ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

เป็นปรากฏการณ์ที่สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย สำหรับผลการเลือกตั้ง ประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2560” ที่ชื่อของ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตชั้นปีที่ 1 ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเลือก และเข้ารับตำแหน่งพร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้

ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการใช้เฟซบุ๊กไลฟ์สัมภาษณ์นายเนติวิทย์ เจ้าตัวกล่าวว่า ระบบการศึกษาและประเทศไทยควรต้องเดินหน้า เพราะระบบเผด็จการนั้นครอบงำบ้านเมืองอยู่ ตนพร้อมจะเป็นแบบอย่างและโมเดลที่ดี เพื่อให้สภานิสิตจุฬาเป็นแบบอย่างให้แก่สภาเยาวชนทั่วประเทศ โดยหลังวันที่ 1 มิ.ย. จะเริ่มปฏิรูปการรับน้อง โดยรุ่นพี่ต้องไม่กดขี่รุ่นน้อง

          ส่วนประเพณีถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า บริเวณลานพระราชวังดุสิต เนื่องในวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันปิยมหาราช 23 ตุลาคมนี้ นายเนติวิทย์ กล่าวว่า "คุณต้องเปิดพื้นที่ให้คนที่ไม่อยากถวายบังคมแบบหมอบคลาน เปิดพื้นที่ให้เขายืนเคารพก็ได้ บางคณะยังบังคับกันอยู่ เราจะลงไปดูแล"

สังคมจึงตั้งข้อสงสัยว่า นายเนติวิทย์ มีขอบเขตอำนาจหน้าที่เพียงใด ..

โดยนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านหนึ่ง คุณ Athis Vattanasup ได้โพสต์แจงข้อสงสัยดังกล่าว ผ่านทางเฟซบุ๊คว่า

FAQ

ตำแหน่งประธานสภานิสิตจุฬาฯ

Q:

สภามีอำนาจมากน้อยแค่ไหน?

A:

อำนาจหน้าที่ของสภาถูกกำหนดไว้ใน ข้อ 19 ระเบียบสโมสรนิสิตจุฬาฯ ปี 2529 ขออธิบายอย่างย่อๆ อ้างอิงจาก สเตตัสของนายกสโมสรนิสิต

โดยสภามีหน้าที่ "ดูแลและตรวจสอบการทำงานของอบจ. ให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ ตรวจสอบงบประมาณของอบจ. เสนอความเห็นในด้านการดำเนินงานกับอบจ. เพื่อให้อบจ. นำไปพิจารณาและจัดการต่อไป"

เป็นที่น่าสังเกตว่า ว่าที่ประธานสภาคนใหม่นี้ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงการการถวายความเคารพจากการถวายบังคมเป็นการถวายคำนับได้หรือไม่ และมีอำนาจในการทำตามนโยบายอื่นๆตามที่เสนอไว้มากน้อยขนาดไหน เพราะอำนาจหน้าที่ในการจัดและบริหารกิจกรรมเป็นของ อบจ. อีกทั้งอำนาจบางอย่างเป็นของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนิสิต

Q:

เลือกกันตอนไหน ทำไมไม่เห็นรู้เรื่อง?

A:

นิสิตจะเลือกตัวแทนคณะ คณะละ 3 คนไปเป็นสมาชิกสภา (สส.) แล้ว สส. จะเป็นคนโหวตเลือกประธานสภา ซึ่งประธานคนล่าสุดก็มาตามกระบวนการนี้อย่างถูกต้อง

ส่วนคนลงสมัครเลือกตั้งเป็น สส. ก็จะต่างกันออกไปในแต่ละคณะ บางคณะลงเกิน 3 คน บางคณะลงไม่ถึง 3 คน ทำให้ได้จำนวน สส. ไม่ครบ ปีนี้อยู่ที่ 44 จาก 57 คน (19 คณะ/สำนักวิชา คณะละ 3 ตำแหน่ง)

ต้องยอมรับอย่างนึงว่านิสิตจุฬาฯจำนวนมากยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้เท่าไหร่นัก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งสภา หรือ อบจ. เพราะช่วงที่ผ่านๆมา ก็มีคนมาใช้สิทธิเลือกตั้งเฉลี่ยเพียงคณะละประมาณ 28-30% ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น

จริงๆคิดว่ามีกระแสออกมาแบบนี้ในปีนี้ก็ดีเหมือนกัน ปีหน้านิสิตน่าจะตื่นตัวกับการเลือกตั้งมากขึ้น ทั้งลงสมัคร แล้วก็มาใช้สิทธิกัน

นี่จึงเป็นการตอบคำถามใครหลายๆคนว่า ทำไมประธานสภานิสิตคนใหม่นี้ถึงได้รับเลือกตั้งขึ้นมา อันไม่ใช่การเลือกตั้งจากนิสิตจุฬาโดยตรง แต่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมจากสมาชิกสภานิสิตแต่ละคณะ ที่มาจากการเลือกตั้งของนิสิตคณะนั้นๆอีกทีหนึ่ง โดยที่สภาพในปัจจุบันการเลือกตั้งไม่ได้รับความสนใจจากนิสิตนัก

ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต ทำไม"เนติวิทย์"จึงมา? พบเลือกตั้งสภานิสิตจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ไปใช้สิทธิแค่30% นายกอบจ.แจงหน้าที่ พิธีถวายบังคมฯจัดโดยมหาลัย ไม่ใช่สภานิสิต

สุดท้ายอยากฝากไปถึงสื่อมวลชน อ่านข่าวของบางสำนักแล้วรู้สึกผิดหวังมาก

ข้อมูลเพิ่มเติม:

โครงสร้างองค์กรและอำนาจหน้าที่ของสภาและ อบจ.

นายกฤตเมธ เปรมนิยา นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แจงบทบาทหน้าที่ของสภานิสิตและ อบจ. ไว้ดังนี้..

 

เนื่องจาก 2-3 วันที่ผ่านมามีคนมาถามเรื่องอบจ. กับสภากับผมเยอะ สโมสรนิสิตคืออะไร? ประกอบด้วยอะไรบ้าง? บทบาท อบจ. เเละ สภานิสิต คืออะไร? แล้วที่มาคืออะไร? ปกติไม่ค่อยเป็นคนที่พิมพ์อะไรยาวๆ แต่อันนี้ถือเป็นการอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจกันมากขึ้นนะครับ เริ่มด้วยสโมสรนิสิตจุฬาฯประกอบด้วย 2 องค์กรหลัก ๆ คือ อบจ.(องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ) และ สภานิสิตจุฬาฯ

โดยสโมสรนิสิตมีวัตถุประสงค์ในการเป็นศูนย์กลางกิจกรรมของนิสิต บทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์กร (น่าจะเป็นเรื่องที่คนอยากรู้มากที่สุด) บทบาทหน้าที่ของ อบจ. คือ บริหารจัดการกิจกรรมของนิสิต ดูแลชมรมภายใต้สโมสรนิสิต คิดและนำเสนอโครงการต่าง ๆ เช่น งานรับน้องก้าวใหม่ งานกีฬาน้องใหม่ งานฟุตบอลประเพณีฯ ฯลฯบทบาทหน้าที่ของสภานิสิตจุฬาฯคือ ดูแลและตรวจสอบการทำงานของอบจ. ให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ ตรวจสอบงบประมาณของอบจ. เสนอความเห็นในด้านการดำเนินงานกับอบจ. เพื่อให้อบจ. นำไปพิจารณาและจัดการต่อไป โดยการทำงานของ 2 องค์กร เป็นไปในแนวทางที่ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันส่วนอบจ. ประกอบด้วย

1.) 10 ตำแหน่งจากการเลือกตั้งโดยตรงจากนิสิตทั้งมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย นายกสโมสรฯ อุปนายกคนที่ 1 อุปนายกคนที่ 2 ประธานฝ่ายศิลป์ฯ ประธานฝ่ายกีฬา ประธานฝ่ายพัฒน์ฯ ประธานฝ่ายวิชาการ ประธานฝ่ายนิสิตสัมพันธ์ เลขานุการ และเหรัญญิก

2.) นายกสโมสรนิสิตของแต่ละคณะ คณะละ 1 คน (จุฬาฯมี 18 คณะ 1 สำนักวิชา รวมถึงหอพักนิสิต) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของแต่ละคณะ

3.) เจ้าหน้าที่สโมสร ได้รับการแต่งตั้งโดย 10 ตำแหน่ง เพื่อช่วยบริหารงานภายใน (จำนวนไม่เท่ากันในแต่ละปี)

4.) ผู้ช่วยของ 10 ตำแหน่ง และผู้ช่วยของเจ้าหน้าที่สโมสร (จำนวนไม่เท่ากันในแต่ละฝ่าย)ทำให้โดยรวมของอบจ. จะมีคนประมาณ 200 คน (จำนวนไม่เท่ากันในแต่ละปี)

สภานิสิตจุฬาฯ ประกอบด้วย

1.) สมาชิกสามัญ ที่ผ่านการเลือกตั้งของแต่ละคณะ คณะละ 3 คน

2.) สมาชิกสมทบ เป็นนิสิตปี 1 ถูกเลือกตั้งจากคณะ คณะละ 1 คน

การเลือกตั้งของทั้ง 2 องค์กร โดยการเลือกตั้งของอบจ.ผู้สมัคร 10 ตำแหน่งจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นแบบทีมหรือเดี่ยวก็ได้ โดยจะผ่านการเลือกตั้งโดยตรงจากนิสิตทั้งมหาวิทยาลัย (จากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งประมาณ 24000 คน นับเฉพาะป.ตรี) จำนวนทีมที่แข่งขันในแต่ละปีไม่เท่ากัน เช่น ปี59 มีผู้สมัคร 2 ทีม และ 1 ผู้สมัครตำแหน่งเดี่ยวส่วนการเลือกตั้งของสภานิสิตจุฬาฯ ผู้สมัครลงสมัครเป็นตำแหน่งเดี่ยว ปกติแล้วก็จะมีคนลงสมัครจากแต่ละคณะอยู่ 1 คน 2 คน 3 คน มากกว่า 3 คน แต่บางคณะก็ไม่มีผู้ลงสมัคร โดยผ่านการเลือกตั้งจากนิสิตคณะที่ตนเองสังกัด (แต่ละคณะจำนวนไม่เท่ากัน แล้วแต่คณะเล็กหรือใหญ่) เช่น การเลือกตั้งครั้งล่าสุด ปีการศึกษา 2560 จากตำแหน่งสมาชิกสามัญ 57 ตำแหน่ง ได้สมาชิกรวมจากทุกคณะมา 44 คน มาโหวตประธานสภา 36 คน ประธานสภาได้เสียงไป 27 คน

"อันนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่หลายคนอาจจะไม่รู้ หรือสงสัยกันในช่วงนี้หวังว่าจะช่วยทำให้หายสงสัยกันได้บ้างนะครับ"

ระเบียบสโมสรนิสิตฯ ปี2529

http://www.sa.chula.ac.th/wp-content/uploads/2016/05/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95.doc

ปล.เราไม่มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆกับเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นกรุณาใช้วิจารณญาณให้การแสดงความเห็นด้วย

ปล2.อยากให้สื่อในประเทศนี้เสนอข่าวอย่างมีจรรยาบรรณด้วย

ปล3.ไม่ได้พูดถึงความคิดเห็นของตัวน้องเค้านะ แต่พูดถึงบทบาทหรือขอบเขตของต่ำแหน่งที่เค้าจะได้เฉยๆนะ

 

ทั้งนี้สเตตัสดังกล่าวระบุเองว่า นิสิตจุฬาฯเองไม่ได้ให้ความสนใจกับการเลือกตั้งสภานิสิตมากนัก และย้ำว่าการจัดงานถวายบังคมไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสภานิสิตที่มีนายเนติวิทย์เป็นประธานแต่อย่างได