ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์!! ๘ พฤษภาคม ร.๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง "สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน" เพื่อถวายคำปรึกษาในด้านนิติบัญญัติ!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์!! ๘ พฤษภาคม ร.๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง "สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน" เพื่อถวายคำปรึกษาในด้านนิติบัญญัติ!!

      สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือ สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นสภาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ ชั้นพระยาจำนวน ๑๒ คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาและความคิดเห็นต่างๆ ในด้านนิติบัญญัติ และเมื่อข้อราชการใดที่ประชุมสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินมีมติเห็นชอบ ก็ให้ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป

ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์!! ๘ พฤษภาคม ร.๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง "สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน" เพื่อถวายคำปรึกษาในด้านนิติบัญญัติ!!

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรา พระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตด พุทธศักราช ๒๔๑๗ ระบุที่มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ว่า
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงตั้งราชตระกูล แลข้าราชการซึ่งมีตระกูล แลผู้มีสติปัญญาว่องไวเฉียบแหลมรอบรู้ในราชกิจการต่างๆ ที่มีชื่อเสียงปรากฏ 
เป็นที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ซึ่งเรยกตามภาษาอังกฤษว่า เคาน์ซิลลอร์ออฟสเตด ตั้งแต่ ๑๐ นายขึ้นไป ไม่ให้เกิน ๒๐ นายออกไป"


 

สมาชิกสภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน เมื่อแรกแต่งตั้งจำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย

๑.พระยาราชสุภาวดี
๒.พระยาศรีพิพัฒ
๓.พระยาราชวรานุกูล
๔.พระยากระสาปน์กิจโกศล
๕.พระยาภาษกรวงษ
๖.พระยามหาอำมาตย
๗.พระยาอภัยรณฤทธิ์
๘.พระยาราไชย
๙.พระยาเจริญราชไมตรี
๑๐.พระยาพิพิธโภไคย
๑๑.พระยากระลาโหมราชเสนา
๑๒.พระยาราชโยธา

            ผลงานร่างกฎหมายที่สำคัญของเคาน์ซิลออฟสเตด ได้แก่ การออกพระราชบัญญัติเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย ประกาศเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ เพื่อกำหนดค่าตัวลูกทาสให้สูงสุดตอนเป็นเด็ก แล้วมีค่าตัวลดลงทุกปีจนหลุดพ้นเป็นไทได้จนหมดประเทศ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘

           ต่อมาเคาน์ซิลออฟสเตดไม่กล้าถวายความเห็นในข้อกฎหมาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยุบเลิกสภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน จากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติรัฐมนตรี ร.ศ. ๑๑๓ ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เพื่อจัดตั้ง รัฐมนตรีสภา ให้มี รัฐมนตรี ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษา เกี่ยวกับการออกแบบและการแก้ไขกฎหมายเก่า และคิดทำกฎหมายใหม่แทนเคาน์ซิลออฟสเตด

 

ที่มาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน