่อยี่สิบปีที่แล้วที่แม้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์แต่ยังต้องดิ้นรนพัฒนาให้พ้นจากความยากจน วันนี้ประเทศเหล่านั้นในเอเซีย ล้วนผงาดเติบโตอย่างน่าประทับใจไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดียหรือประเทศในกลุ่มอาเซียน

 เอเชียที่มองไม่เห็นอนาคตในวันนั้น วันนี้ 20 ปีให้หลัง ล้วนผงาดขึ้นมาอย่างพร้อมเพรียง มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นที่สุด กลายเป็นความหวังและพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ของโลก ในยามที่เศรษฐกิจโลกอ่อนแอและเปราะบาง    ยิ่งในยามที่นโยบายของผู้นำใหม่สหรัฐกำลังก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกกันว่า  upside down geopolitic ภูมิภาคเอเชียกลับกำลังก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลก Asia rise ที่กล่าวขานมานาน วันนี้ไม่ใช่เพียงแค่คำพูด แต่กระแสนั้น กำลังเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ครับ โอกาสได้ก้าวมาสู่ภูมิภาคเอเชียแล้ว แต่ท่านผู้มีเกียรติครับ โอกาสแม้จะมาถึงแต่ก็ใช่ว่าทุกชาติทุกประเทศในเอเชีย จะสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากกระแสนี้ได้เหมือนกันหมด ในความคิดของผมนั้น 4 ปัจจัยต่อไปนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดว่า ประเทศใด จะสามารถสร้างประโยชน์จากโอกาสที่มาถึงในครั้งนี้ได้อย่างเต็มที่

เอกชน -นักลงทุนต้องฟัง อยู่รอดอย่างไรในโลกที่ผันผวน สมคิดแนะ 4 ปัจจัย ผ่าวิกฤติพิชิตความสำเร็จ
 
ประการแรก คือ ความสามารถ(capability) ของประเทศและความสามารถในการแข่งขัน(competitiveness)
เมื่อทั้งภูมิภาคมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงโดยเปรียบเทียบย่อมมีโอกาสในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนที่สำคัญของภูมิภาค และจะส่งผลให้มีโอกาสที่จะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุดจากการนั้น ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และฮ่องกง ล้วนสามารถก้าวขึ้นสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาในระดับสูงและทิ้งห่างประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ก็ด้วยการสร้างและสั่งสมศักยภาพแห่งความสามารถของประเทศทั้งสิ้น นี่เป็นเหตุผลที่ประเทศไทยได้ทุ่มเทความพยายามในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่จะยกระดับความสามารถของประเทศในทุกๆ มิติ 

 โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าประเทศไทยมีตำแหน่งที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาค แต่ความสามาถเชิงแข่งขันของประเทศที่แท้จริงนั้น มิได้วัดจากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อย่างเดียว แต่มันถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขและบริบท (context) แห่งอนาคต  โครงสร้างเศรษฐกิจของไทยในวันนี้ แม้จะสามารถนำมาซึ่งการเจริญเติบโตที่น่าพอใจ แต่ก็ไม่อาจนำพาให้ก้าวพ้นmiddle income trap ไปได้ ประเทศไทยต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของประเทศ จากที่เคยอาศัยปัจจัยด้านต้นทุนในการแข่งขันไปสู่การเน้นนวัตดรรมและความคิดสร้างสรรค์ เราต้องการเปลี่ยนภาคเกษตรที่ผลผลิตมีมูลค่าต่ำสู่การแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างbioeconomy ที่มีมูลค่าสูง เพื่อสร้างรายได้ให้เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เรากำลังเปลี่ยนอุตสาหกรรมของเราจากที่ใช้แรงงานสู่การสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ที่เน้นเพิ่มมูลค่า เน้นวิทยาการและนวัตกรรม จากฐานการผลิตที่เป็นเพียงโรงงานประกอบสู่การเน้นการพัฒนา cluster และการเป็น hub ของภูมิภาคในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เรามีความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ อาหารแห่งอนาคต petrochemicalระดับสูง medical และ wellness ที่เรามีชื่อเสียง หรือtourism hub แห่งภูมิภาค เป็นต้น และเพื่อเป็นฐานรองรับการสร้างอุตสาหกรรมเหล่านี้ โครงการ eastern economic corridorได้ถูกขับเคลื่อนออกมา พร้อมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ของประเทศ เพื่อให้ eecเป็นศูนย์กลางการผลิต การขนส่ง และ logistic ที่ใหญ่ที่สุดในอนุภูมิภาค clmvt นโยบายเศรษฐกิจ 4.0  และการลงทุนทางด้านinternet และ iot เพื่อเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจไทยสู่ยุคดิจิตัลพร้อมๆ ไปกับการเตรียมการด้านทรัพยากรมนุษย์ และการให้ความสำคัญกับการลงทุนในการค้นคว้าวิจัยได้กลายเป็นนโยบายสำคัญสูงสุดที่รัฐพยายามผลักดัน และที่จะขาดเสียไม่ได้ คือ การปฏิรูปการอำนวยความสะดวก การตัดลดขั้นตอน แก้ไขกฏระเบียบที่ล้าสมัย การสร้างความโปร่งใสและการขจัดการทุจริต  ท่านผู้มีเกียรติครับ แม้ภารกิจจะยังไม่เส็จสมบูรณ์และยังต้องใช้เวลา แต่ผลแห่งความพยายามเหล่านี้อย่างต่อเนื่องใน 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ไทยได้รับการจัดลำดับความสามารถแข่งขันที่ดีขึ้นโดยลำดับ ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่มีความมุ่งมั่นเช่นนี้ ประเทศอื่นๆ ต่างก็มีความมุ่งมั่นเช่นกัน แต่อย่างน้อยที่สุด ผมเชื่อว่าประเทศไทยก้าวมาในทิศทางที่ถูกต้อง และเชื่อว่าความเพียรพยายามเหล่านี้จะสามารถยกระดับความสามารถของประเทศและผลักดันให้ไทยสามารถก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนที่โดดเด่นแห่งหนึ่งของภูมิภาคในอนาคต

เอกชน -นักลงทุนต้องฟัง อยู่รอดอย่างไรในโลกที่ผันผวน สมคิดแนะ 4 ปัจจัย ผ่าวิกฤติพิชิตความสำเร็จ

 

เอกชน -นักลงทุนต้องฟัง อยู่รอดอย่างไรในโลกที่ผันผวน สมคิดแนะ 4 ปัจจัย ผ่าวิกฤติพิชิตความสำเร็จ


ปัจจัยสำคัญประการที่สอง คือ การวางตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ (stategic positioning) ในด้าน geopolitic ของประเทศ   ที่จะสร้างความโดดเด่นและความน่าสนใจในเวทีโลก อันจะเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่จะตามมาสำหรับประเทศใหญ่อย่างจีน หรือญี่ปุ่น เรื่องนี้คงไม่ใช่ปัญหา แต่สำหรับประเทศเล็กๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง   สิงคโปร์เป็นตัวอย่างของประเทศที่มีความสามารถในด้านนี้อย่างโดดเด่น ผมยังจำได้ใน speech ของท่านอดีตนายกลีกวนยูชิ้นหนึ่ง ที่กล่าวว่า ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศเล็ก ซึ่งหากดูจากขนาดก็ยากที่จะมีบทบาทต่อโลก โจทย์สำคัญคือ จะทำอย่างไรที่จะทำให้ประเทศเล็กๆ นี้มีความหมายและมีบทบาทที่มีนัยสำคัญในเวทีโลก ฉะนั้นเราจะเห็นบทบาทด้านนี้ของสิงคโปร์ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งในอาเซียน  ทั้งในการเชื่อมโยงโลกตะวันออกกับตะวันตก เช่น สหรัฐ และ EU บทบาทในการผลักดันการก่อตั้ง ASEM และบทบาทในการร่วมผลักดัน TPP พร้อมๆไปกับบทบาทดังกล่าว สิงคโปร์สามารถสร้างตนเองให้เป็นศูนย์กลางการเงินแห่งภูมิภาคได้อย่างโดดเด่นในอดีตที่ผ่านมา หรือตัวอย่างของฮ่องกงที่มีความไม่แน่นอนสูงภายหลังกลับคืนสู่ประเทศจีน แต่ฮ่องกงสามารถรักษาตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ของตนได้ชัดเจน  ตนเองไม่เพียงแต่ยังสามารถดำรงการเป็นเมืองท่าการค้าและศูนย์กลางการเงินที่สำคัญของโลก แต่ยังเป็นหัวหอกสำคัญของกลุ่มธุรกิจจากจีนแผ่นดินใหญ่ในการใช้เป็นฐานก้าวออกไปลงทุนในบรรดาประเทศที่เส้นทางตามนโยบาย one belt one road ของจีนพาดผ่าน รวมถึงการเป็นตัวกลางจัดหาแหล่งสินค้าจาก suppliers ทั้งหลายในเอเชียเพื่อป้อนสู่ retailers ยักษ์ใหญ่ของโลกที่นับวันแต่จะตั้งเงื่อนไขการสั่งซื้อที่ไม่ง่ายเลยที่ประเทศใดจะสามารถแข่งขันได้กับผู้ประกอบการของHong Kong ที่จะจัดหาได้ตามเงื่อนไข ยิ่งเศรษฐกิจจีนขยายตัวออกไปมากเท่าใด ก็ดูเหมือนบทบาทของฮ่องกงจะทวีเพิ่มติดตามไปมากเท่านั้น  ประเทศไทยก็เป็นประเทศเล็กๆประเทศหนึ่งเช่นเดียวกับประเทศอย่างเช่น เวียดนาม มาเลเซีย ลาว พม่าและกัมพูชา ด้วยขนาดเศรษฐกิจและจำนวนประชากร แทบจะไร้ความหมายในเวทีโลก แต่เมื่อผนวกร่วมกัน โดยเฉพาะการผนึกร่วมกันของ clmvt อนุภูมิภาคแถบนี้กลับกลายเป็นตลาดที่น่าสนใจ เป็น supply chain ที่สำคัญ และเมื่อเชื่อมเข้ากับอาเซียนอื่นๆ ก็จะเป็นข้อต่อสำคัญที่ขาดเสียมิได้ ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจแห่งเอเชีย ไม่ว่าเราจะพูดถึง asean บวก6 ไม่ว่าจะพูดถึงการเชื่อม one belt บนแผ่นดินใหญ่เข้ากับ maritime silk road ทางทะเล ไม่ว่าจะพูดถึง Rcep หรือแม้แต่ Tpp ประเทศเล็กๆที่ดูจะไร้ความหมายกลับกลายเป็นข้อต่อที่มีความหมายและมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ นโยบายก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน หรือ stronger together และการผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมของกลุ่มประเทศ clmvt จึงเป็นก้าวย่างทาง geopolitic ที่สำคัญของรัฐบาลนี้ เพื่อสร้างพลังผนึก เพื่อเชื่อมโยงจุดยืนทางยุทธศาสตร์กับอาเซียนโดยรวม การเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของ one belt one road และการร่วมกันผลักดัน rcep และการเป็นส่วนหนึ่งของ TPP ล้วนเป็นการวางตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่จะสร้างความหมาย สร้างบทบาทความสำคัญและก่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อทั้งอนุภูมิภาคโดยรวม
 
ประการที่สาม คือ ความเข้มแข็งและสามารถของภาคเอกชน ภาคเอกชนก็เหมือนนักรบ แต่เป็นนักรบทางเศรษฐกิจ ประเทศใดพรั่งพร้อมด้วยมวลหมู่จำนวนนักรบทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง  และมีความสามารถที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมที่ตนอยู่ ย่อมอยู่ในสถานะที่จะประสบความสำเร็จสูงทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และฮ่องกงล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในอดีตที่ผ่านมา แต่ในอนาคตจีนกำลังเป็นตัวอย่างที่น่าศึกษาติดตามเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงแรกของการพัฒนา จีนอาศัยพลังของรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ที่เริ่มจากการครอบครองตลาดจีนแล้วจึงรุกสู่ต่างประเทศ แต่ในช่วง 10 ปีหลัง เราได้เห็นความสามารถของจีนในการสร้างผู้ประกอบการใหม่หรือ new start ups จำนวนนับล้านจากหลากหลายมณฑลให้เป็นหัวหอกในการสร้างนวัตกรรม สร้างมูลค่าการค้าและรุกสู่ตลาดโลกอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยและผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่หันมาสร้าง start up รุ่นใหม่ที่วัดกันที่ความสามารถไม่ใช่ขนาด  ที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ประกอบการใหม่เหล่านี้ไม่ได้ติดยึดกับรูปแบบ business model ในอดีต แต่ความสำเร็จของพวกเขานั้น มาจากวิทยาการ นวัตกรรม และ business model ที่สามารถตอบสนองผู้บริโภคได้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง business modelที่อาศัยการสนับสนุนจาก siness modelที่อาศัยการสนับสนุนจากเทคโนโลยี   อินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ความโดดเด่นแห่งวิทยาการและบุคลากรโดยเฉพาะด้าน IT และดิจิตัล สามารถผลักดันให้ผู้ประกอบการอินเดียก้าวสู่ระดับผู้นำในเอเซีย ซึ่งจากการจัดอันดับธุรกิจที่มีผลประกอบการดีเด่นแห่งเอเชียของ nikkei ผู้ประกอบการอินเดียสามารถอยู่ใน top 30 ของnikkei 300ถึง 10 อันดับ สูงกว่าชาติใดๆ ในเอเชีย ในโลกข้างหน้า เทคโนโลยี นวัตกรรม และ business model ที่เฉียบคม คือ อาวุธสำคัญที่นักรบเศรษฐกิจในโลกแห่งอนาคตจะต้องมี internet iot big data และะ Ai กำลังเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงเร็วของผู้บริโภคยุคใหม่ business model ที่ปรับตัวได้เร็ว เข้าถึงตรงผู้บริโภค เพื่อสนองความต้องการที่ยังไม่ถูกเติมเต็มกำลังเข้ามาแทนที่รูปแบบธุรกิจดั้งเดิม ขนาดไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญอีกต่อไป ขนาดอาจเป็นข้อจำกัดเสียด้วยซ้ำ หากขาดซึ่งปัจจัยข้างต้น nikkei asian review ฉบับล่าสุดได้รายงานข้อเท็จจริงที่ว่า บริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยังคงมีความเชื่องช้าในการมุ่งลงทุนสู่อนาคต ซึ่งทำให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในศักยภาพแห่งอนาคต และส่งผลกระทบต่อการเติบโตของราคาหุ้นในที่สุด ในทางตรงข้ามบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ขยับตัวเร็ว มุ่งลงทุนพัฒนาทางวิทยาการเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่กลับสามารถดำรงความเป็นผู้นำและขยายอาณาจักรธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมีผลประกอบการโดดเด่นอย่างน่าทึ่ง และนี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลไทยมีความตั้งใจและมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับภาคเอกชนไทย ในด้านหนึ่งต้องการผลักดันให้บริษัทขนาดใหญ่ของไทยให้มีความเข้มแข็งในเชิงเทคโนโลยีและการค้นคว้าวิจัย และสามารถเพียงพอที่ก้าวสู่การแข่งขันในระดับโลก ปัจจุบันไทยมีบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่และกลางที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่ประมาณ 500 กว่าบริษัท ซึ่งรัฐบาลต้องการให้บริษัทเหล่านี้พัฒนายกระดับความเข้มแข็งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเตรียมพร้อมสู่ยุคดิจิตัล ในขณะเดียวกันก็ต้องการเปลี่ยนแปลงภาค sme ของไทยที่ยังอ่อนแอและไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของวิทยาการและรูปแบบใหม่ การดำเนินธุรกิจในโลกข้างหน้า และที่สำคัญที่สุดเราต้องการสร้างธุรกิจ start up พันธุ์ใหม่ทั้งด้านเกษตร อุตสาหกรรม creative และ digital economy ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการที่เข้าถึงเทคโนโลยี เข้าใจและสามารถพัฒนารูปแบบ business model ยุคใหม่ที่สามารถแข่งขันได้ในโลกแห่งอนาคต แน่นอนที่สุด ความฝันนี้จะเป็นความจริงได้ก็ด้วยการพัฒนาอย่างบูรณาการและด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจากมิตรประเทศของเรา การเดินทางของผมไปญี่ปุ่นครั้งที่ผ่านมา ผมได้รับกำลังใจและการสนับสนุนจาก ท่านเลขาครม. ท่านสึกะ และท่านรมว.กระทรวง Meti เป็นอย่างดี ซึ่งท่านรมว.ได้ลงนามความร่วมมือกับรมว.อุตสาหกรรมของไทยในการร่วมพัฒนา eec การชักชวนธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมายและการร่วมขับเคลื่อนการพัฒนา sme ไทย ท่านจะเดินทางมาไทยด้วยตนเองพร้อมเคดันเรนและกลุ่มธุรกิจเอกชนญี่ปุ่นจำนวนหนึ่ง เพื่อพบปะภาครัฐและภาคเอกชนในช่วงต้นเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
 
ปัจจัยประการสุดท้าย ที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดและยากลำบากที่สุดที่จะให้ได้มานั่น คือ ความเป็นเอกภาพและพลังผนึกในสังคม 
เราลองย้อนไปดูอดีต ถ้าจะถามว่าอะไร คือ เหตุแห่งความสำเร็จของญี่ปุ่น  ในความเห็นของผมชัดเจนอย่างยิ่งความร่วมมือเป็นอันหนึ่งเดียวกันระหว่างภาครัฐและเอกชนของญี่ปุน ในการกำหนดทิศทางการก้าวเดินทางยุทธศาสตร์และพลังการขับเคลื่อนที่ทรงพลังจากเอกภาพของคนในชาติ ทำให้ญี่ปุ่นสามารถสร้างความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจอย่างยิ่งใหญ่ในอดีต และในบัดนี้ปรากฎการณ์ดังกล่าวก็กำลังเกิดขึ้นที่ประเทศจีน และได้ทำให้จีนสามารถสร้างมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจในห้วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา  การก้าวนำเชิงยุทธศาสตร์ของภาครัฐ การออกนโยบายที่สร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน บวกกับความสามารถของภาคเอกชน ภายใต้บรรยากาศที่เป็นปึกแผ่นและมีเอกภาพอันต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในระบอบการเมืองที่ตะวันตกจะไม่เห็นพ้อง แต่กลับทำให้จีนสามารถก้าวกระโดดได้อย่างน่ามหัศจรรย์ 

ในยามที่โลกเต็มไปด้วยความตึงเครียดจากความขัดแย้ง ความเป็นเอกภาพและความเป็นปึกแผ่นทางสังคม กำลังเป็นตัวชี้วัดใหม่ของประเทศที่จะเป็นดาวจรัสแสงแห่งอนาคต eurasia group บริษัทที่ปรึกษาด้านการวิเคราะห์ political risk ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่นักลงทุนทั้งหลายติดตามบทวิเคราะห์เพื่อการลงทุน ได้ตีพิมพ์บทวิเคราะห์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า นักลงทุนกำลังหันหลังให้กับประเทศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งภายในเพราะประเทศเหล่านี้ล้วนประสบความชะงักงันในการพัฒนาประเทศ เพราะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดับไฟแห่งความขัดแย้งในบ้าน โดยยกตัวอย่างกรณีที่ทั้งเยอรมันและสหรัฐต่างเผชิญกับข่าวลือการแทรกแซงการเลือกตั้งของรัสเซีย แต่ข่าวลือนั้นไม่มีผลใดๆ กับสังคมเยอรมันเลย ในขณะที่การเมืองในประเทศของสหรัฐแตกแยกอย่างรุนแรงหรือในกรณีของอินเดียที่ผู้นำอินเดียสามารถเดินสายในต่างประเทศเพื่อสร้างความน่าสนใจของอินเดียได้อย่างมีพลัง ก็เพราะสามารถสร้างความเป็นเอกภาพในประเทศได้อย่างมั่นคง บทวิเคราะห์บทนี้ ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ทั้งเยอรมันและอินเดียกำลังเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่เพียงเพราะขนาดเศรษฐกิจ แต่เป็นเพราะความเป็นปึกแผ่นทางสังคม และเอกภาพในประเทศ ซึ่งสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยที่จะไปลงทุนเมื่อเทียบกับประเทศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งภายใน  นี่คือเหตุผลสำคัญที่รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการลดความขัดแย้งในสังคมและพยายามสร้างพลังร่วมในบ้านเมืองเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปของประเทศให้เกิดผล  ในช่วง2ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผลักดันแนวทางที่เราเรียกว่าประชารัฐเพื่อนำเอาพลังร่วมระหว่างภาครัฐ เอกชนและประชาชน มาใช้ในการขับเคลื่อนในทุกมิติ แม้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่แนวทางดังกล่าวก็เป็นที่ยอมรับและกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว รัฐบาลในขณะนี้พยายามดึงพลังของเครือข่ายภาคประชาชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศให้มาร่วมกับภาคเอกชน ทั้งไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กว่า 500 บริษัทเพื่อสร้างพลังร่วมในการปฏิรูปประเทศ ไม่ว่าทางเศรษฐกิจ สังคม หรือแม้แต่ทางการเมือง ผมมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าพลังแห่งประชารัฐนี้ จะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ประเทศมีความเข้มแข็งและสามารถก้าวไปสู่จุดหมายได้สำเร็จ

เอกชน -นักลงทุนต้องฟัง อยู่รอดอย่างไรในโลกที่ผันผวน สมคิดแนะ 4 ปัจจัย ผ่าวิกฤติพิชิตความสำเร็จ

ในยุคสมัยที่นโยบาย America firstกำลังเป็น disruptive factor  อันสำคัญต่อดุลยภาพของการเมืองและเศรษฐกิจโลก และนำมาซึ่งความไม่แน่นอนและความหวั่นไหวไปทั่วทุกหนแห่ง และในขณะที่โลกในยุคที่เทคโนโลยี คือ disruptive factor สำคัญที่สามารถเปลี่ยน landscape แห่งการแข่งขันและเปลี่ยนเงื่อนไขแห่งความสำเร็จได้อย่างสิ้นเชิง ผู้รู้เท่าทันวิทยาการ ผู้รู้เท่าทันสถานการณ์ และเตรียมพร้อมไม่เพียงการเผชิญหน้า แต่สามารถใช้ประโยชน์จากมันเท่านั้น คือ ผู้ชนะ โอกาสกำลังขยับจากโลกตะวันตกสู่โลกตะวันออก ประเทศที่มีความเป็นเอกภาพ มีภาครัฐที่สามารถและภาคเอกชนที่เข้มแข็งและเตรียมพร้อมสร้างตนสู่อนาคต คือ ผู้ที่จะสำเร็จและสามารถก้าวสู่แถวหน้าของการพัฒนา ในทางตรงข้ามประเทศที่หลับไหล ติดยึดกับอดีตและอุดมด้วยภาคเอกชนที่ขาดเขลา ล้าหลัง ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง ก็คงต้องขอแสดงความเสียใจล่วงหน้าว่า ไม่เพียงแต่ท่านจะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่กำลังมาถึง แต่กลับจะต้องเผชิญกับความเสื่อมและความถดถอยอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง โอกาสเป็นของผู้กล้าและเตรียมพร้อมแล้วเท่านั้น ฉะนั้นการที่ nikkei จัดงานในวันนี้ขึ้นมา จึงต้องถือว่าสอดคล้องอย่างยิ่งทั้งหัวข้อและจังหวะเวลา เพื่อนเตือนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งหลายแห่งเอเชีย ให้ตระหนักรู้และเตรียมตัว" นายสมคิดกล่าวปิดท้าย