กระจ่างแล้ว "วิษณุ" ตอบชัด ทักษิณ ขอพระราชทานอภัยโทษ ได้หรือไม่

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการรมว.ยุติธรรม เปิดเผยถึงเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษ นายทักษิณ ชินวัตร

23 ส.ค.2566 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการรมว.ยุติธรรม เปิดเผยถึงเรื่อง การขอพระราชทานอภัยโทษของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ตอนนี้ยังไม่ทราบ แต่เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนได้เดินทางไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ โดยไปหารือเรื่องการนับระยะเวลาว่าจะต้องนับอย่างไร

กระจ่างแล้ว "วิษณุ" ตอบชัด ทักษิณ ขอพระราชทานอภัยโทษ ได้หรือไม่

กระจ่างแล้ว "วิษณุ" ตอบชัด ทักษิณ ขอพระราชทานอภัยโทษ ได้หรือไม่

นายวิษณุ กล่าวถึงเรื่อง การเข้ารับรักษาตัวของนายทักษิณ ว่า เมื่อตอนเวลา 01.00 น. ตนได้นอนแล้ว แต่มีข้อความส่งมาทางไลน์ แจ้งด่วนว่านายทักษิณแน่นหน้าอก และหายใจไม่พอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางเรือนจำต้องตัดสินใจเอง

เมื่อถามว่า ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์มีระยะเวลาการเข้ารับการรักษาตัว ในกรณีนักโทษเจ็บป่วยอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องรอดูสักระยะ ซึ่งความจริงไม่มีกำหนดเวลา เมื่อถามต่อว่า กรมราชทัณฑ์สามารถจะพิจารณาเองได้ใช่หรือไม่ โดยหารือกับแพทย์ นายวิษณุ กล่าวว่า ก็ต้องฟังแพทย์เท่านั้น เขาไม่ฟังตนหรอก 

เมื่อถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการที่นายทักษิณเข้ารักษาตัวด่วนเป็น การเข้ารับรักษาเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่ เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนได้ไปกำชับกับแพทย์ ซึ่งขั้นตอนมีอยู่แล้ว และได้คุยกับแพทย์ว่าเป็นธรรมดาของคนที่กินดีอยู่ดี นอนสะดวกอยู่สบาย เมื่อมาอยู่ในที่คุมขัง ส่วนเรื่องการจำกัดอิสรภาพ ไม่ต้องพูดกัน แต่พูดถึงเรื่องการไม่สะดวกสบาย เหมือนอยู่โฮเทลหรือคอนโด ฉะนั้นการที่นักโทษจะมีปฏิกิริยากินไม่ได้นอนไม่หลับ ประสบโรคประจำตัวที่มีอยู่แล้ว มันเป็นไปได้ทั้งนั้น ต้องคิดถึงเขาและคิดถึงเรา ถ้าเจอก็มีโอกาสเป็นไปได้อยู่ที่ว่าจะหายช้าหรือหายเร็วเท่านั้น และเมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนได้ไปขอดูหลักฐานทางการแพทย์ ซึ่งประวัติ 17 ปีที่ผ่านมาเขาเอาออกมาหมด

เมื่อถามอีกว่า ได้มีการพูดคุยกับนายทักษิณเป็นการส่วนตัวหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ได้มีการพูดคุย เพราะอยู่ในช่วงการกักตัว แต่เขาบอกว่าถ้าอยากจะคุยจะให้คุยผ่านระบบซูม ซึ่งตนบอกว่าอย่าลำบากขนาดนั้น

ในกรณีที่นายทักษิณจะขออภัยโทษสามารถดำเนินการได้เลยใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ทำได้ตั้งแต่มาถึง จะโดยเจ้าตัวหรือญาติก็ได้ กฎหมายเขียนไว้ในมาตรา 259 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ว่าผู้ต้องคำพิพากษา ที่สุดหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถ ที่จะยื่นเรื่องทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษได้ ซึ่งถ้าจบแค่นี้ก็แปลว่าเมื่อไหร่ก็ได้ แต่จะต้องมอบตัวเข้าสู่กระบวนการก่อน